Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5932
Title: | ผลของโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ในตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ The Effects of Program applying Health Promoting Model on Self-care Behavior among Persons With Uncontrolled Essential Hypertension in Phakkwang Sub-district, Thongseankhan District, Uttaradit Province |
Authors: | Benjawan Wongrod เบญจวรรณ วงษ์รอด Orawan Keeratisiroj อรวรรณ กีรติสิโรจน์ Naresuan University Orawan Keeratisiroj อรวรรณ กีรติสิโรจน์ orawansa@nu.ac.th orawansa@nu.ac.th |
Keywords: | การดูแลตนเอง การส่งเสริมสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง Self-care Health promotion Hypertension |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this Quasi-experimental research were to study the effect of the program by applying health promoting model on self-care behaviors of patients with uncontrolled hypertension. By applying Pender's Health-promoting Model and Protection Motivation Theory. The sample consisted of 60 patients with uncontrolled hypertension, divided into experimental group and control group, 30 people each. The experimental group received health promoting program for 8 weeks and follow-up period at the 10th week, and the controlled group received normal service. The data were collected by interview forms. Between May 2019 to July 2019. The data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation, and inferential statistics using Independent t-test, Paired t-test, One-Way Repeated ANOVA and Analysis of Covariance (ANCOVA). The statistical significance level was set at 0.05.
The results showed that after the experiment, the experimental group had mean perceived scores including perceived benefit of practice, perceived barriers to practice, perceived self-efficacy, perceived severity of disease, and perceived risk exposure disease, and the mean behavioral scores were statistically significantly higher than before the trial (p-value < 0.05). In addition, the mean systolic blood pressure of the experimental group After the trial and follow-up period, there was a statistically significant decrease from before the trial (p-value < 0.05). And after the experiment, the experimental group had a mean perceived score, mean behavior score and mean blood pressure significantly better than the control group (p-value < 0.05). Therefore, health promoting programs affect to patients behavior practicing. And the progress of the behavior practicing should be monitored continuously leads to sustainable practice. การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และระยะติดตามผลสัปดาห์ที่ 10 ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 ถึง เดือน กรกฎาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานโดยใช้สถิติ Independent t-test, Paired t-test, One-Way Repeated ANOVA และ Analysis of Covariance (ANCOVA) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิคของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจึงมีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมของผู้ป่วย และควรมีการติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5932 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BenjawanWongrod.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.