Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5611
Title: | รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ Model of Enhancing Psychological Well-being of Terminal Cancer Patient Caregivers in Muang District,Uttaradit Province |
Authors: | Ratchaneekorn Jaikhamsuep รัชนีกร ใจคำสืบ Civilaiz Wanaratwichit ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร Naresuan University Civilaiz Wanaratwichit ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร civilaizw@nu.ac.th civilaizw@nu.ac.th |
Keywords: | ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย สุขภาวะทางใจ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจ Psychological well-being Model of enhancing psychological well-being Terminal cancer patient caregivers |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This advanced mixed method research design with an explanatory sequential design aimed to create the model of enhancing psychological well-belling of terminal cancer patient caregivers in Muang district Uttaradit province. There were 2 phases of the research process as follows; phase 1.1 studied psychological well-being and factors affecting the psychological well-being of terminal cancer patient caregivers; data were analyzed by descriptive statistics and phase 1.2 studied perspectives on factors affecting the psychological well-being of terminal cancer patient caregivers; data were analyzed by thematic analysis; phase 2 created development and evaluate a model of enhancing psychological well-being of terminal cancer patient caregivers; data were analyzed by content analysis
The results revealed a model of enhancing psychological well-being of terminal cancer patient caregivers at a moderate level of psychological well-being (Mean = 2.94, SD = 0.73). Factors affecting the psychological well-being of terminal cancer patient caregivers were support from public health personnel, spouse, support from neighbors and community, underlying disease of caregivers, and resilience. All 5 variables were able to predict psychological well-being at 60.2% (R2 = 0.602; F = 40.386; p<0.001). The model of enhancing psychological well-being of terminal cancer patient caregivers; consists of 8 components: establishing a network-based care and support policy for terminal cancer patient caregivers and the creation of a Center for Empowering Caregivers and Cancer Patients.; Building a network of care for terminal cancer patient caregivers and terminal cancer patients in hospitals, centers, and communities. To develop the potential of public health personnel to care for terminal cancer patients and their families. Preparing terminal cancer patient caregivers, and organizing health promotion services at home by health personnel. Service system for turning care for terminal cancer patients counseling system through the online counseling program "Jai Dee Jai Sabai", advising on the application "Quick Response, Caregivers", which has been evaluated by experts as appropriate and is practically feasible. This pattern can be used in practice. To further integrate work to promote caregivers' psychological well-being in the area and other areas as appropriate. การวิจัยเชิงผสมผสานขั้นสูง แบบอธิบายตามลำดับขั้นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะตามกระบวนการวิจัย ได้แก่ ระยะที่ 1 ส่วนที่ 1 ศึกษาสุขภาวะทางใจและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ส่วนที่ 2 ศึกษามุมมองต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระ ระยะที่ 2 สร้าง พัฒนา และประเมินรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีสุขภาวะทางใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.94, SD = 0.73) โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ได้แก่ แรงสนับสนุนจากบุคลากรทางสาธารณสุข ความเกี่ยวข้องเป็นสามีภรรยาของผู้ป่วย แรงสนับสนุนจากเพื่อนบ้านและชุมชน การมีโรคประจำตัวของผู้ดูแล และความแข็งแกร่งในชีวิต ปัจจัยทั้งหมด 5 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางใจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ร้อยละ 60.2 (R2 = 0.602; F = 40.386; p<0.001) ทั้งนี้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ กำหนดนโยบายการดูแลช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบเครือข่ายและการสร้างศูนย์เสริมสร้างพลังใจผู้ดูแลและผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย สร้างเครือข่ายการดูแลผู้ดูแลและผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลศูนย์และชุมชน พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัว เตรียมความพร้อมผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จัดบริการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแลที่บ้าน ระบบบริการผลัดเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ระบบการให้คำปรึกษาผ่านโปรแกรมให้คำปรึกษาออนไลน์ “ใจดี ใจสบาย” การให้คำแนะนำผ่าน Application “ตอบไว คู่ใจผู้ดูแล” ซึ่งได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รูปแบบนี้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติ เพื่อบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะทางใจของผู้ดูแลฯในพื้นที่ และพื้นที่อื่นๆ ตามความเหมาะสมต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5611 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RatchaneekornJaikhamsuep.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.