Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5557
Title: | การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพสำหรับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในระบบสุขภาพอำเภอ DEVELOPMENT OF AN INSTRUMENT TO ASSESS INTERPROFESSIONAL COLLABORATION PRACTICE COMPETENCY FOR PRIMARY CARE TEAM IN DISTRICT HEALTH SYSTEM |
Authors: | Raphiphaet Prasitnarapun รพีแพทย์ ประสิทธิ์นราพันธุ์ Nithra Kitreerawutiwong นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ Naresuan University Nithra Kitreerawutiwong นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ nithrak@nu.ac.th nithrak@nu.ac.th |
Keywords: | การทำงานร่วมกัน สมรรถนะ การพัฒนาเครื่องมือ ปฐมภูมิระบบสุขภาพอำเภอ Interprofessional collaboration Competency Instrument development Primary care District health system |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Background: Evidence shows that interprofessional collaboration (IPC) practice contributes to the quality of health care. However, there are limited instruments to assess IPC in providing primary care in the district health system (DHS) in Thailand. The aim of this study is to develop a valid and reliable questionnaire to assess the IPC competency of primary care team members in DHSs.
Methods: This study was designed as an exploratory mixed methods study. In the qualitative phase, 37 participants, including policymakers, practitioners, and academics with experience in primary care, were involved. Data were analysed using thematic analysis, and trustworthiness was verified by triangulation and peer debriefing. In the quantitative phase, content validity, exploratory factor analysis (EFA), confirmatory factor analysis (CFA), and reliability were conducted, and the final version of the questionnaire was evaluated with 497 participants.
Results: The findings showed an I-CVI range of 0.86-1.00 and S-CVI/UA = 0.87 for 49 items with a 5-point Likert scale. EFA suggested six factors: 1) collaborative teamwork, 2) population- and community-centred care, 3) communication and mutual respect, 4) clarification of roles and responsibilities, 5) interprofessional reflection, and 6) interprofessional values and mixed skills. In the CFA results, the model fit indices were acceptable (CFI = 0.99, RMSEA = 0.049, SRMR = 0.043) or slightly less than the goodness-of-fit values (GFI = 0.84). All subscales showed acceptable Cronbach’s alpha values with a range of 0.86–0.94.
Conclusions: The developed IPC competency scale is a valid and reliable instrument that contributes to assessing the IPC competency of primary care teams in DHSs. This information provides evidence to support tailored intervention to promote the IPC competency of primary care team work to achieve a common goal. มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพนำไปสู่บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามพบว่าเครื่องมือประเมินสมรรถนะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพระดับปฐมภูมิ ในระบบสุขภาพอำเภอ ของประเทศไทย ยังมีอย่างจำกัด วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาความตรง และความเชื่อมั่นของเครื่องมือประเมินสมรรถนะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพสำหรับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในระบบสุขภาพอำเภอ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน แบบเชิงสำรวจบุกเบิก ในขั้นตอนเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 37 คน ประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานและนักวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงานในระบบบริการปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงประเด็น ตรวจสอบข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูลและตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้ร่วมวิจัย ขั้นตอนเชิงปริมาณ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน และหาค่าความเที่ยงในแบบสอบถามฉบับสุดท้าย จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 497 คน ผลการศึกษา พบว่า แบบสอบถามฉบับสุดท้ายมีจำนวน 49 ข้อ ระดับการวัด 5 ระดับ ค่า I-CVI ระหว่าง 0.86-1.00 และ S-CVI/UA = 0.87 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจได้ 6 องค์ประกอบ 1) ด้านการทำงานเป็นทีมแบบร่วมมือ 2) ด้านการให้บริการที่ประชาชน และชุมชนเป็นศูนย์กลาง 3) การสื่อสารและเคารพความแตกต่างของวิชาชีพ 4) ด้านความชัดเจนของขอบเขตและรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ 5) การเรียนรู้สะท้อนคิดของการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ 6) ให้คุณค่าของการทำงานร่วมกันและทำงานทดแทนกัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยพิจารณาจากค่า CFI = 0.99, RMSEA = 0.049, SRMR = 0.043 และค่า GFI = 0.84 เข้าใกล้ค่า The goodness-of-fit มีความสอคคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าความเชื่อมั่นแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 0.86 - 0.94 สรุปได้ว่า แบบสอบถามประเมินสมรรถนะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพสำหรับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในระบบสุขภาพอำเภอมีความตรงและความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ สามารถนำไปประเมินสมรรถนะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพสำหรับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิ เพื่อนำไปใช้ออกแบบหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพสำหรับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5557 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RaphiphaetPrasitnarapun.pdf | 4.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.