Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5747
Title: | นิทานแบบตัวเอกเจ้าปัญญา ฉลาดแกมโกง: การศึกษาเปรียบเทียบศรีธนญชัยของไทยกับสกาต่องซาของเมียนมา Trickster tale: Studying and Comparing of Thai Literature Srithanonchai and Myanmar Literature, Saka Tongsa |
Authors: | Nang Woe kham Nang Woe Kham Pakpoom Sookcharoen ภาคภูมิ สุขเจริญ Naresuan University Pakpoom Sookcharoen ภาคภูมิ สุขเจริญ pakpooms@nu.ac.th pakpooms@nu.ac.th |
Keywords: | นิทานแบบตัวเอกเจ้าปัญญาฉลาดแกมโกง สกาต่องซา เมียนมา Tales of cunning protagonists Saka Tongsa Myanmar |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of this thesis is to study the components of the Saka Tongsa tale and compare similarities and differences in structure, characters and concepts that appear in a literary tale with the cunning protagonist Sri Thanonchai and Saka Tongsa. The study found that the elements of the tale of Saka Tongsa are as follows: 1) The origin story of Saka Tongsa from Wun Saye Uchi, which is regarded as the complete edition, and it is accepted as the oldest version in Myanmar. 2) The purpose of the composition is to entertain and give morals. 3) The format is a prose narrative with dialogue interspersed. 4) The content and sequence open with a narration of events in the story. The story progresses according to the life calendar format. The critical points of the story appear in several episodes. Along with episode 1, episode 3, episode 9 and episode 14, the unraveling of the story appeared in several episodes. 5) Character creation consists of main and minor characters. The author has a character presentation by the narrator. 6) Scene Creation The author creates a realistic scene that appears in Myanmar 7) The author's point of view appears through the character's dialogue. 8) The art of using language that appeared in the story of Saka Tongsa found the use of ancient Burmese words and rhetoric, consisting of rhetorical narrative, rhetorical description, rhetorical talk, rhetorical sermon, and parable. Moreover, the researcher found that the two tales had similar plots in terms of character traits and events in some episodes. Although the two tales have similar parts, there are also some differences such as terms of plot, characters and scenes because the storyline of Saka Tongsa has a storyline that tells three main characters and has an important scene in Myanmar. But the story of Sri Thanonchai has a plot that tells the story of only one main character and is set in Thailand. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของนิทานเรื่องสกาต่องซาและศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนคล้ายและความแตกต่างในด้านโครงสร้าง ตัวละคร และแนวคิดที่ปรากฎในวรรณกรรมนิทานเรื่องศรีธนญชัยของไทยกับสกาต่องซาของประเทศเมียนมา ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของนิทานเรื่องสกาต่องซาประกอบไปด้วย 1) ที่มาของเรื่อง นิทานสกาต่องซาเป็นผลงานของ หวุ่นซาเยอูจี ถือเป็นฉบับที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ และได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานเนื่องจากเป็นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดของเมียนมา 2) จุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อสร้างความสนุกสนานและให้คติสอนใจ 3) รูปแบบเป็นการบรรยายด้วยร้อยแก้วมีบทสนทนาคั่น 4) เนื้อหาและการเรียงลำดับเหตุการณ์ในเรื่องคือเปิดเรื่องด้วยการบรรยายเหตุการณ์ การดำเนินเรื่องเป็นไปตามรูปแบบปฏิทินชีวิต จุดวิกฤติสำคัญของเรื่องปรากฏอยู่หลายตอนประกอบไปด้วยตอนที่ 1 ตอนที่ 3 ตอนที่ 9 และตอนที่ 14 การคลี่คลายของเรื่องปรากฏในหลายตอนสอดคล้องกับจุดวิกฤตสำคัญและจบเรื่องแบบทิ้งไว้ให้คิด 5) การสร้างตัวละครประกอบไปด้วยตัวละครหลักและตัวละครรอง ผู้แต่งมีการนำเสนอตัวละครโดยผู้เล่าเรื่อง 6) การสร้างฉาก ผู้แต่งได้สร้างฉากสมจริงที่ปรากฏในประเทศเมียนมา 7) ทัศนะของผู้แต่งปรากฏผ่านบทสนทนาของตัวละคร และ 8) ศิลปะการใช้ภาษาพบการใช้คำภาษาเมียนมาโบราณและการใช้โวหารประกอบเรื่อง ได้แก่ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร และอุปมาโวหาร และการศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนคล้ายและความแตกต่างระหว่างนิทานเรื่องสกาต่องซากับศรีธนญชัย พบว่านิทานทั้งสองเรื่องมีโครงเรื่องที่คล้ายคลึงกันทั้งลักษณะนิสัยของตัวละครและเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องบางตอน ตลอดจนแนวคิดของเรื่องที่เป็นไปในทางเดียวกัน แม้ว่านิทานทั้งสองเรื่องจะมีส่วนที่เหมือนคล้ายกันแต่ก็ยังมีส่วนที่ต่างกัน ทั้งด้านโครงเรื่อง ตัวละคร และฉาก เพราะนิทานสกาต่องซามีโครงเรื่องที่เล่าถึงตัวละครหลักถึงสามตัวละครและมีฉากสำคัญอยู่ที่ประเทศเมียนมา แต่นิทานศรีธนญชัยนั้นมีโครงเรื่องที่เล่าเรื่องราวของตัวละครหลักเพียงหนึ่งตัวละครและมีฉากอยู่ที่ประเทศไทย |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5747 |
Appears in Collections: | คณะมนุษยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NangWoeKham.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.