Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5986
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความหนารากฟันกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวแก้ม-ลิ้นของคลองรากฟันด้านใกล้กลางในฟันกรามล่างซี่ที่ 1 Correlation between root thickness and bucco-lingual diameter of mesial root canals of mandibular first molar |
Authors: | Phacharawalee Nanbunta พชราวลี นันบุญตา Peraya Puapichartdumrong พีรยา ภูอภิชาติดำรง Naresuan University Peraya Puapichartdumrong พีรยา ภูอภิชาติดำรง perayap@nu.ac.th perayap@nu.ac.th |
Keywords: | ฟันกรามล่างซี่ที่ 1 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนารากฟัน Mandibular first molar root canal diameter root thickness |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The aim of this study was to determine the root canal diameter, the root wall thickness and correlations in buccolingual dimension of mesial root canals in mandibular first molars. Methods: thirty human mandibular first molars were analyzed their root canal configurations using a cone beam computed tomography and then embedded in clear acrylic resin models. The root was sectioned at 0, 2, 4, and 6 mm below the furcation and 1 mm coronally to the root apex. The root canal diameter in buccolingual (BL) and mesiodistal (MD) dimension also with the smallest thickness of mesial and distal aspect of root canals were measured under a stereomicroscope at x25 magnification. The statistical differences were analyzed and the correlation coefficients were calculated using Pearson's correlation statistic between the BL diameter and the mesial and distal aspects of root thickness. Results: the BL root canal diameter was significantly larger than the MD diameter in both mesiobuccal (MB) and mesiolingual (ML) root canals (paired t-test, p < 0.05). The values of the smallest thickness at all studied levels (0-6 mm below the furcation) were significantly different (one way ANOVA, p < 0.05). The thickness of distal wall was statistically smaller than mesial wall (paired t-test, p < 0.05). The significant Pearson correlation coefficients were observed between BL diameter and mesial wall thickness of both canals in weak to moderate positive correlation. Conclusions: The BL diameter larger than the MD diameter in both evaluated root canals in all studied levels. The thinnest root wall thickness is mainly at the furcation side but also found on mesial side 30% and 13.3% in MB and ML canals, respectively and the most of them was at 6 mm below the furcation. The weak to moderate positive correlations between BL diameter and mesial wall thickness at 0- to 6-mm below the furcation may be an important clinical finding in assuming the thinnest thickness of mesial wall of mesial root canals in mandibular first molars. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของคลองรากฟันและความหนารากฟันและค่าสหสัมพันธ์ระหว่างความหนารากฟันกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวแก้ม-ลิ้นของรากด้านใกล้กลางของฟันกรามล่างซี่ที่ 1 วิธีการศึกษา: นำฟันกรามล่างซี่ที่ 1 จำนวน 30 ซี่ ประเมินโครงแบบคลองรากฟันด้วยภาพรังสีโคนบีมซีทีแล้วนำฟันฝังลงในแบบจำลองอะคริลิกใส จากนั้นตัดรากฟันที่ระดับ 0, 2, 4, และ 6 มม. ใต้ง่ามรากฟันและที่ปลายรากฟัน 1 มม. วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของคลองรากฟันในแนวแก้ม-ลิ้นและแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง และวัดความหนาที่บางที่สุดของผนังคลองรากฟันด้านไกลกลางและด้านใกล้กลาง ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ กำลังขยาย 25 เท่า วิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลทางสถิติและคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวแก้ม-ลิ้นกับความหนารากฟันแนวใกล้กลางและไกลกลาง ผลการศึกษา: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางคลองรากฟันแนวแก้ม-ลิ้นใหญ่กว่าแนวใกล้กลาง-ไกลกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (paired t-test, p < 0.05) ทั้งในคลองรากด้านแก้ม-ใกล้กลางและด้านลิ้น-ใกล้กลาง ค่าของความหนารากฟันที่บางที่สุดท่ามกลางระดับที่ศึกษา (ระดับ 0-6 มม. ใต้ง่ามรากฟัน) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (one way ANOVA, p < 0.05) และความหนาด้านไกลกลางบางกว่าด้านใกล้กลางอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (paired t-test, p < 0.05) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยถึงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวแก้ม-ลิ้นกับความหนาของรากฟันด้านใกล้กลาง ในทั้งสองคลองรากฟัน สรุปผลการศึกษา: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางคลองรากฟันแนวแก้ม-ลิ้นมีขนาดกว้างกว่าแนวใกล้กลาง-ไกลกลางในทุกระดับที่ศึกษา ความหนาของผนังรากฟันที่บางที่สุดส่วนใหญ่วางอยู่ด้านง่ามรากฟัน แต่พบด้านใกล้กลางได้ร้อยละ 30.0 และ 13.3 ในคลองรากด้านแก้ม-ใกล้กลางและด้านลิ้น-ใกล้กลางตามลำดับ และส่วนใหญ่อยู่ที่ 6 มม. ใต้ง่ามรากฟัน ความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยถึงปานกลางระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางแนวแก้ม-ลิ้นและความหนาผนังรากฟันด้านใกล้กลาง ที่ระดับ 0-6 มม. ใต้ง่ามรากฟัน อาจใช้เป็นข้อมูลสำคัญทางคลินิกในการประเมินความหนาของผนังรากที่บางที่สุดด้านใกล้กลาง ของรากใกล้กลางในฟันกรามล่างซี่ที่ 1 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5986 |
Appears in Collections: | คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PhacharawaleeNanbunta.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.