Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5857
Title: รูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
A model of New Electronic Cigarettes User Prevention  among Vocational Education Students in Upper Northern Thailand
Authors: Jeeraphat Rattanachompoo
จีรภัทร์ รัตนชมภู
Chakkraphan Phetphum
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
Naresuan University
Chakkraphan Phetphum
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
chakgarphanp@nu.ac.th
chakgarphanp@nu.ac.th
Keywords: บุหรี่ไฟฟ้า
นักศึกษาอาชีวศึกษา
ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
electronic cigarette
vocational students
the upper northern region of Thailand
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The mixed method research design with explonatory sequential design and Connect The Data aims  to develop a model of new electronic cigarettes use prevention among vocation student in upper northern Thailand. There are 4 phase to the research process as follow; 1. a Study phenomena pattern and conceptual simulation of vocation students in northern Thailand use e- cigarettes. 2. Factors predicting electronic cigarettes use vocation student in upper northern Thailand. 3. Develop a model of new electronic cigarettes use prevention among vocation student in upper northern Thailand. 4.Effective of a model of new electronic cigarettes use prevention among vocation student in upper northern Thailand. The results of the Phase 1 study found that e-cigarette use patterns consisted of Access and source patterns of e-cigarettes Scheme of choosing the type of electronic cigarette Schemes for choosing the type of e-cigarette liquid Behavioral patterns of e-cigarette use Behavioral pattern of e-cigarette use and factory smoking. The conceptual simulation consists of conceptual simulation 1, Good Attitude towards E-Cigarette Use. conceptual simulation 2, Conceptual Social Norms. conceptual simulation 3, Understanding the Dangers of E-Cigarettes conceptual simulation 4, Accessibility of E-Cigarettes. The results of the Phase 2 found that the factors identified as predictive of e-cigarette use behavior among vocational students included cigarette smoking in the past 1 year, alcohol consumption in the past 1 year, self-esteem, positive attitude toward e-cigarettes, e-cigarette use among friends, e-cigarette price. The results of the Phase 3 found that School level factor This includes monitoring and enforcing smoke-free school regulations. The management of an environment that is not conducive to smoking. Interpersonal level factors, which consist of smoking cessation factory Reduction and cessation of drinking alcoholic beverages level within the person which consists of Self-esteem activities, denial skills, strengthening of harm awareness of e-cigarettes, awareness of tobacco industry strategies, strengthening of harm awareness of factorycigarettes. The results of the Phase 4 found that The experimental group had a lower intent to use e-cigarettes than before the experiment and was significantly lower than the control group at 0.05 statistical significance. top of thailand The created can help vocational students intend to prevent the use of e-cigarettes, so they should be used to cover more target groups and be applied in other areas as appropriate.
            การวิจัยแบบผสมผสาน แบบสำรวจบุกเบิกและการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อสร้างรูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะประกอบด้วย  ระยะที่ 1 การศึกษาปรากฏการณ์ แบบแผน และภาพจำลองทางความคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือของประเทศไทยที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ระยะที่ 2 การศึกษาปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ระยะที่ 3 การสร้างรูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และระยะที่ 4 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้า รายใหม่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย             ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า แบบแผนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วย 1 แบบแผนการเข้าถึงและแหล่งที่มาของบุหรี่ไฟฟ้า แบบแผนการเลือกประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า แบบแผนการเลือกประเภทของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า แบบแผนพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า แบบแผนพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับการสูบบุหรี่โรงงาน สำหรับแผนภาพจำลองทางความคิดประกอบด้วยภาพจำลองที่ 1 การมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้บุหรี่ไฟฟ้า 2 ภาพจำลองทางความคิดที่ 2 บรรทัดฐานทางสังคม ภาพจำลองทำความคิดที่ 3 ความเข้าใจในอันตรายบุหรี่ไฟฟ้าภาพจำลองทางความคิดที่ 4 การเข้าถึงได้ง่ายของบุหรี่ไฟฟ้า  ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ปัจจัยพยากรณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ การสูบบุหรี่โรงงาน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาการเห็นคุณค่าในตนเองทัศนคติที่ดีต่อการใช้บุหรี่ไฟฟ้าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของเพื่อนราคาของบุหรี่ไฟฟ้า              ผลการวิจัยระยะที่ 3 พบว่า รูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยประกอบด้วย ปัจจัยระดับสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎระเบียบสถานศึกษาปลอดบุหรี่ การจัดสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ ปัจจัยระดับ ระหว่างบุคคล ซึ่งประกอบด้วย การช่วยเลิกบุหรี่โรงงาน การลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระดับภายในตัวบุคคล ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการเห็นคุณค่าในตนเองทักษะปฏิเสธการเสริมสร้างการรับรู้อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าการรับรู้กลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบการเสริมสร้างการรับรู้อันตรายของบุหรี่โรงงาน              ผลการวิจัยระยะที่ 4 พบว่า ภายหลังการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ของนักศึกษาอาชีวะศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยกลุ่มทดลองมีความตั้งใจที่จะใช้บุหรี่ไฟฟ้าลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ 0.05 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักศึกษาอาชีวศึกษามีความตั้งใจที่จะป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงควรนำไปใช้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นและนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆตามความเหมาะสมต่อไป   
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5857
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JeeraphatRattanachompoo.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.