Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5008
Title: | ภาวะหมดไฟและข้อเสนอแนะในการป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช: การศึกษาเชิงผสมผสาน Burnout and Recommendation to Prevent Burnout among Obstetrics and Gynecology Residents and Fellows in Bhumibol Adulyadej Hospital: A Mixed-Method Study |
Authors: | WIYADA LUANGDANSAKUL วิยะดา เหลืองด่านสกุล Yuthapong Buddharaksa ยุทธพงศ์ พุทธรักษา Naresuan University. Faculty of Medicine |
Keywords: | ภาวะหมดไฟในการทำงาน สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด การศึกษาเชิงผสมผสาน Burnout Obstetric and gynecology Residency and fellowship Mixed-method study |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Introduction: Burnout symptoms (BS) and overall weariness levels are higher in residents. Prevalence of BS in Obstetrics and Gynecology (OB-GYN) residents was varied between 58-83 %. But there was no previous reporting on the prevalence of BS in Thai OB-GYN residents and fellowships. Objectives: To assess the prevalence of BS, contributing factors, protective factors and suggestions for lowering BS. Materials and Methods: We performed a mixed-method study included surveys and semi-structured individual interviews in OB-GYN residents and Fellowships at Bhumibol Adulyadej Hospital, who were willing to participate in the study, between December 2021 and March 2022. The Thai version of the Maslach Burnout Inventory-Human Services Survey (MBI-HSS) was used to assess burnout. Based on review of the literatures, semi-structured interviews were undertaken. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation, median, interquartile length and inferential statistics; Fisher’s exact test, student t-test and Mann-Whiney U test. The qualitative data were analyzed using a content analysis approach. Results: A total of 19 participants were surveyed replies and interviewed. Overall prevalence of OB-GYN residents and fellowships-BS was 63.2% (high emotional exhaustion (EE) or high depersonalization (DP)). Proportion of participants with domain of high EE, high DP, and low personal accomplishment were 57.9%, 15.8%, and 47.4%, respectively. Significant contributing factors were age, training program, level of resident, institutes that have graduated medical studies, problems with late payments or outstanding payments, years of practice, satisfaction in the medical profession, extra work hours, the number of patients attended in-patient department, surgical procedures, hours for sleeping, and examinations. In addition, the thematic analysis revealed fourteen themes for factors contributing to BS included high workload and work-life balance, the education system and examination, research, paperwork and electronic system, cultural Values of Medicine, expectations of self and others, workload on education, regulations of hospitals, divisions, and compensation, relationship between self-care and patient, workplace equipment and environment, role of the family, transitioning from internship to residency, patient with complications, and work during the COVID-19 pandemic. Four protective factors for BS reduction included peer and family support, self-valued, support and protection from physician mentors and working rotation schedule. Five suggestions for BS reduction included need free time, entertainment activities, trips, counseling program and exercise. Conclusions: Prevalence of BS in OB-GYN residents and fellowships was 63.2%. Factors contributing to BS may predict the condition, and suggestions to help develop guidelines for BS prevention and care.
บทนำ: ภาวะหมดไฟในการทำงานและความเหนื่อยล้าโดยรวมพบระดับสูงในแพทย์ประจำบ้าน พบภาวะหมดไฟในการทำงานในแพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ร้อยละ 58-83 ไม่พบรายงานของภาวะหมดไฟในการทำงานในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของภาวะหมดไฟในการทำงาน ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยป้องกัน และข้อเสนอแนะเพื่อลดภาวะหมดไฟในการทำงาน วัสดุและวิธีการ: การศึกษาเชิงผสมผสานประกอบด้วยการสำรวจและการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างรายบุคคล ในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งยินยอมเข้าร่วมการศึกษา ในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบทดสอบภาวะหมดไฟใช้ Maslach Burnout Inventory-Human Services Survey (MBI-HSS) ฉบับภาษาไทย และคำถามกึ่งโครงสร้างได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณา: ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยคลอไทล์ (Interquartile range) และสถิติเชิงอนุมาน: Fisher's exact test, Student t-test และ Mann-Whiney U test. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา: ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ ทั้งหมด 19 คน พบภาวะหมดไฟในการทำงานในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ร้อยละ 63.2 (ความอ่อนล้าทางอารมณ์ระดับสูงหรือลดความเป็นบุคคลระดับสูง) สัดส่วนรายด้านของภาวะหมดไฟในการทำงาน ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ระดับสูง ด้านลดความเป็นบุคคลระดับสูง และด้านลดความสำเร็จส่วนบุคคลระดับต่ำ ร้อยละ 57.9, 15.8 และ 47.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติคือ อายุ โปรแกรมการฝึกอบรม ระดับชั้นปีของแพทย์ประจำบ้าน สถาบันที่จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต ปัญหาค่าตอบแทนล่าช้า หรือค้างจ่าย ปีที่ปฎิบัติงาน ความพึงพอใจในวิชาชีพ ชั่วโมงการทำงานนอกเวลา จำนวนผู้ป่วยใน จำนวนผู้ป่วยผ่าตัด ชั่วโมงการนอน และการสอบ เมื่อทำการวิเคราะห์แก่นสาระของข้อมูลเชิงคุณภาพพบ 14 ประเด็นที่เป็นปัจจัยการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้แก่ ภาระงานมาก ขาดความสมดุลระหว่างงานและชีวิต ระบบการเรียนการสอนและการสอบ การทำวิจัย งานเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ วัฒนธรรมองค์กร ความคาดหวังของตนเองและผู้อื่น ภาระการเรียน กฎระเบียบโรงพยาบาล กอง และค่าตอบแทน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้ป่วย อุปกรณ์และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน บทบาทในครอบครัว การเปลี่ยนจากแพทย์ใช้ทุนเป็นแพทย์ประจำบ้าน ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน และช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ปัจจัยป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานมี 4 ประเด็น ได้แก่ การสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัว คุณค่าในตนเอง การสนับสนุนและการปกป้องจากอาจารย์ และการจัดตารางหมุนเวียนการปฏิบัติงาน ข้อแนะนำในการลดการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานมี 5 ประเด็น ได้แก่ ต้องการเวลาว่าง การทำกิจกรรมบันเทิง การท่องเที่ยว ระบบการให้คำปรึกษา และการออกกำลังกาย สรุป: ความชุกของภาวะหมดไฟในการทำงานในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ร้อยละ 63.2 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานสามารถทำนายถึงของภาวะนี้ และข้อแนะนำเป็นข้อควรพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบในการป้องกันและดูแลภาวะหมดไฟในการทำงาน |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5008 |
Appears in Collections: | คณะแพทยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63063743.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.