Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3909
Title: | การศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดไทยในงานสร้างเสริมสุขภาพ A Study of Knowledge, Attitude and Practice of Thai Physical Therapists in Health Promotion |
Authors: | LALITA PROMPAN ลลิตา พรหมปั้น Panada Taechasubamorn ปนดา เตชทรัพย์อมร Naresuan University. Faculty of Allied Health Sciences |
Keywords: | นักกายภาพบำบัด การสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ และ การปฏิติงาน Physical Therapy Health Promotion Knowledge Attitude and Practice |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to evaluate knowledge, attitude and practices of Thai physical therapists in health promotion. The samples of 444 physical therapists working in public hospitals throughout 12 Thai health service regions except Bangkok were invited to participate this study, and there were 389 (87.61%) physical therapists completing online questionnaires. The results showed that majority of physical therapists had knowledge, attitude and practices level as good, excellent and poor respectively. The physical therapists graduated with master or doctorate degree had higher knowledge and attitude scores than bachelor degree. The physical therapists who attended health promotion training had higher attitude and practice scores than those who did not. Knowledge had significantly negative relationship with practice (rs= -0.11, p<0.05) and attitude had significantly positive relationship with practice (rs= 0.286, p<0.05). The barriers in health promotion practice were inadequate for workforces, lack of health promotion knowledge and no health promotion indicators for physical therapists. Summary, physical therapists have adequate knowledge and good attitude toward health promotion, however practice are rare. Attitude has relationship with health promotion practice. The result of this study suggested that Ministry of public health, National health security office and Thai physical therapy council should promote physical therapists for increased practicing in health promotion. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักกายภาพบำบัดไทย โดยการสำรวจความคิดเห็นของนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐในเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จำนวน 444 คน มีผู้ตอบกลับแบบสอบถามออนไลน์ทั้งสิ้น 389 คน คิดเป็นร้อยละ 87.61 ผลการศึกษาพบว่านักกายภาพบำบัดส่วนมากมีระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ดีมาก และ น้อย ตามลำดับ นักกายภาพบำบัดที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมีความรู้และทัศนคติสูงกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ที่เคยอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับหลักการสร้างเสริมสุขภาพมีทัศนคติและการปฏิบัติสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมอบรม ความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำมากต่อการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญ (rs= -0.11, p<0.05) และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมากต่อการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญ (rs= 0.286, p< 0.05) อุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพ คือ การขาดอัตรากำลัง ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และตัวชี้วัดผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยสรุปนักกายภาพบำบัดไทยมีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ แต่การปฏิบัติงานน้อย ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภากายภาพบำบัดควรส่งเสริมนักกายภาพบำบัดได้ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3909 |
Appears in Collections: | คณะสหเวชศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59062900.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.