Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5914
Title: การศึกษาแรงสบฟันสัมพัทธ์กับลักษณะทางคลินิกและทางภาพรังสีในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ
A study of relative occlusal forces on clinical and radiographic parameters of periodontitis patients
Authors: Apichaya Pornprom
อภิชญา พรพรหม
Sodsi Wirojchanasak
สดใส วิโรจนศักดิ์
Naresuan University
Sodsi Wirojchanasak
สดใส วิโรจนศักดิ์
sodsiw@nu.ac.th
sodsiw@nu.ac.th
Keywords: แรงสบฟันสัมพัทธ์ ,โรคปริทันต์อักเสบ ,ภาวะบาดเจ็บเหตุสบฟัน
Periodontitis secondary occlusal trauma fremitus widening periodontal ligament space tooth mobility and T-scan III occlusal analysis system
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The relationship between occlusal force and periodontitis has been explored for over a century. According to previous research, excessive occlusal force contributes to the disease progression of periodontitis, including poor response to periodontal treatment, and is the cause of occlusal trauma. Most of the studies were conducted in patients with untreated periodontitis or inflammatory conditions of the periodontium. There are currently few studies on those with reduced inflammatory conditions, with most studies focusing on occlusal forces in static occlusion. There are no current studies on the chewing cycle. Chewing is the main function of the teeth and may be more representative of the occlusal force while the patient is functioning. T-scan III is a computerized occlusal analysis system. It can analyze the relative occlusal force, which is close to the individual teeth in the jaw and occlusal contacts, as well as the time sequence of the occlusal contacts. This diagnostic device is increasingly used in dentistry. This study aims to determine whether there is a correlation between relative occlusal force and clinical and radiographic parameters associated with occlusal trauma in periodontitis patients who had reduced inflammatory conditions. Four hundred fourteen teeth from twenty subjects who received full mouth scaling and root planing for at least 1-2 months but no more than 6 months with at least stage III periodontitis (AAP and EFP 2018) were examined; periodontal assessment and radiographic examination. The relative occlusal force was recorded with the T-Scan III digital occlusal analysis system by selecting the chewing movement and recording it in 3 seconds. The results indicated a correlation between the relative occlusal force in the chewing movement and the clinical and radiographic parameters: bleeding on probing and clinical attachment loss were significantly positively associated (p<0.05). The relative occlusal force was found to be related to other factors more clearly in the posterior teeth than in the anterior teeth and was statistically significantly positive, including proximal alveolar bone loss, clinical attachment loss, and widening periodontal ligament space (p<0.05). Because the relative occlusal forces during chewing movement occur in the posterior teeth more than the anterior teeth. The number of posterior occlusal pairs was found to be related to relative occlusal force at the chewing movement, with groups with fewer than 4 posterior occlusal pairs having more severe periodontal status, including probing depth, gingival recession, and clinical attachment loss. (p<0.05). The relative occlusal force in the chewing movement was related to some factors of periodontal status associated with occlusal trauma. The tooth position and the number of posterior occluding pairs affected the relative occlusal force.
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสบฟันและโรคปริทันต์อักเสบมีการศึกษามาเป็นระยะเวลานาน โดยพบว่าแรงสบฟันที่มีบทบาทต่อการดำเนินโรคปริทันต์อักเสบ รวมถึงแรงสบฟันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของภาวะบาดเจ็บเหตุสบฟัน การศึกษาในเรื่องนี้ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดการสูญเสียฟันในอนาคต นอกจากนี้การศึกษาในกลุ่มซี่ฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบที่มีสภาวะการอักเสบลดลงแล้วนั้นในปัจจุบันยังมีจำกัด ซึ่งการอักเสบของอวัยวะปริทันต์นั้นส่งผลอย่างมากต่อความสามารถในการรับแรง และการศึกษาในกลุ่มที่มีสภาวะการอักเสบที่ลดลงแล้วนั้นในปัจจุบันยังมีจำกัด และการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบแรงสบฟันในตำแหน่งการสบฟันขณะอยู่นิ่ง แต่การศึกษาเพียงแค่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ไม่สามารถเป็นตัวแทนของฟันที่เกิดการสัมผัสกันจริงในขณะใช้งาน ซึ่งต้องศึกษาในทุกมิติของการเคลื่อนที่ของขากรรไกร ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาใดทำการศึกษาในตำแหน่งบดเคี้ยว ซึ่งการบดเคี้ยวนั้นเป็นหน้าที่หลักของฟัน และอาจเป็นตัวแทนของแรงสบฟันขณะที่ผู้ป่วยใช้งานได้อย่างแท้จริงมากกว่าตำแหน่งการสบฟันขณะอยู่นิ่ง การศึกษานี้ทำในซี่ฟันจำนวน 414 ซี่ ของผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่ผ่านการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันมาแล้วอย่างน้อย 1-2 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน โดยทำการตรวจลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีของสภาวะปริทันต์และภาวะบาดเจ็บเหตุสบฟัน และทำการบันทึกค่าแรงสบฟันสัมพัทธ์ที่มากที่สุดในแต่ละซี่จากเครื่องมือระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกน 3 ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์การสบฟันที่สามารถบอกแรงสบฟันสัมพัทธ์ และลำดับเวลาของการสบฟัน โดยการศึกษานี้ทำการบันทึกในตำแหน่งบดเคี้ยวเป็นเวลา 3 วินาที  ผลการศึกษาในซี่ฟันทั้งหมดพบความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงสบฟันสัมพัทธ์ในตำแหน่งบดเคี้ยวกับลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีที่แสดงการดำเนินโรคปริทันต์อักเสบ ได้แก่ ค่าเลือดออกเมื่อหยั่งด้วยโพรบ และค่าการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ทางคลินิกในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีที่แสดงภาวะบาดเจ็บเหตุสบฟันไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในส่วนของตำแหน่งของฟัน ในกลุ่มฟันหลังพบความสัมพันธ์ของค่าแรงสบฟันสัมพัทธ์กับตัวแปรอื่นๆ ที่ชัดเจนมากกว่ากลุ่มฟันหน้า ได้แก่ ระดับการทำลายกระดูกเบ้าฟันด้านซอกฟัน ค่าการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ทางคลินิก และการขยายกว้างของช่องเอ็นยึดปริทันต์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เนื่องจากแรงสบฟันในตำแหน่งบดเคี้ยวกระทบบริเวณฟันหลังเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ปัจจัยจำนวนคู่สบฟันหลังมีผลต่อปริมาณแรงสบฟันในตำแหน่งบดเคี้ยวที่ลงในฟันซี่ที่เหลือ โดยกลุ่มที่มีจำนวนคู่สบฟันหลังน้อยจะพบค่าแรงสบฟันมาก และมีระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบที่มากตาม อาจพิจารณาแนะนำให้ผู้ป่วยใส่ฟันเทียม เพื่อให้เกิดการกระจายแรงได้ดีขึ้น และมีผลดีต่อการพยากรณ์โรคในระยะยาว
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5914
Appears in Collections:คณะทันตแพทยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ApichayaPomprom.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.