Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5166
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 
FACTORS AFFECTING TO SMOKING PREVENTION BEHAVIORS AMONG THE ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS 
Authors: PHATARIN SIRITRAKUL
ภัทรินทร์ ศิริทรากุล
Artittaya Wangwonsin
อาทิตยา วังวนสินธุ์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การสูบบุหรี่
พฤติกรรมป้องกัน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Smoking
Preventive behavior
Elementary school
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This predictive research aimed to study the smoking preventive behaviors and the factors influencing the smoking preventive behaviors among the elementary school students in Phitsanulok province. The 460 samples were included, and data was collected using self-administered questionnaires. The frequency, percentage, mean, and standard deviation were utilized as descriptive statistics, while the multiple linear regression was employed as inferential statistics to analyze the data. The results showed that most of the samples’ smoking preventive behaviors were at the good level (65.70%). The smoking preventive behaviors at high level were spending the valuable leisure time with other activities rather than smoking (77.80%) and refusing peers’ invitation to participate in smoking activity (76.30%). The predictive factors influencing the smoking preventive behaviors among the elementary school students at statistically significant level 0.05 were life skills (β = 0.339, p < 0.001); receiving support from parents, teachers, friends and famous person (β = 0.163, p < 0.001); social norms (β = 0.163, p < 0.001); roles and duties of family institution (β = 0.122, p = 0.002) ; preventive smoking policy implemented in a school (β = 0.097, p = 0.022); teachers’ roles in preventing smoking (β = 0.093, p = 0.028); and gender (β = - 0.079, p = 0.034). Altogether of those factors could predict the smoking preventive behaviors with 41.40 percent accuracy (R2 = 0.414, F = 45.227, p-value < 0.001).
การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพิษณุโลก  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 460 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 2.46, S.D. = 0.43)  โดยข้อที่ปฏิบัติได้ในระดับมาก ได้แก่ การใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์หรือใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นแทนการสูบบุหรี่ ร้อยละ 77.8 รองลงมาเป็นการปฎิเสธหากเพื่อนชวนสูบบุหรี่ ร้อยละ 76.3 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ทักษะชีวิต (β = 0.339, p < 0.001) การได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ปกครอง ครู เพื่อน และบุคคลที่มีชื่อเสียง (β = 0.163, p < 0.001) บรรทัดฐานทางสังคม (β = 0.141, p = 0.001) การทำหน้าที่ของครอบครัว  (β = 0.122, p = 0.002) การดำเนินนโยบายป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียน (β = 0.097, p = 0.022) บทบาทการป้องกันการสูบบุหรี่ของครู (β = 0.093, p = 0.028) เพศ (β = 0.079, p = 0.034)  โดยสามารถอธิบายการผกผันพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ ได้ร้อยละ 41.40 (R2 = 0.414,  F = 45.227, p-value < 0.001)
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5166
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061436.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.