Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6045
Title: | อุดมการณ์ในนิทานพื้นบ้านเกาหลีใต้ Ideologies in South Korean Folktales |
Authors: | Rujjanee Jeerakamol รุจนี จีระกมล Chommanad Intajamornrak ชมนาด อินทจามรรักษ์ Naresuan University Chommanad Intajamornrak ชมนาด อินทจามรรักษ์ chommanadi@nu.ac.th chommanadi@nu.ac.th |
Keywords: | อุดมการณ์ นิทานพื้นบ้าน เกาหลีใต้ Ideology Folktale South Korea |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to study linguistic strategies and ideologies, discourse practice and socio-cultural practice in South Korean Folktales by using Critical Discourse Analysis framework. The data were from one children’s folktale book included 36 folktales by Sang Kyo Lee, who won the IBBY Honour List in 2016. The result of the study showed that there were 7 linguistic strategies adopted in the texts which were lexical selection, sentence structures, modality, honorifics form, referencing to the majority, metaphor, and presupposition. It also showed that there were 7 ideologies which were an ideology related to behavior, people’s roles and duties, families, seniority, politics, patriarchy and collectivism, respectively.
The analysis of discourse practice indicated that folktales have been reproduced and transmitted in South Korean society for a long time because the folktales are an entertaining narrative, it easily catches the attention of children who are the main recipients. They will believe and accept these ideologies. The analysis of socio-cultural practice showed that, the various ideologies which conveyed through folktales are related to social notions and values in South Korean society. At the same time, ideologies also affect the notions and values of people in society. It means that society and discourse have a dialectical relationship with each other. In conclusion, this research affirms that folktales are one of the discourses which can convey ideologies and are used as a tool to instill ideas to children in society in order to prepare the children to be good members of the society. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาและอุดมการณ์ วิถีปฏิบัติทางวาทกรรม และวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านเกาหลีใต้ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวบทหนังสือนิทานพื้นบ้านสำหรับเด็กจำนวน 1 เล่ม 36 เรื่อง ของซังกโย อี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัล IBBY Honour List ในปี พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยพบกลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์ทั้งสิ้น 7 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้โครงสร้างประโยค การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้คำและวิภัตติปัจจัยรูปสุภาพ การอ้างส่วนใหญ่ การใช้อุปลักษณ์เชิงภาพพจน์ และการใช้มูลบท กลวิธีทางภาษาดังกล่าวสื่ออุดมการณ์ทั้งหมด 7 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์เรื่องการปฏิบัติตนในสังคม อุดมการณ์เรื่องบทบาทหน้าที่ของคนในสังคม อุดมการณ์เรื่องครอบครัว อุดมการณ์เรื่องความอาวุโส อุดมการณ์ทางการเมือง อุดมการณ์ปิตาธิปไตย และอุดมการณ์เรื่องวัฒนธรรมแบบกลุ่มนิยม โดยเรียงลำดับตามจำนวนความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่านิทานพื้นบ้านเป็นวาทกรรมที่ถูกผลิตซ้ำและถ่ายทอดอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน เนื่องจากตัวบทเป็นเรื่องเล่าประเภทให้ความบันเทิงจึงได้รับความสนใจจากเด็กที่เป็นผู้รับสารหลักได้ง่าย เด็กจะเชื่อและยอมรับในอุดมการณ์เหล่านั้น นอกจากนี้ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมพบว่าอุดมการณ์ต่างๆ ที่สื่อผ่านนิทานพื้นบ้านล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคิดและค่านิยมในสังคมหลายประการ และในขณะเดียวกันอุดมการณ์ก็ส่งผลต่อระบบคิดและค่านิยมของคนในสังคมด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่าสังคมกับวาทกรรมนั้นมีความสัมพันธ์แบบวิภาษซึ่งกันและกัน งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่านิทานพื้นบ้านเป็นวาทกรรมรูปแบบหนึ่งที่สื่อถึงอุดมการณ์ได้และอุดมการณ์เหล่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปลูกฝังความคิดให้แก่เด็กในสังคมเพื่อสร้างเด็กให้มีลักษณะที่ดีตามที่สังคมต้องการ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6045 |
Appears in Collections: | คณะมนุษยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RujjaneeJeerakamol.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.