Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5154
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายระดับติดเตียง จังหวัดสุโขทัย
Factors affecting the stress among caregivers of people with severe mobility or physical disability, Sukhothai Province
Authors: PISIT CHUENJANG
พิศิษฐ์ ชื่นแจ้ง
Orawan Keeratisiroj
อรวรรณ กีรติสิโรจน์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: ความเครียด
คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
ผู้ดูแล
stress
people with mobility or physical disability
caregivers
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This cross-sectional study aims to study stress and factors that affect the stress of caregivers of people with severe mobility or physical disability in Sukhothai Province.  The sample consisted of 262 caregivers. Data were collected using the interview included a self-awareness, relationship between a disabled person and a caregiver, social support, care relatives' care burden, beliefs about sin, and caregiver stress, which has reliability values of more than 0.80. Data were analyzed by frequency, percentage, average, standard deviation, and multiple linear regression analysis.  The results showed that caregivers of people with mobility or physical disability had moderate stress scores (x̄ = 71.54  SD = 17.99) and factors affecting the stress of caregivers with mobility or physical disability included age of people with disability (Beta = 0.258, p<0.001), confidence in care (Beta = -0.293, p<0.001), having a spouse as a caregiver (Beta = 0.141, p-value = 0.018), Disability's daily routine ability score (Beta = -0.144, p-value = 0.010), Employed caregivers  (Beta = 0.143, p-value = 0.016) and beliefs about sin (Beta = -0.131, p-value = 0.018). The results of this study can be used as a way to plan for promoting and developing people with disabilities.
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายระดับติดเตียง ในจังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแล จำนวน 262 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์การรับรู้สมรรถนะตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคนพิการกับผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม ภาระการดูแลของญาติผู้ดูแล ความเชื่อเกี่ยวกับบาปบุญ และความเครียดของผู้ดูแล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวระดับติดเตียงมีคะแนนความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 71.54 SD = 17.99) และปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ได้แก่ อายุของคนพิการ (Beta = 0.258, p<0.001) ความเชื่อมั่นในการดูแล (Beta = -0.293, p<0.001) การมีคู่สมรสเป็นผู้ดูแล (Beta = 0.141, p-value = 0.018) คะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของคนพิการ (Beta = -0.144, p-value = 0.010) การมีงานทำของผู้ดูแล (Beta = 0.143, p-value = 0.016) และความเชื่อเกี่ยวกับบาปบุญ (Beta = -0.131, p-value = 0.018) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ดูแลคนพิการ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5154
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60061940.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.