Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5856
Title: | รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง A PROTECTION MODEL FOR RISKS OF DEPRESSION AMONG THE URBAN ELDERLY PEOPLE |
Authors: | Kridanai Srijai กฤษฎนัย ศรีใจ Pramote Wongsawat ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์ Naresuan University Pramote Wongsawat ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์ pramotew@nu.ac.th pramotew@nu.ac.th |
Keywords: | รูปแบบการป้องกัน ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุเขตเมือง A protection model Risk of depression Urban elderly people |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This mixed-methods research has the objective of a 3-phases research process, consisting of 1) to study factors that cause and influence the risk of depression among the urban elderly people 2) to develop a protection model for risk of depression and 3) to evaluate the appropriateness of the model for risk of depression among urban elderly people. Finding revealed that there are 10 factors that cause and influence the risk of depression among the urban elderly people, i.e., disability or congenital disease, financial burdens, debts, or insufficient income, poor family and family quarrels, living alone, being single, widowed, divorced, or separated, a direct relative with depression, low social support, insufficient rest and sleep, dietary inadequacy, and low self-esteem. A protection model for risk of depression among the urban elderly people consists of 3 main components: surveillance for risk of depression in the elderly, individual health promotion for the elderly, and social support. The results of evaluation of model appropriateness according to the criteria; suitability, usefulness, possibility, and comprehensive accuracy are at a high level. These results show that the development of a protection model for risk of depression among the urban elderly people can be implemented to target groups in other areas as appropriate. การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์แบ่งออกเป็น 3 ระยะตามกระบวนการวิจัย ประกอบด้วย 1) ศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุและมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุและมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง 10 ตัวแปร ประกอบด้วย ความพิการหรือมีโรคประจำตัว มีภาระทางการเงินหนี้สินหรือรายได้ไม่เพียงพอ มีสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดีมีการทะเลาะกันในครอบครัว การอยู่อาศัยเพียงลำพัง มีสถานภาพโสด หม้าย หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ มีญาติสายตรงมีภาวะซึมเศร้า ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำ การพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ และการรับรู้คุณค่าในตนเองในระดับต่ำ รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุรายบุคคล และการสนับสนุนทางสังคม ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบตามเกณฑ์ด้านความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้องครอบคลุม อยู่ในระดับมากทุกด้าน แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเขตเมืองที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปดำเนินการหรือประยุกต์ใช้ในกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสมต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5856 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KridanaiSrijai.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.