Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5262
Title: การเชื่อมโยงความในเอกสารโบราณท้องถิ่นจังหวัดแพร่ 
Cohesion in Thai ancient documents of Phrae province
Authors: NALINEE KARDSAWANG
นลินี กาศแสวง
Narongkan Rodsub
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์
Naresuan University
Narongkan Rodsub
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์
narongkanr@nu.ac.th
narongkanr@nu.ac.th
Keywords: การเชื่อมโยงความ
เอกสารโบราณ
จังหวัดแพร่
Cohesian
ancient documents
Phrae province
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research were to study cohesive deviced in ancient Thai documents of Phrae province and to study these statised occurring in the documents by using the data of inscription in Phrae province., Mahaponnakon, legend Pathat Cho Hae, Ho Tham Wat Soongmen issue, Phrae province and Mahawong Tang-on Ho Ho Tham Wat Soongmen. The rule and type of Halliday and Hasan(1976,page 31-288 reference in Jutamas  Meechuwas,2549,page 5) Chonticha Bamroongraks (2559, page 151-153) and Wipah. Chanawangsa (1986, reference in Atcharakorn Kanlayajitkoson, page 22-31). This research found that there are 5 types of cohesive deviced were used in ancient Thai documents of Phrae province as followed, reference, ellipsis repletion, lexical  cohesion and  conjunction . In detail, there are 2 parts of reference : personed pronoun and demonstrative pronoun. Two types of ellipsis are found : nominal and verbal ellipsis. And two types of repitions are found : lexical and structural repetition. Furthur more, 2 types of  lexical cohesion are found : antonymy and hyponymy. Lastly eleven types of conjunctions are  found : coherent relation, causal and result relation, temporal relation, objective relation, comparative relation, conditional relation, transitional relation, enumerative relation, separate relation, procedural relation and quotative relation.   The frequency of the cohesion with conjunctions is the highest, followed by reference semantic relation words, repititions and ellipsis respectively.
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเชื่อมโยงความในเอกสารโบราณท้องถิ่นจังหวัดแพร่ จำแนกประเภทของการเชื่อมโยงความในเอกสารโบราณท้องถิ่นจังหวัดแพร่และศึกษาความถี่ของการเชื่อมโยงความในเอกสารโบราณท้องถิ่นจังหวัดแพร่ ผลการวิจัยพบว่า ประเภทการเชื่อมโยงความในเอกสารโบราณท้องถิ่นจังหวัดแพร่ จำนวน 5 ประเภท คือ การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึง การเชื่อมโยงความโดยการละ การเชื่อมโยงความโดยการซ้ำ การเชื่อมโยงความโดยการใช้คำสัมพันธ์กันและการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อม  การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึงพบ 2 ประเภท คือ การอ้างถึงด้วยบุรุษ และการอ้างถึงด้วยการชี้เฉพาะ  การเชื่อมโยงความโดยการละพบ  2  ประเภท  คือ  การละหน่วยนาม  และการละหน่วยกริยา  การเชื่อมโยงความโดยการซ้ำพบ   2  ประเภท  คือ  การซ้ำรูปคำ  และการซ้ำโครงสร้าง  การเชื่อมโยงความโดยการใช้คำที่มีความหมายสัมพันธ์กันพบ 2  ประเภท  คือ การใช้คำตรงกันข้าม  และการใช้คำจ่ากลุ่มเดียวกันและการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อมพบ 11 ประเภท คือ คำเชื่อมแบบคล้อยตาม คำเชื่อมแบบลำดับเหตุการณ์ คำเชื่อมแบบแสดงเหตุและแสดงผล คำเชื่อมแบบแสดงวัตถุประสงค์ คำเชื่อมแบบแสดงการตัดตอนหรือแยกส่วน คำเชื่อมแบบแสดงการกล่าวถึงคำพูด คำเชื่อมแบบแสดงการเปรียบเทียบ คำเชื่อมแบบแสดงเงื่อนไข คำเชื่อมแบบขยายความ คำเชื่อมแบบแสดงการเข้าสู่ประเด็นใหม่และคำเชื่อมแบบแสดงวิธีการ         ส่วนความถี่ประเภทของการเชื่อมโยงความในเอกสารโบราณท้องถิ่นจังหวัดแพร่ พบประเภทการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อมในอัตราความถี่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึง การเชื่อมโยงความโดยการใช้คำสัมพันธ์กัน การเชื่อมโยงความโดยการซ้ำและการเชื่อมโยงความโดยการละ ตามลำดับ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5262
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61070804.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.