Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5562
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2ในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
Factors Affecting Coronavirus 2019 Prevention Behavior of Type 2 Diabetic Patients in Bangmunnak District Phichit Province
Authors: Piyanat Nakdee
ปิยณัฐ นาคดี
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
Naresuan University
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
thanachk@nu.ac.th
thanachk@nu.ac.th
Keywords: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
CORONAVIRUS 2019
TYPE 2 DIABETIC PATIENTS
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research is a cross-sectional research. The purpose of this study was to study factors affecting the preventive behavior of coronavirus 2019 of type 2 diabetes mellitus patients. There are type 2 diabetes patients who live in Bang Mun Nak District Phichit Province, 375 people were the sample. The samples were obtained by stratified random sampling. The data were collected using a questionnaire with a reliability between 0.717 - 0.850. Data were analyzed using descriptive statistics and Stepwise multiple regression analysis. The research results showed that most of the samples were 71.5% female and 28.5% male, aged between 53-61, 34.7% (61.89±11.22) with secondary/vocational education 58.7% had marital status  67.5% were married, most 36.8% were farmers with an income of 2,500-5,000 baht per month, 29.1% (6,055±6,341 ), most had diabetes between 5- 10 years accounted for 51.2%, with only 17.1% having diabetes for 10 years or more.The sample group had a high level of perceived susceptibility (4.08±0.56), perceived severity (4.14±0.53), perceived benefits (4.3±0.53) and self efficacy (4.23±0.55). The sample group received a high level of social support (4.35±0.55) and had a high level of attitude towards the coronavirus disease 2019 (4.23±0.54). There is a high level of knowledge about coronavirus 2019 (5.64±1.75) and have a high level of preventive behavior against coronavirus 2019 (4.15±0.59). Factors related to coronavirus 2019 prevention behavior of type 2 diabetes patients consisted of gender (eta = 0.132, p = 0.010), education level (eta = 0.208, p = 0.006), perceived susceptibility (r = 0.326, p <  0.001), perceived benefits (r = 0.354, p <  0.001), self efficacy (r = 0.347, p <  0.001), social support (r = 0.331, p <  0.001), attitudes about coronavirus 2019 (r = 0.354, p <  0.001) and knowledge about coronavirus 2019 (r = -0.128, p =  0.013). The results of Stepwise multiple regression analysis revealed that there were 5 variables that could predict the prevention behavior of coronavirus 2019 of type 2 diabetes patients. Perceived severity (β = 0.604, p < 0.001), perceived susceptibility (β = - 01.26, p = 0.026), education level (β = - 0.160, p < 0.001), social support (β = 0.107, p = 0.045) and knowledge about coronavirus 2019 (β = - 0.087, p < 0.001) can together predict the coronavirus 2019 prevention behavior of type 2 diabetes patients in Bang Mun Nak District Phichit Province 34.4%. This study suggests that It should be a quasi-experimental research study by applying the theory of health beliefs and social support was used to develop a program to change behaviors to prevent coronavirus 2019 in other groups of patients. in each area which differ according to the social context to help encourage patients to change behaviors to prevent disease for the better.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร จำนวน 375  คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างแบบแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.717 - 0.850 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติเชิงอนุมาน การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.5 และเพศชายเพียงร้อยละ 28.5  มีอายุช่วง 53-61 ร้อยละ 34.7 (61.89±11.22) มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 58.7 มีสถานภาพสมรส/คู่ร้อยละ 67.5  ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.8 ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ช่วง 2,500-5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 29.1 (6,055±6,341 ) ส่วนใหญ่มีระยะเวลาป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่ระหว่าง 5-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.2  มีเพียงร้อยละ 17.1 ที่มีระยะเวลาป่วยเป็นโรคเบาหวาน 10 ปี ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอยู่ในระดับสูง (4.08±0.56) การรับรู้ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับสูง (4.14±0.53)  การรับรู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (4.37±0.53) และการรับรู้ความสามารถแห่งตนอยู่ในระดับสูง (4.23±0.55) กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (4.35±0.55) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง (4.23±0.54) มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง (5.64±1.75)  และมีพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง (4.15±0.59)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย เพศ (eta = 0.132, p = 0.010),  ระดับการศึกษา (eta = 0.208, p = 0.006), การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r = 0.326, p <  0.001), การรับรู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติ (r = 0.354, p <  0.001), การรับรู้ความสามารถแห่งตน (r = 0.347, p <  0.001), แรงสนับสนุนทางสังคม (r = 0.331, p <  0.001), ทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r = 0.354, p <  0.001), ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r = -0.128, p =  0.013) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ทั้งหมด 5 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค (β = 0.604, p < 0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (β = - 01.26, p = 0.026) การศึกษา (β = - 0.160, p < 0.001) การสนับสนุนทางสังคม (β = 0.107, p = 0.045) ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (β = - 0.087, p < 0.001) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร  ได้ร้อยละ 34.4 การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง โดยประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม มาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามบริบททางสังคม เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคให้ดียิ่งขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5562
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PiyanatNakdee.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.