Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5263
Title: ชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย: การศึกษาโครงสร้าง วากยสัมพันธ์ และการแปล โดยบูรณาการศาสตร์การแปลและภาษาศาสตร์ปริชาน
ENGLISH AND THAI MOVIE TITLES: A STUDY OF STRUCTURE, SYNTAX AND TRANSLATION BY INTEGRATING TRANSLATION THEORIES AND COGNITIVE LINGUISTICS
Authors: Panitnan Iemtom
พนิตนันท์ เอี่ยมต่อม
Unchalee Wongwattana
อัญชลี วงศ์วัฒนา
Naresuan University
Unchalee Wongwattana
อัญชลี วงศ์วัฒนา
unchalees@nu.ac.th
unchalees@nu.ac.th
Keywords: ชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
ชื่อภาพยนตร์ภาษาไทย
โครงสร้าง
วากยสัมพันธ์
กลวิธีการแปล
ภาษาศาสตร์ปริชาน
English movie titles
Thai movie titles
Structure
Syntax
Translation strategies
Cognitive Linguistics
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study and compare the structures and syntax of English and Thai movie titles as well as investigate translation strategies of the movie titles from English to Thai by integrating translation theory and cognitive linguistics.  The data were 215 pairs of English originals and Thai translation movie titles in 2019 from “www.thailandboxoffice.com” “https://movie.kapook.com” and “Bangkok Critics Assembly” (Chomrom Wichan Banthoeng).  For data analysis, the Functional-Typological Grammar framework of Givón (2001) and Unchalee Singnoi Wongwattana (2022) was applied for the analysis of structures and syntax.  Moreover, the translation theory framework of Newmark (1988) and Schäffner (2012) were employed to analyze global strategies and cognitive-language strategies respectively. Also, the data analysis and categorization were based on cognitive semantics (Kövecses, 2010; Lakoff, 1987; Lakoff & Johnson, 1980) and the prototypical theory presented by Givón (2001). In terms of the structures and syntax, the results reveal that English and Thai movie titles both were constructed with one and two structures. Also, Thai movie titles used original English titles and Thai only for the title or a part/ episode. For English and Thai movie titles constructed with one structure, words, phrases, clauses,  and compound structures were employed. However, phrases, especially noun phrases were used the most. Moreover, discourses were employed to design Thai movie titles. For English and Thai movie titles constructed with two structures, the titles with the part/ episode in the form of “title: part/ episode” were found as follows: “word: word/ phrase/ clause”, “phrase: word/ phrase/ clause”, and “clause: phrase”. However, the form “phrase: word/ phrase/ clause” especially in the form of “noun phrase: noun phrase” was found the most in English movie titles while “noun phrase: noun” and “noun phrase: noun phrase” were found the most in Thai ones. Concerning the translation strategies, the results were divided into global strategies and cognitive-language strategies. Each was divided into title strategies and part/ episode strategies. For titles global strategies, there were 5 global strategies in order from the highest to lowest frequency as follows: 1) free translation 2) communicative translation 3) idiomatic translation 4) semantic translation and 5) faithful translation. For part/ episode global strategies, there were 3 global strategies in order from the highest to lowest frequency as follows: 1) free translation 2) communicative translation and 3) idiomatic translation. Besides, other forms of translation employed to translate both the titles and the part/ episode were also found, including mixed global strategies and non-translation. Regarding cognitive-language strategies, English movie titles and parts/ episodes were further divided into two subgroups based on language styles performed by the maker. These were the cognitive-language style group, which was the most frequent style used by the maker, and the literal language style group, which was the least frequent one. For the cognitive-language style group, there were 3 cognitive-language strategies employed to translate the titles in order from the highest to lowest frequency as follows: 1) cognitive-language into different cognitive-language 2) cognitive-language into same cognitive-language and 3) cognitive-language into sense, whereas 3 cognitive-language strategies used to translate the part/ episode in order from the highest to lowest frequency were 1) cognitive-language into same cognitive-language 2) cognitive-language into different cognitive-language and 3) cognitive-language into sense. Besides, non-translation was also found to create both the titles and the parts/ episodes. For the literal language style group, other forms of translation used to translate both the titles and the part/ episode were discovered, including sense into cognitive-language and non-translation.
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างและวากยสัมพันธ์ของชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยและวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยวิธีบูรณาการศาสตร์การแปลและภาษาศาสตร์ปริชาน  ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศทุกประเภทที่เข้าฉายในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 215 คู่แปล จาก 3 แหล่งข้อมูล คือ "www.thailandboxoffice.com" "https://movie. kapook.com" และ "เพจชมรมวิจารณ์บันเทิง" โดยนำกรอบแนวคิดไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษาของกีวอน (Givón, 2001) และอัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา (2565) มาใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างและวากยสัมพันธ์ พร้อมทั้งนำทฤษฎีการแปลตามแนวคิดของนิวมาร์ค (Newmark, 1988) และชาฟเนอร์ (Schäffner, 2012) มาใช้ในการวิเคราะห์กลวิธีการแปลแบบองค์รวมและการแปลภาษาเชิงปริชาน รวมถึงนำแนวคิดและทฤษฎีทางอรรถศาสตร์ปริชาน (Kövecses, 2010; Lakoff, 1987; Lakoff & Johnson, 1980) และแนวคิดทฤษฎีต้นแบบของกีวอน (Givón, 2001) มาใช้ในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ปรากฏการใช้ ผลการศึกษาพบว่า ชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีทั้งชื่อที่ประกอบด้วยหนึ่งและสองโครงสร้าง  นอกจากนี้ ชื่อภาพยนตร์ภาษาไทยยังมีทั้งชื่อที่ใช้ภาษาอังกฤษดังเดิมและชื่อที่ใช้ภาษาไทยเพียงส่วนชื่อหรือส่วนภาค/ ตอนเท่านั้นด้วย  สำหรับชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่ประกอบด้วยหนึ่งโครงสร้างนั้น พบการใช้ทั้งโครงสร้างระดับคำ วลี ประโยค และโครงสร้างผสม โดยพบการใช้นามวลีมากที่สุด อีกทั้ง ยังพบการใช้โครงสร้างระดับข้อความในชื่อภาพยนตร์ภาษาไทยด้วย  ส่วนชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่ประกอบด้วยสองโครงสร้างนั้น พบการใช้ชื่อที่มีภาค/ ตอนประกอบในรูปแบบ “ชื่อ: ภาค/ ตอน” ทั้งในรูปแบบ “ระดับคำ: คำ/ วลี/ ประโยค”, “ระดับวลี: คำ/ วลี/ ประโยค” และ “ระดับประโยค: วลี”  โดยพบการใช้โครงสร้าง “ระดับวลี: คำ/ วลี/ ประโยค” ในรูปแบบ “นามวลี: นามวลี” มากที่สุดในชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและ “นามวลี: คำนาม” และ “นามวลี: นามวลี” มากที่สุดในชื่อภาพยนตร์ภาษาไทย สำหรับกลวิธีการแปลพบการปรากฏใช้กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ซึ่งแบ่งออกเป็น กลวิธีการแปลแบบองค์รวมและกลวิธีการแปลภาษาเชิงปริชาน โดยแต่ละลักษณะแบ่งออกเป็น กลวิธีการแปลส่วนชื่อและกลวิธีการแปลส่วนภาค/ ตอน  จากกลวิธีการแปลแบบองค์รวมในส่วนชื่อ พบการปรากฏใช้กลวิธีการแปลแบบองค์รวม 5 กลวิธี โดยเรียงลำดับตามค่าความถี่จากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การแปลแบบเสรี 2) การแปลแบบสื่อความ 3) การแปลแบบสำนวน 4) การแปลตามความหมาย และ 5) การแปลตรงภาษา  ส่วนกลวิธีการแปลแบบองค์รวมในส่วนภาค/ ตอน พบการปรากฏใช้กลวิธีการแปลแบบองค์รวม 3 กลวิธี โดยเรียงลำดับตามค่าความถี่จากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การแปลแบบเสรี 2) การแปลแบบสื่อความ และ 3) การแปลตามความหมาย  นอกจากนี้ ยังพบ การแปลแบบผสมผสานและการไม่แปลทั้งในการแปลส่วนชื่อและส่วนภาค/ ตอนด้วย สำหรับกลวิธีการแปลภาษาเชิงปริชานแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามลักษณะภาษาที่ผู้ตั้งชื่อเลือกใช้ต่อไปอีกเป็น กลุ่มชื่อที่ใช้ภาษาเชิงปริชานซึ่งพบมากที่สุดและกลุ่มชื่อที่ใช้ภาษาตรงตามรูปภาษาซึ่งพบน้อยที่สุด  จากกลุ่มส่วนชื่อที่ใช้ภาษาเชิงปริชานพบการปรากฏใช้กลวิธีการแปลภาษาเชิงปริชาน 3 กลวิธี โดยเรียงลำดับตามค่าความถี่จากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การแปลเป็นภาษาเชิงปริชานในมุมมองที่แตกต่าง 2) การแปลเป็นภาษาเชิงปริชานในมุมมองที่เหมือนกัน และ 3) การแปลจากภาษาเชิงปริชานสู่การสื่อความ  ส่วนกลุ่มส่วนภาค/ ตอนที่ใช้ภาษาเชิงปริชานพบการปรากฏใช้กลวิธีการแปลภาษาเชิงปริชาน 3 กลวิธี โดยเรียงลำดับตามค่าความถี่จากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การแปลเป็นภาษาเชิงปริชานในมุมมองที่เหมือนกัน 2) การแปลเป็นภาษาเชิงปริชานในมุมมองที่แตกต่าง และ 3) การแปลจากภาษาเชิงปริชานสู่การสื่อความ อีกทั้ง ยังพบการไม่แปลทั้งในการแปลส่วนชื่อและส่วนภาค/ ตอนด้วย  สำหรับกลุ่มส่วนชื่อและส่วนภาค/ ตอนที่ใช้ภาษาตรงตามรูปภาษา พบการแปลจากการสื่อความสู่ภาษาเชิงปริชานและการไม่แปล
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5263
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62030104.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.