Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1734
Title: | รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงราย A Model of Behavior Modification to Reduce Alcohol Consumption among Motorcyclists in Chiang Rai Province |
Authors: | WATCHARAPONG RUANKHAM วัชรพงษ์ เรือนคำ Narongsak Noosorn ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน Naresuan University. Faculty of Public Health |
Keywords: | รูปแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ Model Behavior modification Alcohol consumption Motorcyclists |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research Its objectives weere 1) To study factors related the alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province. 2) To create a model for modification to reduce alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province and 3) To assess model for modification to reduce alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province. This research using mixed methods research which was divided into 3 phases, which were phase 1: the study of factors related the alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province using exploratory sequential mixed methods. Firstly, the qualitative research was conducted by In-depth interviews of 16 motorcyclists who have alcohol consumption behavior and 8 of family members and data was analyzed by using thematic analysis. After that the quantitative study using questionnaires in 320 motorcyclists. Data was analyzed by using descriptive statistics such as frequency and percentage. The multiple linear regression analysis was used to identify factors related to alcohol consumption behavior at significance level 0.05. Phase 2: to create a model for modification to reduce alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province. The qualitative study by focus group discussions and the data analysis used content analysis. Phase 3: to assess the model for modification to reduce alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province. The quantitative study by two groups of quasi-experimental research designs. Measure the results before and after using the model. Data analysis by descriptive statistic such as frequency, percentage, average and standard deviation. Compare differences mean by using Paired t-test statistics and Independent t-test at the significance level 0.05.
The results of phase 1: Qualitative study found that factors related to alcohol drinking behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province consisted of 1) Internal factors including attitude towards alcohol consumption, values for drinking alcohol, demands for testing alcohol, refusal of alcohol use, and alcohol cravings 2) Environmental factors consist of family member alcohol consumption, family's controlling drinking of alcoholic beverages, amendment to friend group, participating in merit-making events / religious ceremonies, joining the party, access to alcoholic beverages, access to alcohol advertising materials, alcohol marketing, climate, food stimuli, entertainment activities and local culture 3) Social support factors from the family, friends and the community and 4) Factors of motorcycling, consisting of the performance in motorcycling and the environment in motorcycling. The quantitative study found that the independent variables that related to the alcohol consumption behavior of motorcyclists in Chiang Rai at significant level 0.05 consisted of 1) Attitude towards alcohol consumption, Refusal to drink alcohol, Alcohol consumption in family member, Food stimuli and Access to alcohol advertisement. In the phase 2: model for modification to reduce alcohol consumption behavior among motorcyclists in Chiang Rai Province (MFC-Chiang Rai model). It consists of 3 steps of action: Increasing the potential of motorcyclist to reduce alcohol drinking (M), increasing the potential of family to reduce alcohol drinking (F), and Environmental change is not conducive to drinking by community (C). And the evaluation of the effectiveness of the model in phase 3 found that after the use of model the alcohol rejection score in the experimental group was higher than the control group at the significant level 0.05, and the alcohol consumption behavior score in the experimental group lower than the control group at the significant level 0.05. Furthermore, various measures to reduce the alcohol consumption were created by each family. As well as the community having activities or measures to promote a good environment for behavior modification to reduce alcohol consumption. การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อประเมินรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนขั้นตอนเชิงสำรวจ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 16 คน และสมาชิกในครอบครัวผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประเด็น และการศึกษาเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 320 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย ใช้การศึกษาเชิงปริมาณ แบบการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่าง ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาระยะที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายในตัวบุคคล คือ ทัศนคติต่อการดื่มแอลกอฮอล์ ค่านิยมต่อการดื่มแอลกอฮอล์ ความต้องการทดลองดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และการอยากดื่มแอลกอฮอล์ 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม คือ การดื่มแอลกอฮอล์ของสมาชิกในครอบครัว การควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของครอบครัว การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน/กลุ่มเพื่อนชักชวนให้ดื่ม การเข้าร่วมงานบุญ/งานประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา การเข้าร่วมงานเลี้ยง การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเข้าถึงสื่อโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สภาพอากาศ สิ่งเร้าจากอาหาร กิจกรรมบันเทิง และวัฒนธรรมในท้องถิ่น 3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม คือการสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนจากเพื่อนและการสนับสนุนจากชุมชน และ 4) ปัจจัยด้านการขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ สมรรถนะในการขับขี่รถจักรยานยนต์และสิ่งแวดล้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ การศึกษาเชิงปริมาณ พบว่าตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงราย ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จำนวน 5 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ทัศนคติต่อการดื่มแอลกอฮอล์ 2) การปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ 3) การดื่มแอลกอฮอล์ของสมาชิกในครอบครัว 4) สิ่งเร้าจากอาหาร และ 5) การเข้าถึงสื่อโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การศึกษาระยะที่ 2 รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย (MFC Chiang Rai model) ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยขั้นปฏิบัติการจำนวน 3 ขั้น คือ 1) การพัฒนาศักยภาพผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ 2) การพัฒนาศักยภาพครอบครัวเพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ และ 3) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการดื่มแอลกอฮอล์โดยชุมชน การศึกษาในระยะที่ 3 ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเชียงราย พบว่าภายหลังการใช้รูปแบบ คะแนนการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คะแนนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นอกจากนั้นพบว่าภายหลังการใช้รูปแบบมีการลดการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน เป็นผลมาจากมาตรการที่สร้างขึ้นจากครอบครัวที่มีความหลากหลายตามบริบทของแต่ละครอบครัว ตลอดจนมีกิจกรรมหรือมาตรการ ที่สนับสนุนให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับชุมชน |
Description: | Doctor of Public Health (Dr.P.H.) สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1734 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60031127.pdf | 5.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.