Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6099
Title: มโนทัศน์ยูโทเปียและดิสโทเปียในวรรณกรรมไทย
The Conceptions of Utopia and Dystopia in Thai Literature
Authors: Watinee Sirichai
วาทินี ศิริชัย
Thanya Sangkhaphanthanon
ธัญญา สังขพันธานนท์
Naresuan University
Thanya Sangkhaphanthanon
ธัญญา สังขพันธานนท์
thanyas@nu.ac.th
thanyas@nu.ac.th
Keywords: มโนทัศน์
ยูโทเปีย
ดิสโทเปีย
วรรณกรรมไทย
Concept
Utopia
Dystopia
Thai literature
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This dissertation has two main purposes: to analyze Utopia and Dystopia Concepts in Thai Literature, and to analyze the strategies used in the presentation of Utopia and Dystopia in Thai Literature. The text used in the analysis were 5 classic literature and 12 contemporary literature. The following concepts were employed as the analysis frameworks: Conceptual Analysis, Presentation Strategy, Literature Components, and Semiotics. The result revealed that the Utopia and Dystopia concepts in Thai literature is interrelated with society, politics, religion, culture, nature and environment, gender, and technology. The classic literature presents Utopian concept as an ideal society with perfection in all its dimensions. Parallelly, the classic literature presented the Dystopian concept as a negative society with insecurities and calamity. Utopia may be a desire to attain whereas Dystopia is an undesired nightmare. At the same time, it is a warning that if humans lack morals and do not abide by the social rules, the society may deteriorate to viciousness. With regards to contemporary literature, it was divided into 3 main categories which are: Nouveau Classics, Fantasy Novel, and Dystopian Literature. It was found that the Utopian and dystopian concepts in contemporary literature correlates with the classical literature with special emphasis on the reproduction of the belief in Trai Phoom Phra Ruang. The reproduction of the belief was highly found in Fantasy Novels which is consistent with Utopian concept. On the contrary, Dystopian concept represents social disaster which is highly found in Dystopian and Nouveau Classics literatures. Regarding the Presentation Strategy of Utopian and Dystopian concepts in Thai literature, event creation analysis, character creation, settings and atmosphere creation, and Semiotics were analyzed. It was found that the Presentation Strategy was carried out and reproduced from classical literature through to the present day, especially the apparent dynamics of Dystopian contemporary Literature. Thus, the Utopian and Dystopian Presentation Strategy clearly and continuously illustrated that Thai literature has been creating Utopian and Dystopian concepts significantly since classical literature era until contemporary literature with relations to sociocultural contexts.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ ยูโทเปียและดิสโทเปียในวรรณกรรมไทย 2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอมโนทัศน์ยูโทเปีย และดิสโทเปียในวรรณกรรมไทย โดยวิเคราะห์ตัวบทวรรณคดีโบราณจำนวน 5 เรื่อง และวรรณกรรมปัจจุบันจำนวน 12 เรื่อง ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์มโนทัศน์ แนวคิดกลวิธีการนำเสนอองค์ประกอบ ทางวรรณกรรม และการสื่อความหมายเชิงสัญศาสตร์เป็นแนวคิดหลักในการวิเคราะห์   ผลการศึกษาพบว่า มโนทัศน์ยูโทเปียและดิสโทเปียในวรรณกรรมไทย สัมพันธ์ กับมิติต่าง ๆ ได้แก่ สังคม การเมืองการปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพศภาวะ และเทคโนโลยี วรรณคดีโบราณนำเสนอมโนทัศน์ยูโทเปียในลักษณะสังคมอุดมคติซึ่งจะมี ความสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ในขณะด้านคู่ขนานวรรณคดีโบราณได้นำเสนอมโนทัศน์ดิสโทเปีย เป็นสังคมเชิงลบ สภาวะความไม่มั่นคงของชีวิตและความวิบัติ ยูโทเปียอาจเป็นความปรารถนาที่ จะต้องไปให้ถึง ในขณะที่ดิสโทเปียเป็นภาพฝันในด้านร้าย ภาวะที่ไม่พึงปรารถนา ขณะเดียวกัน ก็เหมือนการกระตุ้นเตือนว่า หากมนุษย์ปราศจากศีลธรรมและไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ทางสังคม สังคม ก็อาจเสื่อมถอยไปสู่ความเลวร้าย ส่วนวรรณกรรมปัจจุบัน ผู้วิจัยได้จำแนกวรรณกรรมเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ วรรณกรรมคลาสสิคใหม่ วรรณกรรมจินตนิยาย และวรรณกรรมดิสโทเปีย พบว่ามโนทัศน์ ยูโทเปียและดิสโทเปียในวรรณกรรมปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกับวรรณคดีโบราณ โดยเฉพาะ การผลิตซ้ำความเชื่อในไตรภูมิพระร่วงพบมากในวรรณกรรมจินตนิยายมีลักษณะสอดคล้องกับ มโนทัศน์ยูโทเปีย ส่วนมโนทัศน์ดิสโทเปียเป็นภาพแทนของความหายนะของสังคมมนุษย์ พบมาก ในกลุ่มวรรณกรรมดิสโทเปีย และวรรณกรรมคลาสสิคใหม่ตามลำดับ ในการศึกษากลวิธีการนำเสนอ มโนทัศน์ยูโทเปียและดิสโทเปียในวรรณกรรมไทย วิเคราะห์การสร้างเหตุการณ์ การสร้างตัวละคร การสร้างฉากและบรรยากาศ และการสื่อความหมายเชิงสัญญะ จากการวิเคราะห์พบการสืบทอด และผลิตซ้ำกลวิธีการนำเสนอจากวรรณคดีโบราณมาถึงวรรณกรรมปัจจุบัน โดยเฉพาะพลวัต ของวรรณกรรมปัจจุบันซึ่งมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มวรรณกรรมดิสโทเปียอย่างเด่นชัด ดังนั้นการวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอมโนทัศน์ยูโทเปียและดิสโทเปียแสดงให้เห็นว่าวรรณกรรมไทย ได้นำเสนอการประกอบสร้างมโนทัศน์ยูโทเปียและดิสโทเปียจากวรรณคดีโบราณมาถึงวรรณกรรมปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่องชัดเจนและมีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6099
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WatineeSirichai.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.