Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5195
Title: | รูปแบบธุรกิจสำหรับการใช้แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน Business Model for Second-life Battery Electric Vehicles in Household Use |
Authors: | KRITPHITCHA HATAISUWAN กฤษฏิ์พิชชา หทัยสุวรรณ Prapita Thanarak ประพิธาริ์ ธนารักษ์ Naresuan University. School of Renewable Energy and Smart Grid Technology |
Keywords: | ยานยนต์ไฟฟ้า การขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า แบตเตอรี่ อายุการใช้งานที่สอง ธุรกิจการบริการพลังงาน หลังมิเตอร์ Electric Vehicles e-Mobility Battery Energy Storage Second Life Battery Energy-as-a-Service Behind-the-Meter |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The growing popularity of electric vehicles may affect the proper management of used batteries. These batteries can also store enough energy for other applications. Furthermore, it can extend the lifespan of the battery. This research presents a business model for Second Life Battery Electric Vehicle in Household use. The system was designed with a 5 kWp Solar Rooftop and a Second Life Battery of 10 kWh. This research analyzed the appropriate Levelized Cost (LCOE) system cost compared with the current tariff. It was found that batteries with a residual energy capacity of at least 60-80% compared to new ones with a service life of 5 years. To determine the price, business model, Energy-as-a-service (EaaS) cannot exceed 20,000 baht. The total cost of the 10-year life cycle is about 304,850 baht, which the efficiency of the used battery affects the pricing of the service business. Requirements or methods for verifying used batteries before continuing to use are essential. However, there are currently limitations in checking the battery status before bringing it in. household use. It is challenging to ensure that a used battery remains safe. Therefore, requirements or procedures to inspect a used battery before further use are necessary to reduce the risk of harm in the environment for further use in the future. The form of maintenance is ready to give advice and guarantee the electricity production results, including safety guarantee after installing the battery in Household will be a business choice. Energy-as-a-service (EaaS) ปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้นอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านี้ยังสามารถกักเก็บพลังงานไว้ได้เพียงพอเหมาะสมสำหรับการใช้งานอื่นๆ และสามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ออกไปได้ งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบธุรกิจสำหรับการใช้แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนเพื่อเป็นระบบกักเก็บไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านขนาด 5 กิโลวัตต์ และแบตเตอรี่ขนาด 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง โดยวิเคราะห์หาต้นทุนของระบบต่อหน่วย (Levelized Cost: LCOE) ที่เหมาะสมเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน พบว่า แบตเตอรี่ที่มีความจุพลังงานคงเหลือไม่น้อยกว่า 60 - 80% เมื่อเทียบกับของใหม่ อายุใช้งาน 5 ปี จะกำหนดราคารูปแบบทางธุรกิจแบบ Energy-as-a-service (EaaS) ได้ไม่เกิน 20,000 บาท ต้นทุนรวมตลอดวัฏจักรชีวิตระยะเวลา 10 ปี ประมาณ 304,850 บาท ซึ่งประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่ใช้งานแล้วมีผลต่อการกำหนดราคาการดำเนินธุรกิจการบริการ ดังนั้น ควรมีข้อกำหนดหรือวิธีการในการตรวจสอบแบตเตอรี่ใช้แล้วก่อนนำไปใช้งานต่อจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดด้านการตรวจสอบสถานะของแบตเตอรี่ก่อนนำมา ใช้กับครัวเรือน ซึ่งเป็นการยากที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วยังปลอดภัย ดังนั้น ข้อกำหนด หรือวิธีการในการตรวจสอบแบตเตอรี่ใช้แล้วก่อนนำไปใช้งานต่อจึงมีความจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายในการนำไปใช้งานต่อไปในอนาคต ซึ่งรูปแบบการดูแลรักษาพร้อมให้คำแนะนำและการรับประกันผลการผลิตไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยหลังการติดตั้ง แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนจะเป็นทางเลือกในการดำเนินธุรกิจ Energy-as-a-service (EaaS) |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5195 |
Appears in Collections: | วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62063690.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.