Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3760
Title: | การเชื่อมโยงแหล่งและกิจกรรมท่องเที่ยวของอำเภอชนแดนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของจังหวัดเพชรบูรณ์ Road connectivity of tourist destinations and activities of Chondaen District to promote sustainable tourism in Petchabun |
Authors: | BENJAWAN CHOMBORISUT เบญจวรรณ ชมบริสุทธิ์ Kullapa Soratana กุลภา โสรัตน์ Naresuan University. Faclty of Logistics and Digital Supply Chain |
Keywords: | การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เส้นทางท่องเที่ยว การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน Linking tourist attractions Chondaen District Phetchabun Province Travel routes Sustainable tourism |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Connecting tourist attractions and activities of Chon Daen District, Phetchabun Province, to the main tourist attractions of Phetchabun Province, such as Khao Kho District, Nam Nao District, and Lom Kao District, is one of the ways to promote the distribution of tourists. This results in income distribution and expanding the tourism area to other tourist destinations in Phetchabun Province. In addition, it also helps to reduce the problem of resource degradation from tourism which is a form of tourism that is not based on the principle of sustainability. Therefore, the aims of this study were to distribute tourists and income to local people in the area and to expand the tourism area to other tourist attractions in Phetchabun province to achieve sustainable tourism. Tourist attractions in 9 sub-districts of Chon Daen District, Phetchabun Province, were collected and selected. There were 4 types of tourist attractions: 1) archaeological and cultural, 2) natural, 3) urban and community, and 4) recreation, for 86 sites in total. Of which, there were 14 tourist attractions that passed the reputation assessment criteria and the tourist readiness potential assessment level of the tourist attractions according to the criteria for assessing the tourism potential in 6 aspects. The interviews with representatives from government agencies, the private sectors, and local people were conducted, and it was found that there were 10 potential tourist attractions according to the tourist attraction selection criteria, as specified in this study. The researcher linked the potential tourist attractions and classified as a travel route of Chon Daen District, Phetchabun Province. Then, the researcher employed SWOT and TOWS Matrix to develop sustainable tourism promotion strategies. Later, the strategies were considered in line with the Lower Northern Provincial Group 1 Strategic Plan for 20 years (2017 - 2036) and the 4-year Phetchabun Province Development Plan (2018 - 2021). Based on the study, it was found that the ways to develop tourism of Chon Daen District, Phetchabun Province, should start with the development of tourism within the community of Chon Daen District, Phetchabun Province, in the short term that could be completed within 1-2 years (Quick-win). Such strategies are, e.g., promoting innovative products and uniqueness of souvenirs, collaboration of local people in the development of tourism potential and sustainable management, developing, managing and maintaining safety and fundamental facilities of tourism, studying additional historical stories, and studying environmental, social, and economic impacts and public relations, so that the area is ready to accommodate tourists and ready to implement the 3-5 years development strategies. The strategies are, e.g., the linking of tourism events and activities of Chon Daen District to the events of the main tourist attractions of Phetchabun Province, such as the walking-running-cycling activities at Khao Kho district held in winter (between December and March each year) or traveling program of tourist attractions of Chon Daen District that are linked to the main tourist attractions of Phetchabun Province. The program can be a day or 2 days 1 night from the tourist attractions of Chon Daen District to the City of Phetchabun (Kamnan Chul Farm, Phetchabun Intharachai Archaeological Hall, Hall of Wisdom and Phetchabun Folklore, and Tri Phum Temple) and to Khao Kho District (Windmill Field and Khao Kho). When tourism occurs within Chon Daen District, Phetchabun Province, the development of tourism facility, tourism infrastructure, and transportation route, which is a long-term development strategy (over 5 years) would follow in order to facilitate the travel for tourists. การเชื่อมโยงแหล่งและกิจกรรมการท่องเที่ยวของอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ กับแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดเพชรบูรณ์ อาทิ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว และอำเภอหล่มเก่า เป็นหนึ่งในแนวทางส่งเสริมให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ และขยายพื้นที่การท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ไม่เป็นไปตามหลักความยั่งยืน ดังนั้น เป้าหมายของการศึกษานี้ คือ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว เกิดการกระจายรายได้ไปยังประชาชนในพื้นที่ และขยายพื้นที่การท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยการรวบรวมและคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ในพื้นที่ 9 ตำบลของอำเภอชนแดน ที่ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยว 4 ประเภท ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานและศิลปวัฒนธรรม 2) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ 3) แหล่งท่องเที่ยวเมืองและชุมชน 4) แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ จำนวนทั้งสิ้น 86 แหล่ง ซึ่งในจำนวนนี้ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความมีชื่อเสียงในปัจจุบัน จำนวน 14 แหล่ง และถูกนำมาประเมินระดับศักยภาพด้านความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว ตามเกณฑ์การประเมินศักยภาพด้านการท่องเที่ยว 6 ด้าน โดยการสัมภาษณ์ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ พบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 10 แหล่ง ที่มีศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวตามที่การศึกษานี้กำหนด นั่นคือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่ผู้วิจัยนำมาเชื่อมโยงโดยการจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวของอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix เพื่อจัดทำกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามหลักความยั่งยืน แล้วจึงนำกลยุทธ์ที่ได้มาพิจารณาความสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) และแผนพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564) ซึ่งจากการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ควรเริ่มต้นจากแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวภายในชุมชนของอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ในระยะสั้น ที่สามารถดำเนินการได้ภายใน 1-2 ปี (Quick-win) อาทิ การส่งเสริมพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของฝาก ของที่ระลึก ให้เกิดความแตกต่างมีเอกลักษณ์ต่างจากของจังหวัดเพชรบูรณ์ การร่วมมือกันของประชาชนในท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การพัฒนาการจัดการและการดูแลความปลอดภัยและปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว การศึกษาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์เพิ่มเติม การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ และการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้พื้นที่มีความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และพร้อมสำหรับการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาในระยะ 3-5 ปี ได้แก่ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของอำเภอชนแดนเชื่อมโยงต่อเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดเพชรบูรณ์ อาทิ การจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง-ปั่นจักรยาน ที่อำเภอเขาค้อ ที่จัดในช่วงฤดูหนาว (ระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคมของทุกปี) หรือ การจัดแพ็คเกจท่องเที่ยวของอำเภอชนแดนเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมโปรแกรมท่องเที่ยว 1 วัน หรือ 2 วัน 1 คืน จากแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอชนแดน ไปยังอำเภอเมือง (ไร่กำนันจุล หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย หอภูมิปัญญาและชาวบ้านเพชรบูรณ์ และวัดไตรภูมิ) จนถึงอำเภอเขาค้อ (ทุ่งกังหันลม และเขาค้อ) และเมื่อเกิดการท่องเที่ยวภายในอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาในระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) จึงจะดำเนินการตามมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่นักท่องเที่ยว |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3760 |
Appears in Collections: | คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58062000.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.