Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2834
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorCHOTIKA SRINAULen
dc.contributorโชติกา ศรีนวลth
dc.contributor.advisorRuedee Sakulratchataen
dc.contributor.advisorฤดี สกุลรัชตะth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Dentistryen
dc.date.accessioned2021-07-30T03:38:29Z-
dc.date.available2021-07-30T03:38:29Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2834-
dc.descriptionMaster of Science (M.S.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.abstractThis project was a cross-sectional study, aimed at assessing the caries prevalence and the caries contributing factors of non-syndromic cleft lip and/or palate (test group) compared to non-cleft lip and/or palate group (control group). The test group was 50 children who registered with the Naresuan Cleft and Craniofacial Center, Naresuan University Hospital in Phitsanulok. The control group was 50 pediatric patient from pediatic dental clinic of Naresuan University Dental Hospital. Children and their main caregivers, both had dental examinations for caries using the International Caries Detection and Assessment System (ICDAS) by one researcher. Only the main caregivers were interviewed and a questionnaire was completed at the same time. As a result, the test group had dental caries prevalence of 74%. The prevalence of initial caries, moderate to advanced caries and an average number of decayed, missing or filled, primary teeth (dmft) were 27%, 73% and 6.80 teeth/person (SD=7.05), respectively. The prevalence of dental caries in the control group was 66% and the prevalence of initial caries, moderate to advanced caries and dmft was 6%, 94% and 7.86 teeth/person (SD=6.96), respectively. From the analysis, the prevalence of dental caries from both groups was not statistically significant. However, the test group had shown a statistically significantly less severe in moderate-to-advanced prevalence of dental caries than the control group (p=0.021). Multiple backward logistic regression analysis found that, the most prominent factors involved in the prevalence of caries in the test group were the type of cleft (OR = 23.21) and the number of fillings the caregiver had (OR=13.65). In the control group, age groups (OR=44.94); eating or drinking sugar snacks between meals (OR=26.26), and the number of fillings the caregiver had (OR=0.06) were significantly related to the caries prevalence of children in this group.en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกฟันผุและวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการเกิดฟันผุในเด็กปฐมวัย ในกลุ่มเด็กที่มีภาวะปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ที่ไม่มีกลุ่มอาการร่วม (กลุ่มทดลอง) จำนวน 50 คน จากสถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า จังหวัดพิษณุโลก และเด็กที่ไม่มีภาวะปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ (กลุ่มควบคุม) จำนวน 50 คน จากคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก โรงพยาบาล ทันตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผู้วิจัยบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ดูแลหลัก เด็กและผู้ดูแลหลักได้รับการตรวจฟันผุตามเกณฑ์การประเมินฟันผุระหว่างประเทศหรือไอซีดาส ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความชุกฟันผุ ร้อยละ 74 โดยมีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 27 ฟันผุระยะปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 73 และมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 6.80 ซี่/คน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.05) ส่วนกลุ่มควบคุมมีความชุกฟันผุ ร้อยละ 66 โดยมีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 6 ฟันผุระยะปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 94 และมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 7.86 ซี่/คน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.96) จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ความชุกฟันผุไม่แตกต่างกันในเด็กทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามกลุ่มทดลองมีความรุนแรงของความชุกฟันผุระดับปานกลางถึงรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.021) และผลการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ (multiple logistic regression analysis) ด้วยวิธีการตัดทิ้งแบบถอยหลัง (backward) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความชุกฟันผุในกลุ่มทดลอง คือ ชนิดของปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ (อัตราส่วนออดส์ 23.21) และการที่ผู้ดูแลหลักมีฟันอุด (อัตราส่วนออดส์ 13.65) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความชุกฟันผุในกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มอายุของเด็ก (อัตราส่วนออดส์ 44.94) ความถี่ในการรับประทานอาหารระหว่างมื้อของเด็ก (อัตราส่วนออดส์ 26.26) และการที่ผู้ดูแลหลักมีฟันอุด (อัตราส่วนออดส์ 0.06)th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectความชุกฟันผุth
dc.subjectปากแหว่งth
dc.subjectเพดานโหว่th
dc.subjectเด็กปฐมวัยth
dc.subjectcaries prevalenceen
dc.subjectcleft lipen
dc.subjectcleft palateen
dc.subjectearly childhooden
dc.subject.classificationDentistryen
dc.titleความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดฟันผุในเด็กที่มีภาวะปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่th
dc.titleThe prevalence and contributing factors affected dental caries in cleft lip and/or palate childrenen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะทันตแพทยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61060843.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.