Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3919
Title: อุดมการณ์ในหนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Ideologies in Junior High Schools’ English Language Textbooks
Authors: AIYADA KLINAON
ไอยดา กลิ่นอ้น
Chommanad Intajamornrak
ชมนาด อินทจามรรักษ์
Naresuan University. Faculty of Humanities
Keywords: หนังสือเรียน อุดมการณ์ กลวิธีทางภาษา วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Textbook Ideology Linguistic Strategy Critical Discourse Analysis
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This thesis aims to study ideologies constructed and linguistic strategies used in junior high schools’ English language textbooks in Thailand. By adopting the framework of Fairclough’s Critical Discourse Analysis, the finding shows that there are 4 ideologies repeatedly presented in all textbooks. Those are an ideology related to children and teenagers, an ideology related to men and women, an ideology related to native English speakers, and an ideology related to schools and students. The finding also shows that there are 9 ideologies presented in some textbooks such as an ideology related to environmental conservation, an ideology related to the rich and the poor, an ideology related to people with disabilities, and etc. There are 8 linguistic strategies used to convey those ideologies which are lexical selection, the use of modality, the use of connectors indicating conflicts, the use of sentence structures, referencing, presupposition, multi-voicedness, and rhetorical strategies. The analysis of discourse practice indicates that the production process of textbooks in Thailand is dominated by the government. Moreover, the text with some ideas is transferred to students by teachers who are highly respected in Thai society. The textbook discourse is then interpreted as correct and appropriate knowledge for children. The ideologies constructed in the textbooks; consequently, extensively influences the society. As for socio-cultural practice, the ideologies presented in the textbooks are influenced by Thai society’s values, including the value of patriarchy, the value of seniority, the value of using native-like English, which is not related to the latest government’s educational policies. Conversely, these ideologies influence the way Thai people think about a certain thing in the society, especially, the construction of a desirable child, man and woman, as well as the representation of ideal people and conditions. In conclusion, this study affirms that textbook discourse reproduces ideologies from the dominant group in order to prepare children to be good and obedient members for the society.
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์และกลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์ในหนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้ในประเทศไทย โดยใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995) เป็นกรอบการศึกษาหลักในการวิเคราะห์ตัวบท วิถีปฏิบัติทางวาทกรรม และวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบอุดมการณ์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนทุกเล่ม 4 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์ความเป็นเด็กและวัยรุ่น อุดมการณ์ความเป็นชาย-หญิง อุดมการณ์เกี่ยวกับเจ้าของภาษา และอุดมการณ์เกี่ยวกับโรงเรียนและนักเรียน และพบอุดมการณ์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนบางเล่ม 9 อุดมการณ์ เช่น อุดมการณ์รักษ์โลก อุดมการณ์ความรวยจน อุดมการณ์คนพิการ เป็นต้น อุดมการณ์ดังกล่าวถูกสื่อผ่านกลวิธีทางภาษาทั้งสิ้น 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำศัพท์ การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้คำเชื่อมแสดงความขัดแย้ง การใช้โครงสร้างประโยค การอ้างส่วนใหญ่ การใช้สภาวะเกิดก่อน การใช้เสียงที่หลากหลาย และการใช้กลวิธีทางวาทศิลป์ ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่าหนังสือเรียนมีขั้นตอนการผลิตและตรวจประเมินคุณภาพภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐและได้รับการรับรองให้ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้หลักในการจัดการศึกษาของประเทศซึ่งประชาชนทุกคนจำเป็นต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับตามที่รัฐกำหนด  หนังสือเรียนจึงเป็นวาทกรรมที่มีสถาบันรับรองและได้รับการตีความในฐานะของความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งมีครูผู้ซึ่งสังคมไทยให้ความเคารพนับถือเป็นผู้ถ่ายทอดสู่นักเรียน อุดมการณ์ที่แฝงอยู่ในหนังสือเรียนจึงส่งผลต่อสังคมได้ในวงกว้าง ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่าการสื่ออุดมการณ์ผ่านหนังสือเรียนได้รับอิทธิพลจากค่านิยมในสังคมไทยหลายประการ ได้แก่ ค่านิยมชายเป็นใหญ่ ค่านิยมความมีอาวุโส และค่านิยมการใช้ภาษาอังกฤษแบบเจ้าของภาษาซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2557 ในขณะเดียวกันอุดมการณ์ที่สื่อผ่านหนังสือเรียนก็ส่งผลต่อระบบความคิดความเชื่อของผู้อ่านรวมถึงสังคมไทยด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการประกอบสร้างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่พึงประสงค์ไปสู่ผู้อ่าน และการประกอบสร้างภาพมายาคติของบุคคลหรือสิ่งอื่น ๆ ในสังคมตามที่หนังสือเรียนต้องการนำเสนอไปสู่ผู้อ่านด้วย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวาทกรรมหนังสือเรียนผลิตซ้ำอุดมการณ์ที่รัฐเห็นว่าสำคัญไปสู่ผู้อ่านที่เป็นเด็กเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมซึ่งเอื้อต่อการควบคุมดูแลโดยรัฐต่อไป
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3919
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61062700.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.