Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6100
Title: | การเชื่อมโยงความในสัมพันธสารเรื่องเล่า : นิทานเมียนมา Cohesion in narrative discourse : Myanmar folktales |
Authors: | Thanachart Kerdkriangkrai ธนชาติ เกิดเกรียงไกร Orathai Chinakkhrapong อรทัย ชินอัครพงศ์ Naresuan University Orathai Chinakkhrapong อรทัย ชินอัครพงศ์ orathaic@nu.ac.th orathaic@nu.ac.th |
Keywords: | การเชื่อมโยงความ สัมพันธสาร นิทานเมียนมา Cohesion Discourse Myanmar folktales |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The research aimed to examine the cohesion in narrative discourse Myanmar folktales to analyze the cohesive device and the categorization of cohesion in Myanmar folktales.
Data were collected from the collection which are composed by Nuying, totaling 30 stories. The data collected from each was analyed using a framework adapted from Halliday and Hassan (1976) method.
The results showed five types of cohesion in narrative discourse Myanmar folktales. These are : reference, substitution, ellipsis, conjunction and lexial cohesion and showed arranged in order oftheir frequencies from the most to the least, namely; sequence of conjunction cohesion (50.87%) which most
frequently appeared and sequence of time conjunction (33.07%) which most frequently appeared. The sequence of ellipsis cohesion which least
appeared and there was no verbal ellipsis and clausal ellipsis. งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเชื่อมโยงความภาษาระดับข้อความในนิทานเมียนมาและศึกษาประเภทของการเชื่อมโยงความภาษาระดับข้อความในนิทานเมียนมา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก โดยใช้ข้อมูลนิทานเมียนมาจากหนังสือรวมเล่มนิทานนุหยิ่ง จำนวน 30 เรื่อง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทการเชื่อมโยงความของฮัลลิเดย์และฮาซาน (Halliday and Hasan, 1976) ได้แก่ กลวิธีการอ้างถึง การแทนที่ การละ การใช้คำเชื่อม และการเชื่อมโยงคำศัพท์ ผลการวิจัยพบว่า การเชื่อมโยงความในสัมพันธสารเรื่องเล่า : นิทานเมียนมา พบกลวิธีการใช้คำเชื่อมมากที่สุดถึงร้อยละ 50.87 ของกลวิธีการเชื่อมโยงความทั้งหมด และพบประเภทของการเชื่อมโยงความการใช้คำเชื่อมแบบแสดงลำดับเวลามากที่สุดถึงร้อยละ 33.07 เนื่องจากว่า นิทานเมียนมาใช้กลวิธีการเล่าเรื่องตามลำดับเวลาหรือตามปีปฏิทิน จึงทำให้พบการใช้กลวิธีการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมประเภทลำดับเวลามากที่สุด นอกจากนี้แล้ว ผลการวิจัยการเชื่อมโยงความในสัมพันธสารเรื่องเล่านิทานเมียนมา พบกลวิธีการละน้อยที่สุดและไม่มีการปรากฏประเภทของการละในหน่วยกริยา กรรม และหน่วยอนุพากย์หรือประโยคในนิทานเมียนมา พบเพียงแต่ประเภทของการละในหน่วยนาม อันเนื่องมาจากลักษณะทางโครงสร้างของภาษาเมียนมาที่มีลักษณะการเรียงคำแบบ ประธาน-กรรม-กริยา และยังเป็นภาษาที่มีคำการกลงท้ายคำนามและคำกริยาเพื่อบ่งบอกหน้าของคำนามและกาลของประโยค จึงส่งผลให้พบกลวิธีการละน้อยที่สุด โดยขึ้นอยู่กับตัวบริบทและเหตุการณ์ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6100 |
Appears in Collections: | คณะมนุษยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ThanachartKerdkriangkrai.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.