Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5189
Title: | ประสิทธิผลของการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบจากการสูดสำลักในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง : การศึกษาแบบไขว้ Effectiveness of Tongue Cleaning plus Chemical Mouthwash Agents into the Number of Oral Microorganism on the Aspiration Pneumonia in Bedridden Elderly Patients : A Cross over study |
Authors: | NILOBON AIEMYEN นิโลบล เอี่ยมเย็น Patcharaphol Samnieng ภัชรพล สำเนียง Naresuan University. Faculty of Dentistry |
Keywords: | ติดเตียง, ผู้สูงอายุ, การทำความสะอาดลิ้น, น้ำยาบ้วนปาก, ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก Bedridden Elderly Tongue cleaning Mouthwash Aspiration pneumonia |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Tongue cleaning methods in bedridden elderly patients were an important that decrease and control the number of microorganisms caused aspiration pneumonia. In Dentistry, we used chemical mouthwash agents that had effect of bacteriostatic and bactericidal to prevent and treatment oral diseases such as chlorhexidine gluconate and povidone iodine. Hence the purpose of this study was to evaluate the effectiveness of tongue cleaning plus mouthwash on the number of microorganisms caused pneumonia in bedridden elderly patients. Twelve bedridden elderly participated in this crossover design. The participants were randomly divided into three groups of tongue cleaning methods as follows: group 1, chlorhexidine gluconate (CHX); group 2, water (W); group 3, povidone iodine (PVP-I). The washout period for each chemical was 1 week and then all participants were done for three chemicals. The number of microorganisms caused aspiration pneumonia (total anaerobic bacteria, total aerobic bacteria, Streptococci, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Candida spp.) and tongue coating index were measured on the dorsal of tongue surface at baseline, immediately after tongue cleaning and at 3 hours after tongue cleaning. Data was analyzed by using SPSS program version 22. From the results showed the percentage of the number of microorganisms reduction for tongue cleaned with CHX (> 60 % for all) were higher than PVP-I and W group, and trended to continue effect for 3 hours. The percentage of reduction for tongue cleaned plus CHX was significantly different in the number of total anaerobic bacteria, total aerobic bacteria, Streptococci, Staphylococcus aureus and Pseudomonas aeruginosa in immediately and 3 hours after cleaning compared to W group. The effectiveness of tongue cleaning plus CHX to reduce the number of bacteria had no difference from the tongue cleaning plus PVP-I. For the number of Candida spp, the CHX had significant difference in immediately after cleaning. Only the CHX group was significantly different in 3 hours after cleaning compared to PVP-I and W group. The percentage of tongue coating index decreased in all three groups. The CHX, PVP-I and W group had no significant differences in immediately and 3 hours after tongue cleaning. These findings concluded that tongue cleaned with CHX and PVP-I were effective for decrease the number of microorganisms caused aspiration pneumonia in bedridden elderly patients immediately after cleaning and continue to effect for 3 hours. The effectiveness of tongue cleaning plus CHX was not different from the tongue cleaning plus PVP-I, but CHX is more effective for reduction the number of Candida spp. CHX might be recommended for clinical practice guideline of tongue cleaning in the bedridden elderly patients. การทำความสะอาดลิ้นในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถลดและควบคุมปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ภายในช่องปากที่อาจก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบจากการสูดสำลัก ในทางทันต-กรรมมีการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ยับยั้ง ควบคุมการเจริญและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการป้องกันและรักษาโรคภายในช่องปาก ได้แก่ คลอเฮกซิดีน กลูโคเนต โพวิโดน ไอโอดีน เป็นต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิ-ดีน กลูโคเนต และโพวิโดน ไอโอดีนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบจากการสูดสำลักในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมการศึกษาแบบไขว้ และถูกสุ่มให้ได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับการใช้สารเคมีที่แตกต่างกัน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำสะอาด และกลุ่มที่ 3 ได้รับน้ำยาบ้วนปากโพวิโดน ไอโอดีน กำหนดช่วงเวลาหยุดพักเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับการใช้สารเคมีครบทั้ง 3 ชนิด วัดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบจากการสูดสำลัก ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนทั้งหมด เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนทั้งหมด เชื้อแบคทีเรียกลุ่มสเตร็ปโตคอคไค เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา และเชื้อรากลุ่มแคนดิดา ประเมินและคำนวณฝ้าขาวที่บริเวณด้านบนลิ้น ก่อนทำความสะอาด หลังจากทำความสะอาดลิ้นทันที และหลังจากทำความสะอาดลิ้นเป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง ทำการวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS เวอร์ชั่น 22 จากการวิจัยพบว่า การทำความสะอาดลิ้นร่วมกับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนตในกลุ่มตัวอย่างทุกคนสามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ได้มากกว่าร้อยละ 60 สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับโพวิโดน ไอโอดีน และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับน้ำสะอาดและมีแนวโน้มที่จะสามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ได้เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง ร้อยละการลดลงของปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบจากการสูดสำลัก (แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนทั้งหมด แบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนทั้งหมด เชื้อแบคทีเรียกลุ่มสเตร็ปโตคอคไค เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา) ในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต หลังจากทำความสะอาดทันที และ 3 ชั่วโมงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญสถิติกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำความสะอาดร่วมกับน้ำสะอาด ประสิทธิผลของการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ทำความสะอาดลิ้นร่วมกับโพวิโดน ไอโอดีนหลังจากทำความสะอาดลิ้นทันที และหลังจากทำความสะอาดลิ้น 3 ชั่วโมง แต่ร้อยละการลดลงของปริมาณเชื้อราแคนดิดาหลังจากทำความสะอาดทันที กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนตมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดร่วมกับน้ำสะอาด และหลังจากทำความสะอาด 3 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต มีร้อยละการลดลงของปริมาณเชื้อราแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดร่วมกับน้ำสะอาดและกลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดร่วมกับโพวิโดน ไอโอดีน ร้อยละการลดลงของดัชนีฝ้าขาวที่คลุมอยู่บนลิ้นลดลงทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต และโพวิโดน ไอโอดีนไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับน้ำสะอาดหลังจากทำความสะอาดลิ้นทันทีและ 3 ชั่วโมง สรุปผลการดำเนินการวิจัย การทำความสะอาดลิ้นร่วมกับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต และโพวิโดน ไอโอดีน มีประสิทธิผลในการลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบจากการสูดสำลักในผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงหลังจากทำความสะอาดทันที และมีประสิทธิผลต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน 3 ชั่วโมง ประสิทธิผลการทำความสะอาดลิ้นร่วมกับคลอเฮกซิดีน กลูโคเนต และโพวิโดน ไอโอดีนไม่แตกต่างกัน แต่คลอเฮกซิดีน กลูโคเนตมีประสิทธิผลในการลดปริมาณเชื้อรากลุ่มแคนดิดามากกว่า ดังนั้นคลอเฮกซิดีน กลูโคเนตอาจเป็นสารเคมีที่แนะนำให้ใช้เป็นแนวทางเวชปฏิบัติในการทำความสะอาดลิ้นให้กับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5189 |
Appears in Collections: | คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NilobonAiemyen.pdf | 8.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.