Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5151
Title: รูปแบบการเตรียมความพร้อมสตรีวัยทองสู่ผู้สูงอายุสุขภาวะ
THE PREPARATION MODEL FOR MENOPAUSAL WOMEN TOWARD HEALTHY AGING
Authors: MUJJALIN PANGSIRI
มุจลินท์ แปงศิริ
Civilaiz Wanaratwichit
ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: สตรีวัยทอง
ผู้สูงอายุสุขภาวะ
รูปแบบการเตรียมความพร้อม
Menopausal Women
Healthy Aging
The Preparation Model
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This advanced mixed method research design with explanatory sequential design aimed to develop the preparation model for menopausal women toward healthy aging. There were 3 phases of research process as follows: 1) The preparation behavior and the behavioral factors related to preparation 2) The perspectives on factors affecting preparation behavior and 3) The preparation model development for menopausal women toward healthy aging. The results revealed the preparation behavior at the mid-level with the behavioral factors related to preparation were family support, self-efficacy, attitudes for aging, community support, income, medical and public health services, marital status as widowed or abandoned, and leadership roles. The preparation model for menopausal women toward healthy aging consisted of 5 components as follows: Knowledge and experience, related to the elderly, medical and public health support, the readiness women club, the community support and the policy support by the district quality of life development committee. The model had been evaluated by connoisseur as be appropriate and practical possibilities. The model should be applied and integrated into health promotion and health service systems for menopausal and applied in pre-aging people in areas and other areas appropriately.
การวิจัยเชิงผสมผสานขั้นสูง แบบอธิบายตามลำดับครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมสตรีวัยทองสู่ผู้สูงอายุสุขภาวะ แบ่งระยะการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามกระบวนการวิจัย ได้แก่ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสตรีวัยทองสู่ผู้สูงอายุสุขภาวะ 2) ศึกษามุมมองต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสตรีวัยทองสู่ผู้สูงอายุสุขภาวะ และ 3) พัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมสตรีวัยทองสู่ผู้สูงอายุสุขภาวะ ผลการวิจัย พบว่า สตรีวัยทองมีการปฏิบัติพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสตรีวัยทองสู่การเป็นผู้สูงอายุสุขภาวะทุกด้านรวมในระดับปานกลาง  โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมของสตรีวัยทอง ได้แก่ แรงสนับสนุนทางครอบครัว การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ แรงสนับสนุนทางชุมชน รายได้ ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สถานภาพ (หม้าย/ร้าง) และบทบาทผู้นำสตรี ทั้งนี้รูปแบบการเตรียมความพร้อมสตรีวัยทองสู่ผู้สูงอายุสุขภาวะ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุ การสนับสนุนด้านการแพทย์และสาธารณสุข  การจัดตั้งชมรมสตรีเตรียมพร้อมสู่สูงอายุ การสนับสนุนจากชุมชน และการสนับสนุนด้านนโยบาย  ซึ่งได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รูปแบบนี้สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อบูรณาการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพของสตรีวัยทอง และประยุกต์ในวัยก่อนสูงอายุ ในพื้นที่ และพื้นที่อื่น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5151
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60030953.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.