Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3916
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานเมล่อนในประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์โซ่คุณค่า: กรณีศึกษาจังหวัดพิจิตร
Improvement of Melon Supply Chain Management Efficiency  in Thailand using Value Chain Analysis: A Case Study of Phichit Province
Authors: MANLIKA SEEFONG
มัลลิกา สีฟอง
Sirikarn Chansombat
ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ
Naresuan University. Faclty of Logistics and Digital Supply Chain
Keywords: เมล่อน
โซ่คุณค่า
SWOT
TOWS Matrix
การวิเคราะห์โซ่อุปทาน
การวิเคราะห์ต้นทุน
จังหวัดพิจิตร
Melon
Value Chain
SWOT
TOWS Matrix
Supply Chain Analysis
Cost Analysis
Phichit province
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to analyze the value chain of melon. The area for investigating is Nong Pong village, Phichit province. An in-depth interview and field exploration were proposed to investigate the overall value chain of melon in Phichit province. The obtained data were analyzed using descriptive analysis approach which based on the value chain concept. This study applied SWOT and TOWS Matrix to analysis the melon value chain. Moreover, 7 wastes and the ECRS waste reduction concept were used to define activities in the melon supply chain. The cost analysis was proposed to analyze the operational costs of melon growers. The results and findings have shown that the appropriate strategies for grower operation in value chain analysis are 1) SO strategy by enhancing the potential, increasing the sales channel, and upgrading the product value, 2) WO strategy by empowering the growers, improving the operation management and increasing the skill of growers, 3) WT strategy by making a relationship and 4) ST strategy by upgrading the new technologies for managing in any process. The cost analysis of improved melon supply chain revealed that it can increase the profitability from 24,583 THB per Rai to 79,567.09 THB per Rai or 2,083,001.80 THB per year. The growers achieved the highest percentage improvement 323.67%.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โซ่คุณค่าของเมล่อน โดยพื้นที่ใช้เป็นกรณีศึกษา คือ หมู่บ้านหนองพงษ์ จังหวัดพิจิตร เพื่อศึกษาภาพรวมของโซ่อุปทานเมล่อนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยมีพื้นฐานของการวิเคราะห์ตามแนวคิดโซ่คุณค่า ในงานวิจัยนี้ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ SWOT TOWS Matrix ทำการวิเคราะห์โดยคำนึงถึงความสูญเปล่า 7 ประการ และแนวคิดการลดความสูญเปล่า ECRS รวมถึงมีการวิเคราะห์ต้นทุนในการดำเนินงานของเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อน ด้วยผลลัพธ์และการค้นพบแสดงให้เห็นถึงกรอบแนวคิดของโซ่อุปทานเมล่อนสำหรับการวิเคราะห์โซ่คุณค่าที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกร รวมถึงกลยุทธ์ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินการปลูก ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์เชิงรุก ด้วยการเพิ่มศักยภาพในการผลิตการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนรวมถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มทักษะ 3) กลยุทธ์เชิงรับ ด้วยการสร้างพันธมิตรหรือเครือข่ายความร่วมมือ และ 4) กลยุทธ์เชิงป้องกัน ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการจัดการกระบวนการทำงาน สำหรับผลลัพธ์การวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้รับจากโซ่อุปทานแบบปรับปรุงสามารถเพิ่มกำไรให้กับเกษตรกรจากเดิมได้กำไร 24,583 บาทต่อไร่ เป็น 79,567.09 บาทต่อไร่ หรือคิดเป็น 323.67 เปอร์เซ็นต์ และจากการคำนวณกำไรต่อปีของเกษตรกรหมู่บ้านหนองพงษ์พบว่าเกษตรกรได้รับกำไรอยู่ที่ 2,083,001.80 บาทต่อปี
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3916
Appears in Collections:คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62063119.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.