Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5612
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร FACTORS INFLUENCING FOOD CONSUMPTION BEHAVIOR AMONG SENIOR HIGH SCHOOL STUDENTS, KHLONG KHLUNG DISTRICT, KAMPHAENG PHET PROVINCE |
Authors: | Namthip Unkaew น้ำทิพย์ อุ่นแก้ว Jutarat Rakprasit จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์ Naresuan University Jutarat Rakprasit จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์ jutaratr@nu.ac.th jutaratr@nu.ac.th |
Keywords: | พฤติกรรมการบริโภคอาหาร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย PRECEDE Model Food consumption behavior Senior high school students PRECEDE Model |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This cross-sectional descriptive survey aimed to study food consumption behavior and explore factors influencing food consumption behavior among senior high school students. The samples consisted of 196 senior high school students, in Khlongkhlungratrangsan school, Khlong Khlung district, Kamphaeng Phet province. The research instruments included the personal factors questionnaire, the knowledge toward food consumption questionnaire, the attitude toward food consumption questionnaire, the enabling factors questionnaire, the reinforcing factors questionnaire, and the food consumption behavior questionnaire. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum, and stepwise multiple regression analysis.
The research results revealed that the total mean score of food consumption behavior among senior high school students was 41.05 (S.D. = 5.04), which was at a moderate level. Attitude toward food consumption (ß = -0.264, p-value < 0.001), influence from friends (ß = 0.247, p-value = 0.001), 10th grade (ß = -0.157, p-value = 0.026), and cumulative grade point average (ß = 0.151, p-value = 0.023) were accounted for 31.40% of the variance of food consumption behavior among senior high school students (R2 = 0.314, p-value < 0.001). The results of this research could be used as basic information for developing activities to encourage senior high school students to have practical guidelines to increase appropriate food consumption behavior. การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 196 คน ในโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร แบบสอบถามปัจจัยเอื้อ แบบสอบถามปัจจัยเสริม และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เท่ากับ 41.05 คะแนน (S.D. = 5.04) จัดอยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร (ß = -0.264, p-value < 0.001) อิทธิพลจากเพื่อน (ß = 0.247, p-value = 0.001) การศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ß = -0.157, p-value = 0.026) และเกรดเฉลี่ยสะสม (ß = 0.151, p-value = 0.023) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 31.40 (R2 = 0.314, p-value < .001) ผลของการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความเหมาะสมมากขึ้น |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5612 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NamthipUnkaew.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.