Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5171
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร
Factors Influencing Health Literacy among people at risk group of Hypertension in One District of Phichit Province
Authors: Watchara Chankrachang
วัชรา จันทร์กระจ่าง
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
Health Literacy
Risk group of Hypertension
Hypertension
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this predictive research were to study 1) to study health literacy among people at risk of hypertension; 2) to study factors influencing health literacy among people at risk of hypertension. The sample consisted of people aged 35 years and over, both male and female Passed the risk screening for high blood pressure. and is a risk group with systolic blood pressure ranging from 120-139 mm of mercury and/or systolic blood pressure ranging from 80-89 mmHg, 286 people. The tool used to collect data is a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation. Analyzing predictive power with stepwise multiple regression statistics. The results of the study revealed that the sample had a good level of health literacy at 42.3%, and the factors that had the power to predict health literacy in people at risk of hypertension were: social support from the health care system (β = 0.408, p < 0.001), followed by social support from friends (β = 0.217, p < 0.001), family social support  (β = 0.203, p < 0.001), personal motivation (β = -0.140, p < 0.001), marital status (β = 0.168, p < 0.001) intrinsic motivation (β = 0.112, p = 0.010), gender (β = 0.094, p = 0.006) and occupation (β = -0.072, p = 0.041), respectively, being able to forecast 69.6 percent.
การวิจัยเชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่ผ่านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และเป็นกลุ่มเสี่ยงมีค่าความดันโลหิตตัวบนตั้งแต่120-139 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือมีค่าความดันโลหิตตัวล่างตั้งแต่ 80-89 มิลลิเมตรปรอท จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์อำนาจในการทำนายด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.3 และปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากระบบบริการสาธารณสุข (β = 0.408, p < 0.001) รองลงมาคือการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน (β = 0.217, p < 0.001) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (β = 0.203, p < 0.001) สถานภาพสมรส (β = -0.140, p < 0.001) แรงจูงใจภายในตัวบุคคล (β = 0.168, p < 0.001) เพศ (β = 0.094, p = 0.006) และอาชีพ (β = -0.072, p = 0.041) ตามลำดับ โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 69.6
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5171
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062679.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.