Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1782
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
Factors effect with Health Behavior of Monk in Takhli District,Nakhonsawan Province.
Authors: PHEERAPOL MEEAIUM
พีระพล หมีเอี่ยม
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พระภิกษุสงฆ์
พฤติกรรมสุขภาพ
การรับรู้
Monks
Healthy behavior
Perception
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this predictive correlation study was to investigate factors affecting the health behavior of monks in Takhli District, Nakhon Sawan Province. A questionnaire was used as a research instrument to collect data from the sample of 228 monks who have stayed in a Buddhist monastery in Takhli District, Nakhon Sawan Province. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation as well as Pearson correlation coefficient analysis, Eta correlation coefficient analysis, and stepwise multiple regression analysis. The results of this study indicated that the sample’s health behavior was at the moderate level (xˉ = 69.69 , S.D. = 8.604). The results of Stepwise Multiple Regression Analysis indicated that perceived severity (β = 0.418, p 0.005), perceived susceptibility (β = 0.374, p < 0.001), perceived benefit (β = 0.845, p < 0.001), perceived obstacle (β = -0.456, p < 0.001) of  monks' health behaviors and monk’s obtained Dharma education (β = 0.764, p 0.001)could jointly predict 40.2%  of the variation in  health behaviors of monks. The suggestions of this research illustrated that health promoting and visiting policies should be organized by health departments or agencies in relevant areas to encourage monks to raise awareness for reducing the risk of disease among monks as well as to develop good quality of life for the monks as the main force in stably and sustainably promoting Buddhism. In addition, monks play an important role to provide knowledge to worshipers in offering food or putting food offerings in a Buddhist monk's alms bowl in a harmless manner for monks’ utmost benefits.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย (Predictive Correlational Study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เก็บข้อมูลโดยใช้ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 228 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (= 69.69 คะแนน, S.D.= 8.604) การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคจากพฤติกรรมสุขภาพ (β = 0.418, p 0.005) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากพฤติกรรมสุขภาพ (β = 0.374, p < 0.001) การรับรู้ประโยชน์ของปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (β = 0.845, p < 0.001)  การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (β = -0.456,  p < 0.001) และการศึกษาทางธรรมที่ได้รับของพระภิกษุสงฆ์ (β = 0.764, p 0.001) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ ได้ ร้อยละ 40.2 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายสุขภาพในการติดตามหรือออกเยี่ยมและกระตุ้นพระภิกษุสงฆ์เกิดการรับรู้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์  ตลอดจนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งจะเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงและยั่งยืนถาวรต่อไป ตลอดจนให้ความรู้แก่อุบาสกอุบาสิกา ในการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายและเป็นประโยชน์แก่พระภิกษุสงฆ์
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1782
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061758.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.