Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6063
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ในพื้นที่จังหวัดตาก
Factors Influencing Stroke Prevention Behaviors among Hypertension Patients under aged 60 years old, Tak Province
Authors: Alissara Yulertlob
อลิสรา อยู่เลิศลบ
Rung Wongwat
รุ่ง วงศ์วัฒน์
Naresuan University
Rung Wongwat
รุ่ง วงศ์วัฒน์
rungw@nu.ac.th
rungw@nu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมป้องกัน
โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
อายุน้อยกว่า 60 ปี
Prevention Behaviors
Stroke
Hypertension Patients
Under Aged 60 Years Old
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This cross-sectional analytical study research aimed to study factors influencing stroke prevention behaviors among hypertension patients under aged 60 years old, Tak Province. The sample consisted of 338 hypertension patients by systematic random sampling. Data were collected by using a questionnaires, which were verified for its content validity and reliability. The data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. The results showed that stroke prevention behaviors were at moderate levels 83.73% (x̄ = 74.26, S.D. = 9.125). The factors that predicted the stroke prevention behaviors in hypertension patients under aged 60 years old  with statistically significant level at 0.05 including the perceived barriers (β = 0.254, p<0.001); the social support from health workers (β = 0.199, p < 0.001); the social support from family(β = 0.184, p = 0.002); female (β = 0.140, p = 0.005); age (β = 0.120, p = 0.025); knowledge of stroke (β = 0.129, p = 0.026) and national health insurance (β = -0.129, p = 0.015). The power of these predictors was 31.70 % (AdjR2 = 0.317, p < 0.05). The findings suggested that the behaviors modification program development for stroke prevention among hypertensive patients aged less than 60 years should be focus on perceived barriers, knowledge, social support from family and social support from health workers.
การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุน้อยกว่า 60 ปี ในพื้นที่จังหวัดตาก ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 ราย ด้วยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพและตรวจสอบแล้ว  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 83.73 (x̄  = 74.26, S.D. = 9.125) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุน้อยกว่า 60 ปี ได้แก่ การรับรู้อุปสรรค (β = 0.254, p<0.001)  แรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (β = 0.199, p < 0.001) แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (β = 0.184, p = 0.001) เพศหญิง (β = 0.140, p = 0.005)  อายุ (β = 0.120, p = 0.025) ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (β = 0.129, p = 0.026) และสิทธิการรักษาหลักประกันสุขภาพ (β = -0.129, p = 0.015)  โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 31.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (AdjR2 = 0.317, p < 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อแสนอแนะในการพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อายุน้อยกว่า 60 ปี  ควรมุ่งเน้นเน้นการรับรู้อุปสรรค การให้ความรู้ การให้แรงสนับสนุนจากจากครอบครัว และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6063
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AlissaraYulertlob.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.