Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6062
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด
FACTORS AFFECTING TUBERCULOSIS PREVENTIVE BEHAVIORS AMONG HOUSEHOLD CONTACTS OF PULMONARY TUBERCULOSIS PATIENTS, THAILAND
Authors: Mullika Phadoongmai
มัลลิกา ผดุงหมาย
Wutthichai Jariya
วุฒิชัย จริยา
Naresuan University
Wutthichai Jariya
วุฒิชัย จริยา
wutthichaij@nu.ac.th
wutthichaij@nu.ac.th
Keywords: วัณโรคปอด
ผู้สัมผัสร่วมบ้าน
พฤติกรรมป้องกันวัณโรคปอด
Pulmonary tuberculosis
Household contact
Tuberculosis preventive behaviors
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This descriptive cross-sectional research aimed to study the factors affecting tuberculosis prevention behaviors of household contacts with pulmonary tuberculosis patients. The sample consisted of 245 household contacts who cared for pulmonary tuberculosis patients in Phichit Province. A questionnaire with a Cronbach alpha coefficient between 0.739 and 0.919 was used to collect data. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient, Eta coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The results indicated that the majority of the sample group comprised females (71.4%), aged 60 years and above (25.3%), with primary education completion (49.0%), sufficient income (52.7%), absence of chronic diseases (70.2%), and direct blood relations such as spouses, fathers, mothers, husbands, wives, and children (71%). The overall pulmonary tuberculosis prevention behaviors among household contacts were at a good level. Factors related to their tuberculosis prevention behaviors were gender (eta = 0.126), income sufficiency (eta = 0.151), relationship with patients (eta = 0.201), perceived severity of pulmonary tuberculosis infection (r = 0.407), perceived susceptibility of pulmonary tuberculosis infection (r = 0.514), self-efficacy in TB prevention (r = 0.618), and response efficacy of pulmonary tuberculosis prevention (r = 0.645). Besides, the factors of perceived benefits of practice to prevent pulmonary tuberculosis, self-efficacy in TB prevention, and male gender were able to predict TB prevention behavior of household contacts at 45.4%. Therefore, healthcare organizations and relevant authorities should promote TB prevention behaviors of household contacts with pulmonary TB patients by emphasizing the development of perceived benefits and self-efficacy in TB prevention, especially in males, to reduce the risk of pulmonary tuberculosis in the future.
การวิจัยวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พักอาศัยในจังหวัดพิจิตร จำนวน 245 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคระหว่าง 0.739-0.919 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิตเชิงพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้าร์ และสถิติการวิเคราะห์ถดถอดเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.4 มีอายุในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.3 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 49.0 มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 52.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 70.2 เป็นบุคคลในครอบครัวที่มีความผูกพันกันทางสายโลหิตโดยตรงหรือสมรส ได้แก่ บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ร้อยละ 71 โดยพฤติกรรมป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้านโดยรวมอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันวัณโรค ประกอบด้วย เพศ (eta = 0.126) ความเพียงพอของรายได้ (eta = 0.151) ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย (eta = 0.201) การรับรู้ความรุนแรงต่อการติดเชื้อวัณโรคปอด (r = 0.407) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคปอด (r = 0.514) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันวัณโรค (r = 0.618) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันวัณโรคปอด (r = 0.645) ทั้งนี้ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันวัณโรคปอด การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันวัณโรค และเพศชาย สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านได้ ร้อยละ 45.4 ดังนั้น หน่วยงานสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยเน้นการสร้างการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันวัณโรค โดยเฉพาะในเพศชาย เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดในรายต่อไป 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6062
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MullikaPhadoongmai.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.