Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5770
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Ronnarong Konchom | en |
dc.contributor | รณรงค์ คนชม | th |
dc.contributor.advisor | Pumisak Intanon | en |
dc.contributor.advisor | ภูมิศักดิ์ อินทนนท์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2023-10-30T03:20:48Z | - |
dc.date.available | 2023-10-30T03:20:48Z | - |
dc.date.created | 2566 | en_US |
dc.date.issued | 2566 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5770 | - |
dc.description.abstract | This research is the development of mixed formulation hormone fertilizer (HO) for productivity and active principle of Ocimum spp. The experiment designed was in Randomized Complete Block Design (RCBD) with 6 treatments and 4 replications 24 plots. In 3 consisting of basil, lemon basil and sweet basil. Basil plot site was 2X4 meters, planted 40X50 centimeters, lemon basil and sweet basil plot site were 1.2x4 meters, planted 30X50 centimeters, which 6 treatments as follows: Treatment 1 (control), Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15), Treatment 3 (organic fertilizer), Treatment 4 (HO-1), Treatment 5 (HO-2), Treatment 6 (HO-3) as 50 kg./rai. The experiment plots were located at Phrae Agricultural Research and Development Center, Mueang District, Phrae Province. During September 2020-September 2021. The recorded dada was analyzed in analysis of variance (ANOVA), comparing the difference of mean by DMRT at 95% confidence level. The soil analysis before and after the experiment showed that 3 formulas of the HO group (HO-1, HO-2 and HO-3) had significantly improved the macronutrient, secondary and micronutrients content above other treatments. Not only organic matter (OM) and improved soil pH. Reduce soil density, Increase the porosity of soil, Increase the ability to hold water and found that in the HO fertilizer group experiment significantly increased compared to other treatments. The influence of fertilizers on vegetative, yield and yield components of basil were found that in terms of height, stem diameter, number of branches, canopy diameter, it was found that the HO fertilizer group had a statistically significant difference in the stem diameter from the other treatments and the canopy diameter was larger but not different from chemical fertilizers. Yield result (kg./rai.), most of the HO fertilizer groups increased yields. It was found that Treatment 5 (HO-2) and Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15) highest yield with statistically significant differences with other treatments. Crude extract (%), eugenol and methyl eugenol was found that Treatment 5 (HO-2) showed the highest results over other treatments. In lemon basil research. It was found that in terms of the influence of fertilizer on growth. The yield and yield composition of lemon basil was found that In terms of height, stem diameter, number of branches, canopy diameter, it was found that all items recorded for Treatment 5 (HO-2) and Treatment 6 (HO-3) showed a statistically significant difference with the other treatments. Yield (kg./rai.) found that Treatment 6 (HO-3) and Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15) the highest yield with a statistically significant difference with other treatments. Crude extract (%) , eugenol and methyl eugenol was found that Treatment 6 (HO-3) showed the highest results than other treatments. In sweet basil research found that in terms of the influence of fertilizers on growth. The yield and yield composition of sweet basil found that in terms of height, stem diameter, and number of branches, it was found that Treatment 6 (HO-3) and Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15) had the highest growth statistically significantly different from other treatments. The canopies diameter found that Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15) showed a statistically significant difference with the other treatments. Yield (kg./rai) found that Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15), Treatment 6 (HO-3) and Treatment 5 (HO-2) had the highest yields with statistically significant differences from other treatments. Crude extract (%), eugenol and methyl eugenol was found that the HO fertilizer group showed a statistically significant difference with the other treatments. The cost of production for 3 types of crops found that the treatment that showed the highest results were Treatment 2 (17,000), Treatment 6 (16,780), Treatment 5 (16,700), Treatment 4 (16,650), Treatment 3 (16,350) and Treatment 1 (14,200) baht/rai, respectively. As for the net profit in basil production, it was found that the treatment that showed the highest results were Treatment 5 (55,275), Treatment 2 (52,432), Treatment 6 (46,996), Treatment 4 (46,540), Treatment 3 (29,010) and Treatment 1 (22,612) baht/rai, respectively. As for the net profit of lemon basil production, it was found that the process that showed the highest results were Treatment 6(94,965), Treatment 2 (85,218), Treatment 5 (78,808), Treatment 4 (76,720), Treatment 3(51,974) and Treatment 1 (46,553) baht/rai, respectively. As for the net profit of sweet basil production, it was found rthat the treatment that showed the highest results were Treatment 2 (204,004), Treatment 6 (181,953), Treatment 5 (158,425), Treatment 4 (152,337), Treatment 3 (127,781) and Treatment 1 (118,403) baht/rai, respectively. The results of the study, it was concluded that HO fertilizers, especially those of Treatment 5 (HO-2) and Treatment 6 (HO-3), could improve soil structure. Improves soil conditions and increases micronutrients. and nutrients to the soil along with fertilizing therefore affecting the growth product and substance in Ocimum spp. Although the yield is not different from Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15), as for the Yield/rai (Net profit) that the use of Fertilizer Treatment 5 (HO-2) in the basil planting results in the highest profit and the use of lemon basil fertilizer, Treatment 6 (HO-3) for maximum profits. As for sweet basil, using Treatment 2 (chemical fertilizer 15-15-15) fertilizer is the most profitable. However, when considering of soil improvement and environmentally friendly fertilizers, yield per area, active principles, yield quality is safe and the production is already in demand in both domestic and international markets. Therefore, fertilizers (HO-2) and (HO-3) should be used in the production of Ocimum spp. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) เพื่อเพิ่มผลผลิต และสารสำคัญของพืชเครื่องเทศสกุลกะเพรา Ocimum spp. วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ รวม 24 แปลง 3 ชนิดพืชประกอบด้วยกะเพรา, แมงลักและโหระพา แปลงวิจัยกะเพราขนาดแปลงย่อย 2x4 เมตร ระยะปลูก 40x50 เซนติเมตร แปลงวิจัยแมงลักและโหระพาขนาดแปลงย่อย 1.2x4 เมตร ระยะปลูก 30x50 เซนติเมตร ซึ่งประกอบด้วย 6 กรรมวิธี ดังนี้กรรมวิธีที่ 1 (control), กรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15), กรรมวิธีที่ 3 (ปุ๋ยอินทรีย์), กรรมวิธีที่ 4 (HO-1), กรรมวิธีที่ 5 (HO-2) และกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) ใส่ปุ๋ยในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ทำการทดลองที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระหว่างเดือนกันยายน 2563-กันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิธี ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการทดลองพบว่า ผลการวิเคราะห์ดินก่อนและหลังการทดลองพบว่า แปลงกะเพรา แมงลักและโหระพา กลุ่มของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมหรือกลุ่มปุ๋ย HO (กรรมวิธีที่ 4, กรรมวิธีที่ 5 และกรรมวิธีที่ 6) ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ (OM) และปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้ดีขึ้น ลดความหนาแน่นของดิน ทำให้ความพรุนของดินเพิ่มขึ้น เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ และพบว่าในกลุ่มปุ๋ย HO ภายหลังการทดลองระดับธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงอื่น ๆ ในด้านอิทธิพลของปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของกะเพราพบว่าในด้านความสูง ขนาดลำต้น จำนวนกิ่ง พบว่ากลุ่มปุ๋ย HO ทำให้ขนาดลำต้นใหญ่ขึ้นเหนือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และกรรมวิธีควบคุมแต่มีขนาดทรงพุ่มใหญ่ไม่แตกต่างกับปุ๋ยเคมี ส่วนด้านผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มปุ๋ย HO ส่วนใหญ่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยพบว่ากรรมวิธีที่ 5 (HO-2) และกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) ได้ผลผลิตสูงสุดไม่แตกต่างทางสถิติแต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่นๆ เปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบ ผลการวิเคราะห์สารสำคัญยูจินอล และเมทิลยูจินอล พบว่ากรรมวิธีที่ 5 (HO-2) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ ในการวิจัยแมงลักพบว่าในด้านอิทธิพลของปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในด้านความสูง ขนาดลำต้น จำนวนกิ่ง ขนาดทรงพุ่ม พบว่าทุกรายการที่ทำการบันทึกกรรมวิธีที่ 5 (HO-2) และกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) แสดงผลสูงสุดไม่แตกต่างทางสถิติแต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ ส่วนด้านผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่) พบว่ากรรมวิธีที่ 6 (HO-3) และกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) ได้ผลผลิตสูงสุดไม่แตกต่างทางสถิติ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ เปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบ ผลการวิเคราะห์สารสำคัญยูจินอล และเมทิลยูจินอลพบว่ากรรมวิธีที่ 6(HO-3) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่นๆ ในการวิจัยโหระพาพบว่าในด้านอิทธิพลของปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตพบว่าในด้านความสูง ขนาดลำต้น จำนวนกิ่ง พบว่ากรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) และกรรมวิธีที่ 6(HO-3) มีการเจริญเติบโตสูงสุดไม่แตกต่างทางสถิติแต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่นๆ ขนาดทรงพุ่มพบว่ากรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) แสดงผลสูงสุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ ส่วนด้านผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่) พบว่ากรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) และกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) ได้ผลผลิตสูงสุดไม่แตกต่างทางสถิติแต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ เปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบ ผลการวิเคราะห์สารสำคัญยูจินอล และเมทิลยูจินอล พบว่ากรรมวิธีที่ 6 (HO-3) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ ต้นทุนการผลิตพืชทั้ง 3 ชนิดพบว่ากรรมวิธีที่มีต้นทุนสูงสุด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 2 (17,000), กรรมวิธีที่ 6 (16,780), กรรมวิธีที่ 5 (16,700), กรรมวิธีที่ 4 (16,650), กรรมวิธีที่ 3 (16,350) และกรรมวิธีที่ 1 (14,200) บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนกำไรสุทธิในการผลิตกะเพราพบว่ากรรมวิธีที่ได้กำไรสูงสุด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 5 (55,275), กรรมวิธีที่ 2 (52,432), กรรมวิธีที่ 6 (46,996), กรรมวิธีที่ 4 (46,540), กรรมวิธีที่ 3 (29,010) และกรรมวิธีที่ 1 (22,612) บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนกำไรสุทธิในการผลิตแมงลักพบว่ากรรมวิธีที่ได้กำไรสูงสุด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 6 (94,965), กรรมวิธีที่ 2 (85,218), กรรมวิธีที่ 5 (78,808), กรรมวิธีที่ 4 (76,720), กรรมวิธีที่ 3 (51,974) และกรรมวิธีที่ 1 (46,553) บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนกำไรสุทธิในการผลิตโหระพาพบว่ากรรมวิธีที่ได้กำไรสูงสุด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 2 (204,004), กรรมวิธีที่ 6 (181,953), กรรมวิธีที่ 5 (158,425), กรรมวิธีที่ 4 (152,337), กรรมวิธีที่ 3 (127,781) และกรรมวิธีที่ 1 (118,403) บาทต่อไร่ ตามลำดับ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าปุ๋ย HO โดยเฉพาะกรรมวิธีที่ 5 (HO-2) และกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) สามารถปรับปรุงโครงสร้างดิน ปรับสภาพดินและช่วยเพิ่มธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมให้แก่ดินได้ พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย จึงมีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและสารสำคัญพืชสกุลกะเพรา แม้ผลผลิตจะไม่แตกต่างมากกับกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) ก็ตามแต่สารสำคัญสูงสุดในกรรมวิธีที่ 5 (HO-2) และกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) ส่วนในด้านผลตอบแทนต่อไร่ (กำไรสุทธิ) นั้น การใช้ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 5 (HO-2) ในการปลูกกะเพราทำให้ได้ผลกำไรสูงสุด และการใช้ปุ๋ยแมงลักกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) ให้ได้ผลกำไรสูงสุด ส่วนการปลูกโหระพาการใช้ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยเคมี 15-15-15) ให้ได้ผลกำไรสูงสุด รองลงมาคือกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) แต่สารสำคัญพบว่าสูงสุดในปุ๋ยกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) ดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านการปรับปรุงดิน, ต้นทุนการผลิต, การเจริญเติบโต, ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต และปริมาณสารสำคัญเป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศแล้ว จึงควรใช้ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 5 (HO-2) ในการปลูกกะเพรา และปุ๋ยกรรมวิธีที่ 6 (HO-3) ในการปลูกแมงลัก และโหระพา | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) | th |
dc.subject | กะเพรา | th |
dc.subject | แมงลัก | th |
dc.subject | โหระพา | th |
dc.subject | ยูจินอล | th |
dc.subject | เมทิลยูจินอล | th |
dc.subject | Chemical and Granular Organic Fertilizer with Hormone Miiixed Formula (HO) | en |
dc.subject | basl spp. | en |
dc.subject | Methyl eugenol | en |
dc.subject.classification | Agricultural and Biological Sciences | en |
dc.subject.classification | Agriculture,forestry and fishing | en |
dc.subject.classification | Crop and livestock production | en |
dc.title | การพัฒนาปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) เพื่อเพิ่มผลผลิตและสารสำคัญของพืชเครื่องเทศ สกุลกะเพรา Ocimum spp. | th |
dc.title | Development of Chemical and Granular Organic Fertilizerwith Hormone Mixed Formula (HO) for Productivityand Active Principle of Ocimum spp. | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Pumisak Intanon | en |
dc.contributor.coadvisor | ภูมิศักดิ์ อินทนนท์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | pumisaki@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | pumisaki@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Agricultural Science | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร | th |
Appears in Collections: | คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RonnarongKonchom.pdf | 5.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.