Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5169
Title: | ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีปัญญาสังคมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร The Effects of Oral Health Promotion Behavior Program Applying The Social Cognitive Theory in Grade 6 Students, Lan Krabue District, Kamphaeng Phet Province |
Authors: | Thonyapon Philuek ธนยพร พิลึก Sane Saengngoen เสน่ห์ แสงเงิน Naresuan University. Faculty of Public Health |
Keywords: | โปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ทฤษฎีปัญญาสังคม นักเรียนชั้นประถมศึกษา Oral health care program Social cognitive theory Primary school students |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Primary school students were the age group who needed oral health promotion due to the transition from deciduous teeth to permanent teeth and inappropriate oral health behaviors. The most common oral diseases and important public health problems were dental caries and gingivitis. The purpose of this study was to study the effectiveness of oral health care behavior promotion program by applying social cognitive theory among grade 6 students in Lan Krabue District, Kamphaeng Phet Province. This study was a quasi-experimental study. The sample selection was sample random sampling. The sample consisted of 73 students, divided into 36 experimental groups and 37 control groups The experimental group received the program consisted of activities 1) dental examination 2) knowledge 3) role person 4) answering questions for a period of 12 weeks. Data were collected by questionnaires, an oral health practice record and a plaque examination record before and after the experiment. The data were analyzed by Percentage, Mean, Standard deviation, Paired Sample t-test, and Independent Sample t-test.
The results showed that after the experiment, the experimental group had mean scores of oral health care knowledge, oral health self-efficacy, oral health care outcome expectations, and oral health care behavior were significantly higher than before the experiment and higher than the control group (p<0.05). Mean score of dental plaque was significantly lower than before the experiment and lower than the control group (p<0.05). เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นกลุ่มวัยที่จำเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เป็นช่วงวัยที่เปลี่ยนผ่านจากชุดฟันน้ำนมเป็นฟันแท้ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม โรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ คือ โรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีปัญญาสังคมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบจับฉลาก (Sample Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 73 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 36 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 37 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ ประกอบด้วยกิจกรรม 1) ตรวจฟัน 2) ให้ความรู้ 3) บุคคลตัวแบบ 4) ตอบคำถาม เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกการตรวจปริมาณคราบจุลินทรีย์ ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent Sample t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปาก ความคาดหวังในผลลัพธ์ในการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ ต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5169 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62062198.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.