Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5163
Title: | รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก A Model for developing the capacity of solid waste management of Collaborative Networks in the epidemic control area of the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), Mae Sot Subdistrict, Mae Sot District, Tak Province |
Authors: | Siriporn Kamvanin ศิริพร คำวานิล Narongsak Noosorn ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน Naresuan University. Faculty of Public Health |
Keywords: | ขยะมูลฝอยในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ภาคีเครือข่าย การมีส่วนร่วม Solid Waste The COVID-19 Situation Network Partners Participation |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to develop a model for developing the potential of solid waste management of collaborative networks in the epidemic control area of Corona 2019 (COVID-19) in Mae Sot Sub-district, Mae Sot District, Tak Province by using this research method. Mixed Methology Research, Exploratory Sequential Design consists of 3 phases as follows: Phase 1 was quantitative data collection. (Quantitative Reseach) to study the factors affecting the potential of solid waste management in representatives of 400 households using Systematic Random Sampling and collecting data by using a questionnaire. Data were analyzed by statistical analysis. depict using frequency, percentage, mean, standard deviation and multinomial logistic regression. As for the method of collecting qualitative research, selecting a specific sample (Purposive Sampling) to be interviewed (In-Depth Interview), analyzing the data by Content Analysis, Phase 2 is the development and confirm the pattern Development of solid waste management potential of collaborative networks by focus group process using SWOT Analysis technique, participant observation and confirmed the model with the Civil Society Forum technique. Phase 3, the model was assessed using the DelPhi Technique.
The results of the study revealed that the sample group's overall solid waste management potential was at a moderate level.69.94% classified as general waste management potential at a moderate level, 70.75%, a recycling waste management potential at a moderate level, 59.25%, a hazardous waste management potential at a moderate level 77.00%, and a waste management potential. The infection was moderate, 72.75%. Had an attitude towards solid waste management. At the high level 86.75% (x̅ = 3.86, S.D.= 0.73) had knowledge about solid waste management at the high level 100% participation in solid waste management of collaborative networks at the level of low 76.94% (x̅ = 3.77, S.D.= 0.81) and The potential of waste management of collaborative networks is at moderate 69.94% (x̅ = 3.70, S.D.= 0.91). The factor variables affecting the waste management potential of collaborative networks consisted of 2 variables, which were attitude variable(B = 1.784), public participation variable (B = 1.523). Statistics at 0.05 level. The factor variables affecting the waste management potential of collaborative networks consisted of 2 variables, which were attitude variable (B = 1.784), public participation variable (B = 1.523). Statistics at 0.05 level. The model for developing the potential for solid waste management of collaborative networks that are suitable for Mae Sot community context has 11 activities according to the community context consisting of Multi-ethnic: Thai, Myanmar, English, multicultural, including Hmong, Karen, Lisu and Muser, and participation of collaborative networks with employers, migrant workers trading businessman and tourists.
The results of the model assessment revealed that the sample group had the highest and highest level of opinion on the 11 activities model. Therefore, this model could be used to improve the waste management capacity of collaborative networks in the epidemic control area. Coronavirus disease (COVID-19) continues. การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสนวิธี (Mixed Methology Research) เชิงสำรวจบุกเบิก (Exploratory Sequential Design) ประกอบด้วย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Reseach) ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยในตัวแทนครัวเรือน จำนวน 400 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม (multinomial logistic regression) ส่วนวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ในการให้สัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและยืนยันรูปแบบ การพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่าย ด้วยกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม SWOT Analysis การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และยืนยันรูปแบบด้วยเทคนิคเวทีประชาคม (Civil Society Forum) ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (DelPhi Technique) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 69.94 จำแนกเป็นศักยภาพด้านการจัดการขยะทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.75 ศักยภาพด้านการจัดการขยะรีไซเคิลอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.25 ศักยภาพด้านการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.00 และศักยภาพด้านการจัดการขยะติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.75 โดยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 86.75 (x̅ = 3.86, S.D.= 0.73) มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่าย อยู่ในระดับ ระดับต่ำ ร้อยละ 76.94 (x̅ = 3.77, S.D.= 0.81) และศักยภาพในการจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับ ระดับปานกลาง ร้อยละ 69.94 (x̅ = 3.70, S.D.= 0.91) ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่าย จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรทัศนคติ (B = 1.784), ตัวแปรด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (B = 1.523) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งรูปแบบการพัฒนาศักยภาพจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่ายที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนแม่สอดมี 11 กิจกรรม ตามบริบทชุมชนที่ประกอบด้วย พหุเชื้อชาติได้แก่ ไทย เมียรมาร์ อังกฤษ พหุวัฒนธรรม ได้แก่ ม้ง กะเหรี่ยง ลีซอ และมูเซอ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายร่วมกับ นายจ้าง แรงงานต่างด้าว นักธุรกิจการค้าขาย และนักท่องเที่ยว ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นในระดับมากและมากที่สุดต่อรูปแบบทั้ง 11 กิจกรรม ดังนั้น รูปแบบนี้จึงสามารถนำไปใช้พัฒนาศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อไป |
Description: | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5163 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62030371.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.