Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3901
Title: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสุกรหย่านมจากสไปรูลิน่าหมัก
Feed Supplement Products for Immunomodulation in Weaning pigs from Fermented Spirulina
Authors: ADISAK KONGKEAW
อดิศักดิ์ คงแก้ว
Wandee Tartrakoon
วันดี ทาตระกูล
Naresuan University. Faculty of Agriculture,Natural Resources and Environment
Keywords: สไปรูลิน่าหมัก สัณฐานวิทยาลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกัน สุกรหย่านม
Fermented spirulina Intestinal morphology Immune system Weaning pig
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: Many factors currently contribute to changes in farming and management, such as emerging diseases, meaning the importance of choosing to consume pork without antibiotic residues has increased. Therefore, spirulina is an interesting alternative, used as a supplement in pig feed. However, the cost factor and spirulina cell wall thickness, which consists of a group of fibers, make it in un-suitable for supplementing feeds intended for young pigs. The fermentation process for spirulina is an alternative to increasing the potential of spirulina. Therefore, this study aimed to study the low-cost cultivation of spirulina. The process of fermenting spirulina with an appropriate microorganism may be suitable for nutritional enrichment to be a prototype for fermented spirulina (FSP) production as feed supplements for weaned pigs. The trial was divided into three parts. The first experiment strived to cultivate spirulina using organic matter from pig farm wastewater in three sources including center tank ponds, bio-gas ponds, and oxidation ponds. They were replaced in Zarrouk Medium at ratios of 0, 40, 60, and 80 percent using Complete Randomized Design (CRD) to assess algae growth rate, bioactive substances, and chemical composition. After that, the spirulina was cultured in a standard, medium-sized production unit, and then cultured according to the suitable conditions. The spirulina obtained from the first experiment was used in the second experiment, which designed the 4 X 4 factorial experiments. Spirulina was fermented with Lactobacillus plantarum TISTR 2075 with the first factor being the quantity of L. plantarum TISTR 2075 of 0, 2, 3, and 4% per spirulina volume and solvent. The second factor was the duration for fermentation, which lasted for 0, 36, 48 and 72 hours. The optimal ratios for fermentation efficiency, chemical composition, biological compounds, and antioxidant activity were evaluated. It was also simulated as a medium-sized production unit in order to be a prototype for industrial fermentation spirulina. In the third experiment, a total of 48 (Duroc x Large White x Landrace) pigs were weaned at 21±0.5 days of age and divided into six experimental groups, Each group contained one pig per replication as follows: 1) control group (CON) fed basal diet; 2) control group fed the basal diet supplemented with an antibiotic (CAN); 3) to 6) experimental groups fed the basal diet supplemented with 5, 10, 15 and 20 g. of FSP per kg of feed, respectively. The growth performance, intestinal morphology, cytokine TNF-α, IL-1β, IL-12p40 gene expression, and the response of these cytokines to FMD and Porcine Circovirus (PCV) vaccine in the tissues of the intestines and spleen of the experimental pigs were evaluated.  As a result of the initial study, 85 percent of the performance was found from the cultivation of spirulina by substituting 80 % of Zarrouk’s Medium with organic matter from the pig farms' biogas ponds. It was evaluated based on changes in pH, optical density (OD), chlorophyll a, carotenoid, phycocyanin, carbohydrate, protein, fat, biomass, and algae culture costs, especially biological compounds and protein, which were the highest compared to other groups. Besides, the lowest cost was found to be only 141.05 Baht per kilogram considering the cost of spirulina cultivation in this group. The produced spirulina contained chemical elements including 51.13 % protein, gross energy 3386 kcal/kg, essential amino acids such as lysine, methionine, threonine, and tryptophan (1151, 1209, 392, and <20 mg per 100 grams respectively), as well as fatty acids containing gamma-linolenic acid, omega-6 and Omega 9 polyunsaturated fatty acids (0.05, 0.15, 146.13 and 29.80 g per 100 grams, respectively)    For spirulina fermentation efficiency in the second experiment, it was found that the survival after 72 hours of fermentation of L. plantarum TISTR 2075was 5.60 log CFU/ml, much more significant than other fermentation periods (P<0.05). Total Phenolic Content (TPC) was more significant than other groups (P<0.05) at a fermentation period of 48-72 hours, regardless of the amount of L. plantarum TISTR 2075 used (P<0.05). Fermentation with  L. plantarum TISTR 2075 for 36, 48 and 72 hours had a higher Antioxidant Potential Capacity (APC) value than the group that started fermentation (P<0.05). The largest APC (P<0.05) was found when using the 4% L. plantarum TISTR 2075 dose. The largest percentages (P<0.05) of chlorophyll a, carotenoid, beta-carotene, polysaccharides, and protein were found at fermentation periods of (36 and 48), (36 and 72), 48, 72, and 48 hours, respectively.  Moreover, L. Plantarum TISTR 2075 used in fermentation 4 and 3-4% contains the highest amounts of carotenoids and polysaccharides (P<0.05). Therefore, it can be concluded that the fermentation of spirulina with 4% L. Plantarum TISTR 2075 for 48-hour fermentation period was the best fermentation condition for the biological and nutritional compounds of fermented spirulina (FSP).  The effects of FSP supplementation at 20 g/kg in weaning pig diet had a negative effect on growth efficiency due to the increase in the group of amino acids with a bitter taste. The effects of feed intake on pigs decreased when supplementing FSP at such levels. FSP supplements 5, 10, and 15 g/kg diet, the growth rate of pigs was no different to CON and CAN group. However, feed efficiency was higher than that of the CAN group (P<0.05).  The supplement of FSP 15 g/kg diet could reduce the incidence of diarrhea in weaned pigs with no difference from the CAN group (22.52 and 19.05 %) (P<0.05). Small intestine morphology showed the lowest duodenal crypt depth (CD) in the group of pigs fed the diet supplemented FSP 15 g/kg and the best of villous height: crypt depth (VH: CD) was found in the group of pigs fed the diet supplemented FSP 10 and 15 g/kg (P<0.05). For the morphological characteristics of jejunum, when the pigs fed a diet supplemented FSP 15 g/kg, it resulted in the VH, VH: CD, Villous wide (VW), and Villous surface area (VSA) with the best values (P<0.05). The lowest CD and the best VH: CD was found in the ileum of the pig fed a diet supplemented with FSP 15 g/kg (P<0.05). Considering the growth performance of pigs, including intestinal morphology, the supplementation of FSP at 10-15 g/kg diet had a positive effect and may be substituted for antibiotics. The results were consistent with the results of the study of cytokines TNF-α, IL-1 β, and IL-12(P40) gene expression compared to Cyclophilin A in the jejunum and spleen tissue using RT-PCR techniques, including assessing the response of those genes to Foot and Mouth Disease and Porcine Circovirus (PCV) vaccines. There was a higher expression of IL-1β from jejunum tissue of the pig fed diet supplemented FSP 10-15 g/kg than the CON (P<0.05). On the other hand, the expression of IL-12(p40) was lower than the CON group (P<0.05). However, it was found from the CAN group to be expressed higher than the CON group (P<0.05). As well the expression of the TNF-α of the pig in CAN group was higher than the CON group (P<0.05). As for expression in the spleen tissue of pigs, the group supplemented FSP 5, 15 and 20 g/kg in the diet had higher IL-1β gene expression than the CON group (P<0.05), Including the expression of the TNF-α of CAN pigs, which was higher than the CON group (P<0.05). The expression of the gene IL-12(p40) in the spleen of the pig fed diet supplemented FSP 10-20 g/kg higher than CON group (P<0.05). The cytokine responds in pig spleen tissues after FMD and PCV2 vaccination 28 days after weaning. The treatment comparison between groups that supplement antibiotics, FSP and CON group, the expression of TNF-α, IL-12 (p40), and IL-1β of the FSP supplemented group was higher than that of the CON group and was higher with higher FSP supplementation levels. The expression of IL-12 (p40) for the FSP supplement group 10-20 g / kg was higher than the CON (P<0.05) and was also higher than that of the CAN and FSP 5 g / kg group. This indicates that supplementing FSP10-20 g/kg promotes the distribution of the vaccine to tissues or organs involved in the immune system. It was also found that the expression of TNF-α in the CAN group was higher than that of the CON group and the group that supplemented FSP by 5-20 g/kg (P<0.05). Thus, the pre-and post-3-day period of vaccination in pigs should not be mixed with antibiotics in the diet. Due to the higher than normal expression of cytokines in the immune system, it is used against vaccines functioning. The cultivation of low-cost spirulina was achieved by replacing 80% of Zarrouk Medium with wastewater from biogas ponds located at pig farms. After that, fermentation of the spirulina was achieved with 4% Lactobacillus plantarum TISTR 2075 for 48 hours. FSP can be supplemented in weaned pig feed at 10-15 g per kg. It did not affect growth performance, but it positively affected digestive health by reducing the rate of diarrhea, stimulating the immune system, and promoting the effective functioning of vaccines.
การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการเลี้ยง เช่น โรคอุบัติใหม่ การจัดการ รวมถึงการเลือกบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่มียาปฏิชีวนะตกค้าง สาหร่ายสไปรูลิน่าจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจต่อการใช้เป็นอาหารเสริมในสุกร แต่เนื่องจากปัจจัยด้านต้นทุน และคุณสมบัติบางประการ เช่น ผนังเซลล์ที่หนา ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของเยื่อใย ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเสริมในอาหารสุกรวัยอ่อน การหมักสไปรูลิน่าจึงเป็นทางเลือกสำหรับเพิ่มศักยภาพของสไปรูลิน่า ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าให้มีต้นทุนต่ำ ขั้นตอนการหมักสาหร่ายสไปรูลิน่าด้วยจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการเพิ่มคุณค่าทางอาหารเพื่อเป็นต้นแบบการผลิตสารเสริมสไปรูลิน่าหมัก และศึกษาระดับการเสริมสไปรูลิน่าหมักที่ในอาหารสุกรต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สุขภาพในระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันของสุกรหย่านม แบ่งงานทดลองเป็น 3 ส่วน การศึกษาแรก เพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าโดยใช้อินทรียวัตถุจากน้ำเสียฟาร์มสุกร 3 แหล่ง ได้แก่ บ่อรวมน้ำเสีย (Center tank pond)  บ่อไบโอแก๊ส (Bio-gas pond) และบ่อผึ่ง (Oxidation pond) ในอัตราส่วน 0, 40, 60 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ต่อการทดแทนสูตรอาหารซารุค (Zarrouk Medium) โดยวางแผนการทดลองแบบสมสมบูรณ์ Completely randomized design (CRD) ประเมินอัตราการเจริญเติบโต สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และองค์ประกอบทางเคมี ทำการเพาะเลี้ยงสไปรูลิน่าในหน่วยการผลิตขนาดกลางที่ได้มาตรฐาน เพื่อนำสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลการทดลองที่ 1 นำไปการศึกษาในการทดลองที่ 2 ที่วางแผนการทดลองแบบ 4 X 4 factorial หมักสไปรูลิน่าด้วย Lactobacillus plantarum TISTR 2075 โดยมีปัจจัยแรก คือ ปริมาณของ L. plantarum TISTR 2075 ที่ใช้ 0, 2, 3 และ 4% ต่อปริมาตรสไปรูลิน่าและตัวทำละลาย ส่วนปัจจัยที่สอง ระยะเวลาที่ใช้ในการหมักที่ 0, 36, 48 และ 72 ชั่วโมง ตามลำดับ ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการหมัก องค์ประกอบทางเคมี สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และทดสอบฤทธิการต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งจำลองหน่วยผลิตขนาดกลางเพื่อเป็นต้นแบบสไปรูลิน่าหมักในภาคอุตสาหกรรม การศึกษาที่ 3 ศึกษาในสุกรหย่านมเพศผู้ อายุ 21±0.5 วัน น้ำหนัก 5.8±0.5 กิโลกรัม จำนวน 48 ตัว วางแผนการทดลองแบบ CRD แบ่งออกเป็น  6 กลุ่ม ๆ ละ 8 ซ้ำ ๆ 1 ตัว ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (Control; CON) กลุ่มที่ 2 เสริมยาปฏิชีวนะ (Control+ antibiotic; CAN) และกลุ่มสไปรูลิน่าหมัก (Fermented Spirulina; FSP) ในระดับ 5, 10, 15 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร ตามลำดับ เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มการทดลองด้านสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะสัณฐานวิทยาลำไส้ และการแสดงออกของไซโตไคน์ TNF-α, IL-1β, IL-12p40 ซึ่งเป็นยีนที่ตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันโรค และศึกษาการตอบสนองของไซโตไคน์ดังกล่าวต่อวัคซีนปาก และเท้าเปื่อยสุกร และวัคซีน Porcine Circovirus (PCV) จากเนื้อเยื่อลำไส้เล็กส่วนกลาง และม้าม ผลจากการศึกษาการทดแทนสูตรอาหารซารุคด้วยอินทรียวัตถุจากน้ำเสียฟาร์มสุกร จากบ่อไบโอแก๊สที่ระดับการทดแทน 80 เปอร์เซ็นต์ได้ค่าประเมินประสิทธิภาพผลลัมฤทธิ์ 85 เปอร์เซ็นต์ โดยประเมินจากการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่าง ความหนาแน่นของเซลล์ คลอโรฟิลส์ เอ แคโรทีนอยด์ ไฟโคไซยานิน โปรตีน ไขมัน มวลสไปรูลิน่า และต้นทุนการเพาะเลี้ยงสาหร่าย โดยเฉพาะสารออกฤทธิทางชีวภาพ และโปรตีนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มชุดการทดลองอื่น ๆ อีกทั้งเมื่อพิจารณาต้นทุนการเพาะเลี้ยงสไปรูลิน่าด้วยน้ำบ่อไบโอแก๊สสามารถผลิตได้ในต้นทุนต่ำเพียง 141.05 บาทต่อกิโลกรัม โดยที่มีองค์ประกอบทางเคมี เช่น โปรตีน 51.13% และพลังงาน (GE) 338.6 kcall/100g กรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น  ไลซีน  เมไทโอนีน ทรีโอนีน และ ทริพโตเฟน (1151, 1209, 392 และ <20 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ) รวมถึงกรดไขมันประกอบด้วย แกมมาไลโนเลนิก แอซิด กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่, โอเมก้า 6 และ โอเมก้า 9 (0.05, 0.15, 146.13 และ 29.8 กรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ) ผลการศึกษาที่สอง ประสิทธิภาพการหมักพบว่า การรอดชีวิต 5.60 log cfu/ml ของ L. plantarum TISTR 2075 หลังการหมัก 72 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของการหมัก (P<0.05) ระยะเวลาการหมัก 48-72 ชั่วโมง มีปริมาณ Total Phenolic Content (TPC) สูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) โดยไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ใช้ (P<0.05)  การหมัก 36, 48 และ 72 ชั่วโมง มีปริมาณ ค่า Antioxidant potential capacity (APC) สูงกว่ากลุ่มที่เริ่มต้นหมัก (P<0.05) ปริมาณ L. plantarum TISTR 2075 ต่อการหมัก 4% ตรวจพบปริมาณ APC สูงสุด (P<0.05) และมีปริมาณมากที่สุด ของปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ แคโรทีนอยด์ เบต้า-แคโรทีน เปอร์เซ็นต์โพลีแซคคาไรด์ และโปรตีน ที่ระยะเวลาหมัก (36 และ 48), (36 และ 72), 48, 72 และ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ  และปริมาณ L. plantarum TISTR 2075 ที่ใช้ในการหมัก 4 และ 3-4% มีปริมาณแคโรทีนอยด์ และโพลีแซคคาไรด์ มากที่สุด (P<0.05) สรุปได้ว่าการหมักสไปรูลิน่าด้วย L. plantarum TISTR 2075 ในปริมาณ 4% เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง เป็นปริมาณเชื้อที่ใช้ และระยะเวลาของการหมักที่ดีที่สุดต่อปริมาณสารประกอบทางชีวภาพและโภชนะของสไปรูลิน่าหมัก นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบปริมาณโปรตีน และพลังงาน ลดลงหลังจากการหมัก (9.23% และ 10.43 Kcal/100g ตามลำดับ ปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นลดลงหลังจากการหมักเฉลี่ย 27.74 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นลดหลังจากการหมักเฉลี่ย 15.97 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้น กรดแอสปาร์ติก และ กรดกลูตามิค เพิ่มขึ้น 35.66 และ 29.92 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่ปริมาณกรดไขมันชนิมอิ่มตัวเช่น กรดปาลมิติก 48.49 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิกอัลฟา กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ ไขมันไม่อิ่มตัว และกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 และ 9 เพิ่มขึ้นหลังจากการหมัก (59.10, 53.13, 54.77, 53.53 และ 55.48 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ผลของการเสริม FSP ในระดับ 20 กรัมต่อกิโลกรัม ในอาหารสุกรอนุบาลแสดงผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของสุกร เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มกรดอะมิโนที่มีรสชาติขมซึ่งเป็นผลต่อรสชาติ ส่งผลต่อปริมาณการกินอาหารลดลงเมื่อเสริมที่ระดับดังกล่าว ส่วนกลุ่มที่เสริม FSP 5, 10 และ 15 กรัมต่อกิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตของสุกรไม่แตกต่างกันกับกลุ่ม CON และกลุ่ม CAN (P<0.05) แต่มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่ากลุ่มที่เสริมยาปฏิชีวนะ ส่วนการเสริม FSP 15 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหาร สามารถลดอัตราการเกิดท้องเสียในสุกรหย่านมได้ แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่ม CAN(P<0.05) ลักษณะสัณฐานวิทยาลำไส้เล็กส่วนต้น ความลึกของคริปท์ (Crypt dept; CD) ในกลุ่มที่เสริม FSP 10 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหาร  มีแนวโน้มใกล้เคียงกับการเสริม FSP 15 กรัมต่อกิโลกรัม (P<0.05)) การเสริม FSP 20 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหาร ส่งผลให้ความสูงของวิลลัส (Villus height; VH) และ พื้นที่ของวิลไล (Villous area; VSA) มีแนวโน้มใกล้เคียงกับกลุ่มที่เสริม FSP 10 และ 15 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหาร แต่ต่ำกว่ากลุ่ม CAN ส่วนการเสริม FSP 10 และ15 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหารสัดส่วนของวิลลัสและคริปท์ (VH:CD) สูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่น (P<0.05) สำหรับลักษณะสัณฐานวิทยาลำไส้เล็กส่วนกลางต่อการเสริม FSP 15 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหาร ส่งผลให้ VH, VH:CD, VW และ VSA สูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่น (P<0.05) ส่วน VW, VSA และ CD มีค่าต่ำสุดในกลุ่ม CAN (P<0.05) และการเสริม FSP 10 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหารทำให้ VH:CD และ VW มีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ระดับการเสริม FSP 15 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหาร (P<0.05) และลักษณะสัณฐานวิทยาลำไส้เล็กส่วนปลายการเสริม FSP 15 กรัมต่อกิโลกรัมพบว่า VH และ VSA ของกลุ่ม CON สูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น และ VSA ของกลุ่มที่เสริม CAN, FSP 5, 10 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหารใกล้เคียงกับกลุ่ม CAN (P<0.05) ส่วน CD ต่ำที่สุดในกลุ่มที่เสริม FSP 15 กรัมต่อกิโลกรัม เมื่อพิจารณาจากสมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรกับสัณฐานวิทยาลำไส้นั้นการเสริมที่ระดับ 10-15 กรัมต่อกิโลกรัมให้ผลเชิงบวก และสามารถทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะได้ สอดคล้องกับผลการศึกษาการแสดงออกของไซโตไคน์ TNF-α, IL-1β และ IL-12(p40) เปรียบเทียบกับ Cyclophilin A โดยใช้เทคนิค RT-PCR ร่วมด้วยประเมินการตอบสนองต่อวัคซีนปากและเท้าเปื่อยสุกร และวัคซีน Porcine Circovirus (PCV) จากเนื้อเยื่อลำไส้เล็กส่วนกลางพบว่า IL-1β ของกลุ่มที่เสริม FSP 10-15 กรัมต่อกิโลกรัม แสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) TNF-α ของกลุ่มที่เสริม FSP 20 กรัมต่อกิโลกรัม  แสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05)  ส่วน IL-12(p40) ของ CAN แสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) และ กลุ่มที่เสริม FSP 5-15 กรัมต่อกิโลกรัม แสดงออกต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05)  ส่วนเนื้อเยื่อม้ามพบว่า IL-1β  ของกลุ่มที่เสริม FSP 5, 15 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัม แสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) TNF-α ของ CAN แสดงออกสูงกว่ากลุ่ม CON (P<0.05) ส่วน IL-12(p40) ของกลุ่มที่เสริม FSP 10-15 กรัมต่อกิโลกรัม แสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) และกลุ่มที่เสริม FSP 20 กรัมต่อกิโลกรัม แสดงออกสูงกว่ากลุ่ม CON (P<0.05) สำหรับการฉีดวัคซีน FMD และ PCV2 ของสุกรช่วง 28 วันหลังจากหย่านมศึกษาการตอบสนองของไซโตไคน์โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เสริมยาปฏิชีวนะ และ FSP พบว่า TNF-α, IL-12(p40) และ IL-1β กลุ่มของยีนเหล่านี้แสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุม และสูงขึ้นตามลำดับของระดับการเสริม FSP ที่สูงขึ้นในเนื้อเยื่อม้าม จึงจัดไซโตไคน์เหล่านี้เป็น Pro-inflammatory cytokines ที่สามารถยับยั้งการเกิดการอักเสบ และกระตุ้นการต้านสิ่งแปลกปลอม จากนั้นปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเกิดจากการทำงานของแอนติเจน และส่งเสริมการกระจายวัคซีนไปยังเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มควบคุม อีกทั้งยังพบว่าการแสดงออกของ TNF-α  ในกลุ่มที่เสริมยาปฏิชีวนะแสดงออกสูงกว่ากลุ่ม CON และกลุ่มที่เสริม FSP 5-20 กรัมต่อกิโลกรัม (P<0.05) เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงช่วงก่อนและหลัง 3 วันของการฉีดวัคซีนในสุกรไม่ควรผสมยาปฏิชีวนะลงในอาหาร เนื่องจากการแสดงออกของไซโตไคน์ในระบบภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าปกติจะมีส่วนในการกดทับการทำงานของวัคซีน ดังนั้นการใช้ประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูลิน่าที่มีต้นทุนต่ำด้วยการทดแทนสูตรอาหารซารุคด้วยน้ำเสียจากบ่อไบโอแก๊ส ฟาร์มสุกรในการเพาะเลี้ยง หลังจากนั้นนำไปเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และองค์ประกอบชีวเคมีโดยการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติก แล้วผ่านกรรมวิธีที่เหมาะสมต่อการเป็นสารเสริมอาหารในสุกรช่วงหย่านม สามารถนำไปเสริมที่ระดับ 10-15 กรัมต่อกิโลกรัม หรือ 1-1.5% ในอาหารสุกรช่วงหย่านม ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต แต่ให้ผลดีต่อสุขภาพทางเดินอาหาร ลดอัตราการเกิดท้องเสีย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมการทำงานของวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3901
Appears in Collections:คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61062601.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.