Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2001
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | WILASINEE HONGSANUN | en |
dc.contributor | วิลาสินี หงสนันทน์ | th |
dc.contributor.advisor | Nithra Kitreerawutiwong | en |
dc.contributor.advisor | นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Public Health | en |
dc.date.accessioned | 2021-02-02T03:23:39Z | - |
dc.date.available | 2021-02-02T03:23:39Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2001 | - |
dc.description | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) | en |
dc.description | สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) | th |
dc.description.abstract | Sugar-sweetened beverages (SSBs) consumption leads to weight gain and obesity. However, there is no self-administered assessment tools for measuring habitual beverage intake pattern available for the young adult in Thailand. This study aimed to survey of the amount of total sugar in SSB in Thailand and to assess psychometric properties of the developed questionnaires, Thai Adolescence Sugar Sweetened Beverage Intake Questionnaire (THASSI). This study deployed a methodological study design which was divided into 3 phases. Phase 1 conducted a survey of the amount of total sugar in SSB in Thailand then data was categorized based on the amount of sugar. Phase 2 drafted the first version of THASSI which was confirmed the validity by face validity and then revised, as the second version. Phase 3 determined the construct validity of the 2nd version of THASSI and then the revised version, the 3rd version of THASSI, was confirmed the criterion validity as well as verified the test-retest reliability and internal consistency. The final version of THASSI was developed The results showed that of the total 1316 SSBs, 989 items, classified into 16 groups, were included to the study. A first version of THASSI Questionnaire and guideline was derived. Face validity was used as the input for improving the first draft to the second draft. Then construct validity was tested by 530 high school students. Exploratory factor analysis showed that the beverages were groups into 5 factors 10 questions. Each dimension accounted for greater than 48.6% of the total variance. Moreover, 30 high school students completed the 3rd version of THASSI along with 7-days food intake record for criterion validity. Non-normal distributed data were normalized by log 10 transformation then the correlation was performed. The findings indicate that both methods had high correlation (r = 0.878, p-value < 0.001). The analysis of Bland-Altman bias plot between the 3rd version of THASSI and 7-days food intake record show mean difference = 0.00951, more than 50% of the values lie inside the limit of ± 1.96 SD (-0.31643 to 0.335428) which indicate the agreement between methods. Another 152 high school students completed test-retest reliability of THASSI 14 days apart. The findings indicate that the first and the second test had high correlation (r = 0.922, p-value < 0.001) and the intraclass correlation coefficient = 0.951, p-value < 0.001. In addition, Cronbach’s Alpha for the overall scale reliability was 0.645. In conclusion, a Thai Adolescence Sugar Sweetened Beverage Intake Questionnaire is a valid and reliable. It can be used as a self-administered questionnaire to assess the amount of sugar from sugar sweetened beverage intake in Thai adolescences. | en |
dc.description.abstract | การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาล ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบเครื่องมือวัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลในกลุ่มวัยรุ่นในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลในประเทศไทย และเพื่อพัฒนาและประเมินคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของแบบสอบถามการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลสำหรับวัยรุ่นประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงวิธีวิทยาโดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการสำรวจเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลในประเทศไทย หลังจากนั้น นำข้อมูลไปจัดกลุ่มประเภทเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม ระยะที่ 2 ร่างแบบสอบถามเวอร์ชัน 1 แล้วนำไปทดสอบความตรงแบบเผชิญหน้า และพัฒนาเป็นแบบสอบถามเวอร์ชัน 2 ระยะที่ 3 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง แบบสอบถามเวอร์ชัน 2 และพัฒนาเป็นแบบสอบถามเวอร์ชัน 3 แล้วนำไปทดสอบความตรงตามเกณฑ์ร่วมกับการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยวิธีการวัดแล้ววัดซ้ำ และความสอดคล้องภายใน ได้เป็นแบบสอบถามการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลสำหรับวัยรุ่น ฉบับสุดท้าย ผลการศึกษา พบว่า จากรายการเครื่องดื่มที่สำรวจทั้งหมด 1,316 รายการ มีเครื่องดื่มจำนวน 989 รายการ แบ่งเป็น 16 กลุ่ม ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาแบบสอบถามการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลสำหรับวัยรุ่นไทยและคู่มือการใช้งาน เวอร์ชัน 1 นำรายการเครื่องดื่มในแบบสอบถามเวอร์ชัน 1ไปทดสอบความตรงแบบเผชิญหน้า ซึ่งเป็นข้อมูลนำไปสู่การพัฒนาเวอร์ชัน 2 จากนั้น นำไปทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 530 คน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า รายการเครื่องดื่มสามารถนำมารวมกลุ่มกันได้ 5 องค์ประกอบ ทั้งหมด 10 ข้อคำถาม ค่า total variance ของแต่ละองค์ประกอบ สามารถอธิบายข้อมูลได้ร้อยละ 48.6 ได้เป็นแบบสอบถามเวอร์ชัน 3 จากนั้นนำไปทดสอบความตรงตามเกณฑ์โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 30 คน พบว่า ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาล จากการบันทึกการบริโภคเครื่องดื่มเป็นเวลา 7 วัน กับแบบสอบถาม เวอร์ชัน 3 ที่พัฒนาขึ้น ข้อมูลกระจายตัวแบบไม่ปกติจึงแปลงข้อมูลเป็น log 10 และพบว่ามีค่าสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = 0.878, p-value < 0.001) และวิเคราะห์ค่า Bland-Altman bias plot ของแบบสอบถามเวอร์ชัน 3 กับข้อมูลจากการจดบันทึกการบริโภคเครื่องดื่มเป็นเวลา 7 วัน พบว่ามีค่า Mean difference เท่ากับ 0.00951 ข้อมูลมากกว่าร้อยละ 50 อยู่ในช่วง ± 1.96 SD (-0.31643 ถึง 0.335428) แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องของทั้งสองวิธี ผลการทดสอบการวัดแล้ววัดซ้ำแบบสอบถามเวอร์ชัน 3 โดยมีระยะห่าง 14 วัน ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 152 คน พบว่า การปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาล ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = 0.922, p-value < 0.001) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นเท่ากับ 0.951, p-value < 0.001 ทั้งนี้ แบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.645 สรุปได้ว่า แบบสอบถามการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลชนิดตอบด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น มีความตรงและความเที่ยงในระดับยอมรับได้ สามารถใช้ประเมินปริมาณการบริโภคน้ำตาลที่ได้จากเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลในวัยรุ่นไทย | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | เครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาล | th |
dc.subject | น้ำตาล | th |
dc.subject | วัยรุ่น | th |
dc.subject | การบริโภค | th |
dc.subject | แบบสอบถาม | th |
dc.subject | Sugar sweetened beverage | en |
dc.subject | Sugar | en |
dc.subject | Adolescence | en |
dc.subject | Intake | en |
dc.subject | Questionnaire | en |
dc.subject.classification | Health Professions | en |
dc.title | การพัฒนาแบบสอบถามการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลของวัยรุ่นไทย | th |
dc.title | Development of a Thai Adolescence Sugar Sweetened Beverage Intake Questionnaire (THASSI) | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61031089.pdf | 5.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.