Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6043
Title: | การแปรทางศัพท์และวรรณยุกต์ภาษาไทยวนถิ่นเชียงรายตามกลุ่มอายุ Lexical and Tonal Variation of Tai Yuan Dialect in Chiang Rai Province by Age Group |
Authors: | Kornchanok Nanthakanok กรชนก นันทกนก Chommanad Intajamornrak ชมนาด อินทจามรรักษ์ Naresuan University Chommanad Intajamornrak ชมนาด อินทจามรรักษ์ chommanadi@nu.ac.th chommanadi@nu.ac.th |
Keywords: | การแปรทางศัพท์ การแปรเสียงวรรณยุกต์ ภาษาไทยวน จังหวัดเชียงราย Lexical Variation Tonal Variation Tai Yuan Dialect Chiang Rai Province |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to analyze the lexical and tonal variation of Tai Yuan Dialect in Chiang Rai Province by age groups. Informants were divided into 3 age groups: 60 years old or older, 35-50 years old, and 15-25 years old. The tool used for collecting lexical data was a selected list of 80 semantic units. The word list of Gedney list and the analogous set were used to elicit tonal data from informants.
The study of lexical variations revealed that lexical usage variations could be divided into 2 groups: 1) the usage of the same lexical items in all generations and 2) the same lexical items were used in 2 generations. The informants in the first groups used lexical items in Tai Yuan the most while the informants in the third group used lexical items in Tai Yuan together with lexical items in other languages. Concerning to lexical variation, it was found that there were consonant and vowel variations, lexical borrowing, creation of new words, morpheme variation, semantic variation, and lexical loss. In terms of the Tai Yuan Chiang Rai dialect’s tonal system, it consisted of 6 tones. The pattern of tonal merges and splits were A12-34 B123-4 C123-4 DL123-4 and DS123-4, which are similar to previous studies. The result of the study on the tonal variation was that there was not much variation in the phonetic characteristics of each age group. The informants in age groups 2 and 3 showed relatively similar patterns, which were different from those of informants in age group 1. When considering tonal variation alongside lexical variation, it was found that age had more influence on variation and trend of lexical change than on tone, which had the variation by exposure to language through the borrowing process or creation of new words. Particularly, age groups 2 and 3 showed the most lexical variation. Therefore, the Tai Yuan Chiang Rai dialect is currently undergoing language variations and has a tendency for the absolute transitional state in the lexical and tonal variation in the future. งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปรทางศัพท์และเสียงวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุ เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษา 54 คน โดยแบ่งผู้บอกภาษาเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุที่ 1 อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มอายุที่ 2 อายุ 35-50 ปี และกลุ่มอายุที่ 3 อายุ 15-25 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รายการหน่วยอรรถภาษาไทยวน จำนวน 80 หน่วยอรรถสำหรับเก็บข้อมูลทางศัพท์และใช้รายการคำทดสอบเสียงวรรณยุกต์ของเก็ดนีย์และรายการคำชุดเทียบเสียงคล้ายในการเก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์ จากการศึกษาคำศัพท์แสดงให้เห็นการแปรด้านการใช้ศัพท์ของผู้บอกภาษา 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทุกกลุ่มอายุใช้เหมือนกัน และ 2) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาสองกลุ่มอายุใช้เหมือนกัน โดยผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 1 ใช้ศัพท์ไทยวนมากที่สุด ในขณะที่ผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 3 ใช้ศัพท์ไทยวนร่วมกับศัพท์อื่นมากที่สุด ส่วนการแปรด้านรูปศัพท์ พบว่ามีการแปรเสียงพยัญชนะและการแปรเสียงสระ การยืมศัพท์ การสร้างศัพท์ใหม่ การแปรรูปหน่วยคำ การแปรทางความหมายและการสูญศัพท์ ในส่วนของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยวนถิ่นเชียงราย พบว่าเป็นระบบวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง โดยมีรูปแบบการแยกเสียงและการรวมเสียงวรรณยุกต์เป็นแบบ A12-34 B123-4 C123-4 DL123-4 และ DS123-4 ผลการศึกษาการแปรทางเสียงวรรณยุกต์พบว่าเกิดการแปรสัทลักษณะของเสียงตามกลุ่มอายุ โดยผู้พูดกลุ่มอายุที่ 2 และกลุ่มอายุที่ 3 มีการใช้รูปแปรที่ค่อนข้างเหมือนกัน แต่มีระดับเสียงวรรณยุกต์แตกต่างจากผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 1 เมื่อพิจารณาการแปรของเสียงวรรณยุกต์ร่วมกับการแปรทางศัพท์ พบว่าอายุมีอิทธิพลต่อการแปรและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์ได้รวดเร็วกว่าเสียงวรรณยุกต์ที่มีรูปแปรจากการสัมผัสภาษาด้วยกระบวนการยืม หรือการสร้างคำใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 2 และกลุ่มอายุที่ 3 ที่พบลักษณะการแปรมากที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาษาไทยวนถิ่นเชียงรายกำลังอยู่ในช่วงเกิดการแปรทางภาษา โดยมีรูปแบบการแปรที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการใช้ศัพท์และเสียงวรรณยุกต์อย่างสมบูรณ์ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6043 |
Appears in Collections: | คณะมนุษยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KornchanokNanthakanok.pdf | 6.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.