Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2831
Title: | คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของเครื่องมือคัดกรองสตาร์ทฉบับภาษาไทย (ฉบับดัดแปลง) ในผู้ที่มีอาการปวดคอ Psychometric properties of the Thai version of the modified STarT Back Screening Tool in individuals with neck pain |
Authors: | NATTAWAN PHUNGWATTANAKUL ณัฐวรรณ พึ่งวัฒนกุล Taweewat Wiangkham ทวีวัฒน์ เวียงคำ Naresuan University. Faculty of Allied Health Sciences |
Keywords: | เครื่องมือคัดกรองสตาร์ท ปวดคอ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา STarT back screening tool neck pain validity reliability psychometric properties |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this study were to adapt of the Thai version of the STarT Back Screening Tool (SBST-TH) for individuals with LBP into the modified STarT Back Screening Tool (mSBST-TH) for individuals with neck pain and evaluate its psychometric properties (content validity, factor analysis, convergent validity, discriminative validity, internal consistency, test-retest reliability, and agreement). The committee of adaptation process consisted of one researcher, one PhD musculoskeletal physiotherapist in neck pain, and one PhD Thai linguistic expert. A total of 261 participants (aged 20–70 years) with neck pain in Phitsanulok Province were invited to complete the mSBST-TH, visual analogue scale in Thai version (VAS-TH), neck disability index in Thai version (NDI-TH), fear-avoidance beliefs questionnaire in Thai version (FABQ-TH), pain catastrophizing scale in Thai version (PCS-TH), and EuroQol five-Dimensions five-levels questionnaire EQ5D-5L in Thai version (EQ5D-5L-TH). Fifty participants completed the mSBST-TH twice with an interval of 48 hours to perform test-retest reliability. The findings indicated that the Cronbach’s alpha for internal consistency of the mSBST-TH total score was 0.73. Factor analysis revealed two components consisting of psychosocial and physical components. The intraclass correlation coefficient of test-retest reliability was found 0.81 for the total score and 0.70 for psychosocial subscore demonstrating good and acceptable reliability, respectively. The minimal detectable change of mSBST-TH total score and psychosocial subscore were 1.563 and 1.549, respectively. The moderate correlations were found in mSBST-TH total score vs all reference standard questionnaires (ranged from 0.305 to -0.554) except for the FABQ-W (rs = 0.271), significantly (p<0.001). The area under the curves (AUCs) to assess discriminative validity was excellent between mSBST-TH total score and EQ5D-5L-TH-VAS (AUCs = 0.899). No significant floor and ceiling effects in this study indicating good content validity. Finally, the mSBST-TH seems to be valid and reliable tool to stratify Thai individuals with neck pain into low, medium and high risk for chronicity. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดัดแปลงเครื่องมือคัดกรองผู้ที่มีอาการปวดหลังสตาร์ทฉบับภาษาไทยเป็นเครื่องมือคัดกรองผู้ที่มีอาการปวดคอสตาร์ทฉบับภาษาไทยและทดสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา (ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบ ความเที่ยงตรงเชิงเหมือน ความเที่ยงตรงเชิงจำแนก ความเชื่อมั่นของความสอดคล้องภายใน ความเชื่อมั่นจากการทดสอบซ้ำและความสอดคล้อง) ของเครื่องมือดังกล่าว คณะกรรมการดัดแปลงเครื่องมือของการศึกษานี้ประกอบไปด้วย ผู้วิจัย 1 ท่าน นักกายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ชำนาญทางด้านคอ 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาไทย 1 ท่าน อาสาสมัคร 261 คน (อายุระหว่าง 20-70 ปี) ที่มีอาการปวดคอและอาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกได้ถูกประเมินด้วยเครื่องมือคัดกรองผู้ที่มีอาการปวดคอสตาร์ทฉบับภาษาไทย (ฉบับดัดแปลง) (modified STarT Back Screening Tool in Thai version: mSBST-TH) มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตาฉบับภาษาไทย (visual analogue scale in Thai version: VAS-TH) ดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอฉบับภาษาไทย (neck disability index in Thai version: NDI-TH) แบบสอบถามความรู้สึกเชิงลบต่อความปวดฉบับภาษาไทย (pain catastrophizing scale in Thai version: PCS-TH) แบบสอบถามความเชื่อในการหลีกเลี่ยงความกลัวฉบับภาษาไทย (fear-avoidance beliefs questionnaire in Thai version: FABQ-TH) และแบบสอบถามเรื่องสุขภาพฉบับภาษาไทย (The EuroQol five-dimensions five-levels questionnaire in Thai version: EQ5D-5L-TH) อาสาสมัคร 50 คน ได้รับการประเมิน mSBST-TH ซ้ำหลังจากที่ประเมินครั้งแรกไปแล้ว 48 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าค่าความเชื่อมั่นของความสอดคล้องภายในของ mSBST-TH ส่วนคะแนนรวมเท่ากับ 0.73 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของ mSBST-TH พบ 2 องค์ประกอบได้แก่ จิตสังคมและร่างกาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นมีค่าเท่ากับ 0.81 สำหรับ mSBST-TH ส่วนคะแนนรวม และ 0.70 สำหรับคะแนนย่อยส่วนจิตสังคม แสดงให้เห็นถึงค่าความเชื่อมั่นจากการทดสอบซ้ำในระดับที่ดีและยอมรับได้ตามลำดับ ค่าชี้วัดการเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดของคะแนนรวมและคะแนนย่อยส่วนจิตสังคม มีค่าเท่ากับ 1.563 และ 1.549 ตามลำดับ สำหรับความเที่ยงตรงเชิงเหมือนพบค่าความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่าง mSBST-TH ส่วนคะแนนรวมกับแบบสอบถามอ้างอิงมาตรฐานทุกแบบสอบถาม โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในช่วง 0.305 ถึง -0.554 อย่างมีนัยความสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ยกเว้นความสัมพันธ์กับ FABQ-W (rs = 0.271) ค่าพื้นที่ใต้เส้นโค้งสำหรับประเมินความเที่ยงตรงเชิงจำแนกพบการจำแนกที่ดีเยี่ยมระหว่าง mSBST-TH ส่วนคะแนนรวมและ EQ5D-5L-TH-VAS โดยมีค่าเท่ากับ 0.899 การศึกษานี้ไม่พบ floor and ceiling effects อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า mSBST-TH มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาที่ดี จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า mSBST-TH มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสำหรับคัดกรองผู้ที่มีอาการปวดคอชาวไทยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูง ที่จะมีอาการเรื้อรัง |
Description: | Master of Science (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2831 |
Appears in Collections: | คณะสหเวชศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62062082.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.