Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5860
Title: การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินสมรรถนะผู้จัดการการดูแลระยะยาว ในระบบสุขภาพอำเภอ
Developing an instrument for assessment of long-term care competencies among care manager in district health system
Authors: Sunattra Somkamlang
สุเนตรา สมกำลัง
Nithra Kitreerawutiwong
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
Naresuan University
Nithra Kitreerawutiwong
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
nithrak@nu.ac.th
nithrak@nu.ac.th
Keywords: สมรรถนะการดูแลระยาว
ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ
ระบบสุขภาพอำเภอ
การวิจัยแบบผสมผสาน
Long-term care competencies
Care manager
District health system
Mixed method
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The care managers play an important role in providing long-term care in district health systems. However, there are currently few tools for assessing the long-term care capacity of the care managers in the district health systems. This study aimed to explore the meanings and components of competencies of the care managers and to develop a tool to assess the competencies of the care managers in the district health systems. Exploratory mixed method: instrument development design was used. The first step of qualitative data through in-depth interviews and focus groups of 34 people who were stakeholders in the long-term care system, including policymakers, practitioners and academics covering national and provincial levels were conducted. Data were analyzed by content analysis and data triangulation was confirmed. Then the qualitative result was connected data to develop of the questionnaires, obtained 106 items. The second step was to check the quality of the tools by 7 experts to consider examining items on face validity, remained 73 questions. Then 7 experts were invited to examine the content validity, obtained the values of S-CVI/Ave= 0.95 and S-CVI/UA= 0.81, with the 49 items were remained. The first draft questionnaire was undertaken to try out with care managers who had at least 2 years of working experience and worked in Chom Thong District, Chiang Mai Province and Phan District in Chiang Rai Province, with a totally of 30 persons, and the total 33 items were remained. The internal consistency reliability was checked with Cronbach's Alpha Coefficient = 0.960. The tool was conducted a field test in a large sample of 378 care managers working in the health region 1. Construct validity was examined by exploratory factor analysis. Principal component analysis was applied as a method using the varimax rotation method and confirmatory factor analysis (CFA) were used to confirm the structural validity of the questionnaire, obtained 4 components of long-term care competencies with a total of 24 items, including 1) management 2) Caring for the Older Person 3) (Inter-sectoral Collaboration 4) Resilience. All aspects were described the value of variance at 73.284%. The results of the confirmatory factor analysis indicated that the fit index of the model was at an acceptable level as follows: c2/df = 1.06, p-value = 0.265 GFI = 0.95, AGFI = 0.93, CFI = 1.00, RMSEA = 0.012, and SRMR = 0.047 Cronbach's Alpha Coefficient =0.917 The value of item-total correlation with the range of 0.385-0.709, which confirmed the internal consistency of the questionnaires both in the overall and in each dimensions. Developing an instrument for assessment of long-term care competencies among care manager in district health system is a valid and reliable tool for evaluating the competencies of care managers and for planning the training programs to promote the competence of care managers to provide long-term care services in district health systems.
ผู้จัดการการดูแลระยะยาว มีบทบาทสำคัญในการให้บริการการดูแลระยะยาวในระบบสุขภาพอำเภอ อย่างไรก็ตามเครื่องมือในการประเมินความสามารถในการดูแลระยะยาวของผู้จัดการการดูแลระยะยาวที่อยู่ในระบบสุขภาพอำเภอ ปัจจุบันยังมีน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความหมายและองค์ประกอบของสมรรถนะของผู้จัดการการดูแลระยะยาว และเพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะของผู้จัดการการดูแลระยะยาว ในระบบสุขภาพอำเภอ รูปแบบการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจ แบบการพัฒนาเครื่องมือ ขั้นตอนแรกเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 34 คน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการดูแลระยะยาว ประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานและนักวิชาการที่ครอบคลุมระดับชาติและระดับจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือแบบสามเส้า หลังจากนั้นเชื่อมต่อข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาเป็นแบบสอบถามได้ข้อคำถาม 106 ข้อ ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน พิจารณาตรวจสอบข้อคำถามแบบเผชิญหน้า ปรับแก้ไขเหลือ 73 ข้อ จากนั้นตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ได้ค่า S-CVI/Ave = 0.95 และ S-CVI/UA= 0.81 ปรับแก้ไขข้อคำถาม เหลือ 49 ข้อ เป็นเครื่องมือร่างฉบับที่ 1 นำไปทดลองใช้กับผู้จัดการการดูแลระยะยาวที่ปฏิบัติงานในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่และอำเภอพาน จังหวัดเชียงรายที่มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 2 ปี จำนวน 30 คน เหลือจำนวน 33 ข้อ ตรวจสอบความสอดคล้องภายในด้วยค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคของแอลฟา = 0.960 ต่อมานำเครื่องมือไปทดสอบคุณสมบัติในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้จัดการการดูแลระยะยาว ที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 378 คน วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ใช้วิธีองค์ประกอบร่วมหมุนแกนด้วยวิธี Varimax และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อยืนยันความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถาม ได้สมรรถนะการดูแลระยะยาว 4 องค์ประกอบ ได้ข้อคำถามจำนวน 24 ข้อ โดยมีองค์ประกอบ คือ 1) การบริหารงาน 2) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 3) การประสานงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ และ 4) การปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงปกติ ซึ่งทุกด้านอธิบายค่าความแปรปรวนได้ร้อยละ 73.284 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบค่าดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดลอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ดังนี้ c2/df = 1.06 p-value = 0.265 GFI = 0.95 AGFI = 0.93 CFI = 1.00 RMSEA = 0.012 และ SRMR = 0.047 สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = 0.917 ค่า Item-total Correlation รายด้านอยู่ระหว่าง 0.385-0.709 ซึ่งยืนยันความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามทั้งภาพรวมและรายด้าน การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินสมรรถนะผู้จัดการการดูแลระยะยาว ในระบบสุขภาพอำเภอ เป็นเครื่องมือที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้จัดการการดูแลระยะยาว และเป็นข้อมูลในการวางแผนโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้จัดการการดูแลระยะยาวที่ให้บริการการดูแลระยะยาวในระบบสุขภาพอำเภอ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5860
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SunattraSomkamlang.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.