Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3895
Title: | อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพดาวเรือง Effect of Chemical and Granular Organic Fertilizer with Hormone Mixed Formula (HO) on Yield and Quality of Marigold |
Authors: | CHATPRACHA SONKLIEN ชาติประชา สอนกลิ่น Pumisak Intanon ภูมิศักดิ์ อินทนนท์ Naresuan University. Faculty of Agriculture,Natural Resources and Environment |
Keywords: | ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ปุ๋ยเคมี ดาวเรือง คุณภาพผลผลิต ต้นทุนการผลิต และกำไร Granular organic fertilizer with hormonemixel formula Chemical fertilizer Marigold Yield quality Production cost and profit |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | In this experiment, different types of fertilizer management strategies were investigated on yield and quality of marigold (Golden King F1).The experiment’s designed was in Randomized Complete block Design (RCBD) with 15 treatments and 3 replications totally 45 plots. The plot site was 2.5 x 4 meter or 10 square meter. The treatments were composed from chemical and granular organic fertilizer with hormone mixed three formulas (HO-A, HO-B, HO-C) and two chemical fertilizers (NPK: 15-15-15, 8-24-24) applied in 2 different rates (100, 150 Kg/Rai) planted by marigold Golden King F1 variety 0.5 x 0.5 meter . The treatments were as follows; T1: Control, T2: NPK15-15-15(50 Kg)+8-24-24 (50Kg) as 100 Kg./Rai, T3: NPK15-15-15(75 Kg)+8-24-24 (75Kg) as 150 Kg./Rai, T4: NPK15-15-15(25Kg)+8-24-24(25Kg)+HO-A(50Kg) as 100 Kg./Rai, T5: NPK15-15-15(50Kg)+8-24-24(50Kg)+HO-A(50Kg) as 150 Kg./Rai, T6:NPK15-15-15 (25Kg) +8-24-24(25Kg)+HO-B(50Kg) as 100 Kg./Rai, T7:NPK15-15-15(50Kg)+8-24-24(50Kg)+HO-B(50Kg) as 150 Kg./Rai, T8: NPK15-15-15(25Kg)+8-24-24(25Kg)+HO-C(50 Kg) as 100 Kg./Rai, T9: NPK15-15-15(50Kg)+8-24-24(50Kg)+HO-C(50Kg) as 150 Kg./Rai, T:10 HO-A = 100 Kg., T11: HO-A as 150 Kg./Rai, T12: HO-B as 100 Kg./Rai, T13: HO-B as 150 Kg./Rai, T14: HO-C as 100 Kg./Rai and T15: HO-C as 150 Kg./Rai respectively. The experiment plots were located at Nurnpor village, Sam-ngam District, Pichit province of Thailand during November, 2017 – March, 2018. The recorded data was analyzed in analysis of variance (ANOVA) using SPSS 17 statistical package to quantify the variation between treatments means at a critical difference of 0.05% probability level. Duncan’s multiple range test (DMRT) analysis was performed.
The soil analysis before and after the experiment was found that 3 formulas of the HO group (HO-A, HO-B and HO-C) had significantly improved the macronutrient, secondary and micronutrients content above other treatments. Not only the organic matter (OM), soil cation exchange capacity (CEC) and electrical conductivity (EC) but also soil pH had been improved by the treated HO group (HO-A, HO-B and HO-C) which indirectly improved the physical properties of the soil, ie the water holding capacity of the soil was increased.
The influence of the fertilizers on vegetative, yield, and yield components, was found that increasing fertilizer rate, has an effect on yield increase (Number of flowers / rai). T15 (HO-C fertilizer, 150 kg / rai) had not only showed a highest vegetative growth and yield result significantly but also a highest result in yield component. Highest Carotenoid content, Hue value and B value was found on T15 (HO-C fertilizer, 150 kg / rai) according to significantly increased nutrient contents were found on the plants. Even though, the highest cost of production was on T15 (HO-C fertilizer, 150 kg / rai); 39,691.0 Baht/rai, but T15 (HO-C fertilizer, 150 kg / rai) showed a highest yield; 278,346.7 flowers/rai. The market price was 4.50 Baht/flower, therefore the most profitability was also found on T15 (HO-C fertilizer, 150 kg / rai). From the economical comparison, T15 (HO-C fertilizer, 150 kg / rai) showed a highest cost/benefit ratio at 3.16 times, more profitable 1.63 times than the control and 1.48 times over NPK (T2, 150 Kg/rai) significantly. In this experiment, HO-C had also showed an increase in number of seed/flower and seed weight/flower. Therefore, development of HO-C shall be suggested further for the marigold seed production since marigold seeds are highly demanded by international market. การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพดาวเรือง โดยพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ขึ้นมา 3 สูตรแล้วใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่ต่างกันวางแผนทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 15 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำ รวม 45 แปลงย่อย ขนาดแปลงย่อย 2.5 x 4 เมตรหรือ 10 ตารางเมตร ปลูกดาวเรืองพันธุ์ Golden King F1 ระยะปลูก 0.5 x 0.5 ม. กรรมวิธีประกอบด้วย T1 ไม่ใส่ปุ๋ย (Con.), T2 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 (50 กก.)+8-24-24 (50กก.) อัตรา 100 กก/ไร่, T3 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 (75 กก.)+8-24-24 (75 กก.) อัตรา 150 กก/ไร่, T4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 (25 กก.)+8-24-24 (25กก.)+ปุ๋ย HO-A (50 กก.) อัตรา 100 กก/ไร่, T5 ปุ๋ยเคมี15-15-15 (50 กก.)+8-24-24 (50 กก.)+ปุ๋ย HO-A (50 กก.) อัตรา 150 กก/ไร่, T6 ปุ๋ยเคมี15-15-15(25 กก.)+8-24-24 (25กก.)+ปุ๋ย HO-B (50 กก.) อัตรา 100 กก/ไร่, T7 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 (50 กก.)+8-24-24 (50กก.)+ปุ๋ย HO-B (50 กก.) อัตรา 150 กก/ไร่, T8 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 (25 กก.)+8-24-24 (25กก.)+ปุ๋ย HO-C (50 กก.) อัตรา 100 กก/ไร่, T9 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 (50 กก.)+8-24-24 (50กก.)+ปุ๋ย HO-C (50 กก.) อัตรา 150 กก/ไร่, T10 ปุ๋ย HO-A อัตรา 100 กก/ไร่, T11 ปุ๋ย HO-A อัตรา 150 กก/ไร่, T12 ปุ๋ย HO-B อัตรา 100 กก/ไร่, T13 ปุ๋ย HO-B อัตรา 150 กก/ไร่, T14 ใส่ปุ๋ย HO-C อัตรา 100 กก/ไร่ และ T15 ใส่ปุ๋ย HO-C อัตรา 150 กก/ไร่ ทำการทดลองที่บ้านเนินปอ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 - มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิธี ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ผลการทดลองพบว่า ผลการวิเคราะห์ดินก่อนและหลังการทดลองพบว่ากลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมทั้ง 3 สูตร (HO-A, HO-B และ HO-C) มีผลทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพิ่มขึ้นเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ (OM) การแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน (CEC) การนำไฟฟ้า (EC) ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้ดีขึ้น จึงมีผลในทางอ้อมต่อคุณสมบัติด้านกายภาพของดินคือความสามารถในการอุ้มน้ำของดินเพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์ต่อพืชปลูกในฤดูต่อไป ในด้านอิทธิพลของปุ๋ยที่มีต่อพืชนั้นในด้านการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต พบว่าเมื่อมีการเพิ่มอัตราปุ๋ยเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตด้วย (จำนวนดอก/ไร่) โดยพบว่า T15 (ปุ๋ย HO-C, 150 กก./ไร่) แสดงผลสูงสุดทั้งในด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ ในด้านองค์ประกอบของคุณภาพดาวเรือง พบว่า T15 (ปุ๋ย HO-C, 150 กก./ไร่) แสดงผลสูงสุดในปริมาณ Carotenoid, Hue value และ B value สอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารในต้นพืชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามในด้านต้นทุนการผลิตนั้น พบว่า T15 (ปุ๋ย HO-C, 150 กก./ไร่) มีต้นทุนสูงสุด 39,691.0 บาท/ไร่ แต่เนื่องจากได้ผลผลิตสูงสุด 278,346.7 ดอก/ไร่ เมื่อจำหน่ายในราคาดอกละ 4.50 บาท จึงทำให้มีผลกำไรสูงสุด 85,565.24 บาท/ไร่ ผลการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบพบว่ากรรมวิธี T15 (ปุ๋ย HO-C, 150 กก./ไร่) มีค่าอัตราส่วนกำไร/ทุนสูงสุด 3.16 เท่า และมีผลกำไรเหนือแปลงควบคุม 1.62 เท่า และเหนือแปลงปุ๋ยเคมี 1.48 เท่า (T2, 150 กิโลกรัมต่อไร่) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาในครั้งนี้ยังพบว่าปุ๋ย HO-C มีผลต่อจำนวนเมล็ด/ดอกและน้ำหนักเมล็ด/ดอก ดังนั้นจึงควรพัฒนาปุ๋ย HO-C เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองต่อไปเพราะเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองเป็นที่ต้องการของตลาดในต่างประเทศ |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3895 |
Appears in Collections: | คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58032300.pdf | 6.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.