Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3905
Title: | การประยุกต์ใช้ฐานเห็ดถั่งเช่าสีทองเพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับสุกรอนุบาล Application of Cordyceps militaris spent mushroom substrate for nursery pig feed supplements |
Authors: | WATCHARIN OMTHONGLANG วัชรินทร์ อ้มทองหลาง Wandee Tartrakoon วันดี ทาตระกูล Naresuan University. Faculty of Agriculture,Natural Resources and Environment |
Keywords: | ฐานเห็ดถั่งเช่าสีทอง สมรรถภาพการเจริญเติบโต สุกรอนุบาล ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน Cordyceps militaris spent mushroom substrate Growth performance Nursery pigs Oxidative stress |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to study the effect of Cordyceps militaris spent mushroom substrate supplementation at different levels of 0.25, 0.50 and 1.00% in nursery pig feed on the growth performance, feed conversion ratio and oxidative stress conditions. Cordyceps militaris spent mushroom substrate (CM-SMS) is a by-product of Cordyceps manufacturing industry. The CM-SMS obtained from cultivating cordyceps mushroom material is derived from the culture medium containing substantial constituents for processing into animal feed. The main substances in CM-SMS are cordycepin and adenosine. Therefore, if the CM-SMS part is researched and produced into a supplement for use in animals. It will add a lot of marketing value. In the first experiment, 40 (Duroc x Large White x Landrace) nursery pigs starting weight at 5.50±0.50 kg and were divided into four experimental groups. Each group contained one pig per replication using a completely randomized design (CRD). Each pig was randomly fed experimental diet as following: 1) control group feed basal diet, which contains soybean meal, broken rice, and corn meal as the main ingredients; 2) to 4) control group fed the basal diet supplemented with CM-SMS at 0.25, 0.50 and 1.00 %, respectively by which CM-SMS was to replace the broken rice in the basal diet. The experimental period lasted for 28 days. The results found that the group-fed diet supplemented with CM-SMS 0.50% had a higher (P<0.05) average daily gain (ADG) than the group-fed diet supplemented with CM-SMS 0.25% in the first two weeks of the trial. There were no significant differences among the treatment group of the pigs (P>0.05) in average daily feed intake (ADFI), feed conversion ratio (FCR), diarrhea incidence, Superoxide Dismutase (SOD) and Glutathione peroxidase (GPx) in pig serum. The results found that the pigs in the CM-SMS supplemented groups tended to increase lymphocytes (P=0.07) in blood plasma. For the second experiment, it was between CM-SMS supplementations (by the same levels used the first experiment) compared with Heat-kill Lactobacillus plantarum L-137 (HK L-137) and CM-SMS+HK l-137. The amount of CM-SMS used in the experiment at the level resulted from the first study. The experimental design also followed the first experiment’s at which the total of 40 (Duroc x Large White x Landrace) pigs at starting weight at 6.64±0.5 kg were divided in to four groups with the feeds of the experimental diets as follows: 1) control group was fed basal diet, which contains soybean meal, broken rice, and corn meal as the main ingredients; 2) to 4) control group fed the basal diet supplemented with 0.50% CM-SMS, 0.02% HK L-137 and 0.50% CM-SMS+0.02% HK L-137, respectively by which CM-SMS was to replace the broken rice and HK L-137 to replace the corn meal in the basal diet. This experiment period lasted for 42 days. The result found no significance among the treatment groups (P>0.05) on ADG, ADFI, Immunoglobulin in blood plasma (IgA, IgG, and IgM). However, some pigs with only the 0.50% CM-SMS supplementation had the best FCR at 5-6 weeks of the experimental period. Whereas Monocyte of blood serum of the pigs in the diet supplemented with only HK L-137 were lower than other groups (P<0.05) instead. The supplementation of CM-SMS, HK L-137, CM-SMS+ HK L-137 all resulted in increasing the serum SOD enzyme levels (P< 0.05) compared to the control. Therefore, CM-SMS and HK L-137 could be the potential supplements in the nursery pig feed. การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเสริมฐานเห็ดถั่งเช่าสีทองในอาหารสุกรในระดับต่างๆ ได้แก่ 0.25, 0.50 และ 1.00% ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว รวมทั้งสภาวะความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในสุกร ฐานถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris spent mushroom substrate; CM-SMS) เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตถั่งเช่า ซึ่งใน CM-SMS ที่ได้จากเพาะเห็ดถั่งเช่านี้มาจากการเพาะเห็ดถั่งเช่าบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีองค์ประกอบของสารสำคัญในการนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่ใช้ในสัตว์ได้ โดยมีสารสำคัญใน CM-SMS คือ คอร์เดเซปิน (Cordycepin) และอะดีโนซิน (Adenosine) ซึ่ง CM-SMS ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเท่ากับดอกเห็ดถั่งเช่าสีทอง ดังนั้นหากนำส่วน CM-SMS มาทำการวิจัยและผลิตในรูปแบบอาหารเสริมที่ใช้ในสัตว์แล้ว จะเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดได้ โดยการศึกษาที่ 1 ทำการศึกษาการใช้ประโยชน์ของ CM-SMS ในรูปผง ในระดับการใช้ 0.25, 0.50 และ 1.00 % ในอาหาร ทดลองในสุกรอนุบาลพันธุ์ลูกผสม (ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ x ดูรอค) จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเริ่มต้น 5.50±0.50 กิโลกรัม สุ่มสุกรแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ เลี้ยงสุกรเป็นระยะเวลา 28 วัน แบ่งกลุ่มการทดลอง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มควบคุมสุกรได้รับอาหารฐาน ใช้แหล่งวัตถุดิบอาหารหลัก คือ ปลายข้าว ข้าวโพด กากถั่วเหลือง เป็นหลัก กลุ่มที่ 2-4 สุกรได้รับอาหารฐาน เสริม CM-SMS 0.25, 0.50 และ 1.00 % ในอาหาร โดยนำ CM-SMS ทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารฐาน ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่เสริม CM-SMS 0.50% ในอาหารส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโต (Average Daily Gain; ADG) ที่ดีกว่ากลุ่มที่เสริม CM-SMS 0.25% (P<0.05) ในช่วงสองสัปดาห์แรกของการทดลอง โดยไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) กับกลุ่มทดลองอื่น รวมทั้งไม่พบความแตกต่างสถิติ (P>0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง ด้านปริมาณการกินอาหารเฉลี่ยต่อวัน (Average Daily Feed Intake; ADFI) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (Feed conversion ratio; FCR) อัตราการเกิดท้องเสีย ค่าเอนไซม์ Superoxide Dismutase (SOD) และ Glutathione peroxidase (GPx) แต่พบว่ากลุ่มที่มีการเสริม CM-SMS มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (P=0.07) สำหรับการศึกษาที่ 2 การศึกษาการเสริม CM-SMS เปรียบเทียบกับ Heat-kill Lactobacillus plantarum L-137 (HK L-137) และการเสริมร่วมกันของ CM-SMS และ HK L-137 ในอาหารสุกรอนุบาล โดยปริมาณ CM-SMS ที่ใช้ในระดับการใช้ที่ได้ผลจากการศึกษาที่ 1 โดย สัตว์ทดลอง การจัดกลุ่มทดลอง จำนวนซ้ำ การวางแผนการทดลอง เช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 ทดสอบในสุกรอนุบาลลูกผสม (ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ x ดูรอค) จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเริ่มต้น 6.64±0.5 กิโลกรัม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมสุกรได้รับอาหารฐาน ใช้แหล่งวัตถุดิบอาหารหลัก คือ ปลายข้าว ข้าวโพด กากถั่วเหลือง เป็นหลัก กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารฐานผสม 0.50% CM-SMS กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารฐานผสม 0.02% HK L-137 และกลุ่มที่ 4 ได้รับอาหารฐานผสม 0.050% CM-SMS + 0.02% HK L-137 โดยเสริม CM-SMS ทดแทนปลายข้าว และ HK K-137 ทดแทนข้าวโพด ในสูตรอาหารฐาน ทดลองเป็นระยะเวลา 42 วัน ผลการศึกษาพบว่า ไม่พบความแตกต่างสถิติ (P>0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง ด้าน ADG และ ADFI และปริมาณ Immunoglobulin (Ig) ทั้งสามชนิด (IgA, IgG และ IgM) ในพลาสมาของสุกร แต่พบว่าสุกรกลุ่มที่มีการเสริม CM-SMS 0.50% เพียงอย่างเดียว มีค่า FCR ดีที่สุด ในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 ของการทดลอง (P<0.05) แต่การเสริม HK L-137 0.02% ในอาหารเพียงอย่างเดียวทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Monocyte ของสุกรต่ำกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งการเสริม CM-SMS, HK L-137 และการเสริม CM-SMS และ HK L-137 ร่วมกัน ในอาหารสุกรอนุบาล ทำให้ระปริมาณเอนไซม์ SOD ในเลือดสูงขึ้น (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลการศึกษาทั้งสองการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่า ทั้ง CM-SMS และ HK L-137 สามารถเป็นสารเสริมที่มีศักยภาพใช้ในอาหารสุกรอนุบาลได้ |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3905 |
Appears in Collections: | คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62062686.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.