Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4464
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อในครัวเรือน ของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ภายในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก The Effects of health promotion programs on the application of theories of health beliefs to household waste collection behavior. Of those who care for the patient with a bed in Bang Rakom District , Phitsanulok Province |
Authors: | THIDANAI CHAOPA ธีร์ดนัย ชาวป่า Sarunya Thiphom สรัญญา ถี่ป้อม Naresuan University. Faculty of Public Health |
Keywords: | แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ขยะติดเชื้อ, การคัดแยกขยะติดเชื้อ, พฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อ Health Belief Model Infectious waste Infectious waste sorting Infectious waste sorting behavior |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research was quasi-experimental research, which was conducted through Two Group Pretest-Posttest Design to investigate the experimental group and the control group. The objective of this research was to examine the effects of health promotion programs by applying health belief model on household infectious waste sorting behavior of 60 bedridden patient caregivers in Buengkok Sub-district, Bang Rakom District , Phitsanulok Province. The training was organized for educating the experimental group about health promotion program and brainstorming was conducted to determine ways for infectious waste sorting. A questionnaire was used as a research instrument to collect data from the experimental group (n=30) and the control group (n=30). Data were analyzed using descriptive statistics, including Paired T-Test and Independent T-Test with a 95% confidence level.
The major findings indicated that the majority of the experimental group ( 76.70%) and the control group (70.00 %) were female. The majority of the experimental group ( 46.70 %) were between 41-50 years old, and the majority of the control group ( 60.00 %) were between 41-50 years old. The highest educational level, the majority of the experimental group (43.30 %)and the control group (36.70 %) gradated with a lower secondary education level. The majority of the experimental group ( 40.00 %) were farmers. The majority of the control group ( 30.0%) were housewives/housekeepers. The majority of the experimental group (56.70 %) lived in the community for more than 40 years and the majority of the control group (46.70%) lived in the community between 20-40 years. The majority of the experimental group ( 56.70%) and the control group ( 43.30 %) earned the average monthly income between 10,001 - 20,000 baht. The majority (56.70 %) of the experimental group and the control group had 1 - 3 household members. The majority of the experimental group (70.0%) exposed to information about infectious waste and the source of information was through online/internet media (33.34 %). The majority of the control group (83.30%) exposed to information about infectious waste and the source of information was through online/internet media (36.00 %). After participating in the project, a mean score on infectious waste separation behavior of the experimental group increased with a statistical significance (P-value < 0.0001). The findings implied that the health promotion program by applying health belief model theory could increase knowledge, perceived severity, perceived susceptibility, perceived benefits, perceived barriers and household infectious waste separation behavior. Therefore, the foresaid principles could be applied appropriately by relevant agencies in each area to reduce the amount of infectious waste contaminated with other types of waste and reduce the impact on the health of people, communities and the environment. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research design) โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental group) และกลุ่มควบคุม (Control group)ทำการวัดก่อนและวัดหลังการทดลอง (Two group Pretest-Posttest Design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อในครัวเรือน ของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ภายในตำบลบึงกอก จำนวน 60 คน โดยจัดการอบรมให้กลุ่มทดลองเพื่อให้ความรู้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ระดมความคิดหาวิธีการคัดแยกขยะติดเชื้อในครัวเรือน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 30 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แก่กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired T – Test และ Independent T-Test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 76.70 และ 70.00 ตามลำดับ ด้านอายุในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ร้อยละ 46.70 มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี และในกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ร้อยละ 60.00 มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี ด้านระดับการศึกษาสูงสุดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 43.30 และ 36.70 ตามลำดับ ด้านอาชีพกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ร้อยละ 40.00 ประกอบอาชีพเกษตรกร กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ร้อยละ 30.00 ประกอบอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน สำหรับระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ร้อยละ 56.70 อาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่า 40 ปี ในกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชน 20 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.70 สำหรับรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.70 และ 43.30 ตามลำดับ ด้านจำนวนสมาชิกในครัวเรือนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1 – 3 คน คิดเป็นร้อยละ 56.70 ทั้งสองกลุ่ม การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขยะติดเชื้อ พบว่า กลุ่มทดลองที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขยะติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 70.00 และได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อออนไลน์/อินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 33.34 ส่วนกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขยะติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 83.30 และได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อออนไลน์/อินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 36.00 ในส่วนของพฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อ พบว่า กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะติดเชื้อ เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.0001) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสามารถเพิ่มความรู้ การรับรู้ทั้ง 4 ด้าน และพฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อในครัวเรือน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำหลักการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่เพื่อลดปริมาณการปนเปื้อนขยะติดเชื้อไปกับขยะประเภทอื่น และลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้ |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4464 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61061161.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.