Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5769
Title: | ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดของผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ Predictors of intention to stop among substance abuse user afteraddicted treatment at Phetchabun Province. |
Authors: | Kampanart Roopkhaw กัมปนาท รูปขาว Narongsak Noosorn ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน Naresuan University Narongsak Noosorn ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน narongsakn@nu.ac.th narongsakn@nu.ac.th |
Keywords: | ความตั้งใจ ยาเสพติด ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด Intention Substance abuse Substance abuse user addicted treatment |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This Predictive Correlation Study aimed to study level of intention to stop substance abuse and Predictors of intention to stop substance abuse among users after receiving addition treatment in Phetchabun Province.
The sample consisted of 128 people. The reliability values of questionnaire were more than 0.70. The data were analyzed by multiple linear regression. The results of the study showed that the majority of the sample (84.40%) had the level of intention to stop substance abuse at the highest level. Significant predictors of intention to stop substance abuse were marital status (divorced or separated or widowed), normative beliefs, perceived behavior control, and attitudes towards the behavior. These factors can predict 36.20 % of the variation of intention to stop substance abuse among users. Knowledge gained from this study suggests that the relating organizations should study and develop a treatment model for substance abuse user that promotes good attitudes towards the behavior and perceived behavior control. Norm’s participation should be included in the treatment process. การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive Correlation Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด และศึกษาปัจจัยร่วมทำนายความตั้งใจเลิกยาเสพติดของผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.40 และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจเลิกยาเสพติดของของผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ สถานะสมรส(หย่า แยก หม้าย) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลิกยาเสพติด การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการเลิกยาเสพติด และเจตคติต่อการเลิกยาเสพติด โดยสามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดได้ ร้อยละ 36.20 จากผลการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดที่มีการสร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการเลิกยาเสพติดและสร้างการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม พร้อมทั้งนำกลุ่มอ้างอิงที่มีความสำคัญต่อผู้ที่เข้ารับการบำบัดเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5769 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KampanartRoopkhaw.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.