Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1732
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
Factors Predicting Preventive Behaviors Towards Dengue Hemorrhagic Fever Among People in Huai Kha Khaeng Forest line, Lansak Sub-district, Uthai Thani Province 
Authors: WANTHANA KHAYANKANNAWEE
วันทนา ขยันการนาวี
Pattanawadee Pattanathaburt
พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก
พื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้ง
Preventive behaviors towards Dengue Hemorrhagic Fever
Dengue Hemorrhagic Fever
Huai Kha Khaeng forest line
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research was a cross-sectional descriptive study that aimed to investigate the people who lived in Huai Kha Khaeng forest line, Lansak sub-district, Uthai Thani province about their behaviors in preventing Dengue hemorrhagic fever. Research participants were 391 people in Huai Kha Khaeng forest line, Lansak sub-district, Uthai Thani province. the research instruments was a questionnaire concerned factors affecting people’s preventive behaviors on Dengue hemorrhagic fever that compounded with KR-20 and Cronbach's alpha values between 0.75 - 0.90.  The data were analyzed into frequency, percentage, average, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, coefficient of non-linear relationship (eta), and multiple regression analysis. The research findings suggested that the samples had preventive behaviors on Dengue hemorrhagic fever in moderate level (x̄ = 29.48, SD = 5.94). Stepwise multiple regression analysis illustrated that social support (β = 0.36, p < 0.001), skillfulness in using resources to prevent and control Dengue hemorrhagic fever (β = 0.05, p < 0.001), the existence of shells in neighborhood (β = 0.069, p < 0.001), the expectation of effectiveness towards response to preventive behaviors on Dengue hemorrhagic fever (β=0.03, p<0.001), water containers (β=0.02, p=0.001), resource sufficiency (β = 0.01, p = 0.006), perceptions on Dengue hemorrhagic fever’s severity (β=0.01, p=0.002), perceptions on risk of Dengue hemorrhagic fever infection (β = 0.01, p = 0.002), accommodation conditions (β=0.01, p=0.031), and knowledge concerning Dengue hemorrhagic fever (β = 0.01, p = 0.041) were capable to predict preventive behaviors on Dengue hemorrhagic fever of people in Huai Kha Khaeng forest line (54.30%) With respect to reccommendation, those factors shold be employed for changing prventive behaviors towords Dengue hemorrhagic fever among the people in order to address the proper behavior as well as increase the effectiveness of Dengue hemorrhagic fever prevention.
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกและเพื่อหาอำนาจการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จำนวน 391 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน มีค่า KR-20 และ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ระหว่าง 0.75 - 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 29.48, SD = 5.94) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การสนับสนุนทางสังคม (β = 0.36, p < 0.001) การมีทักษะในการใช้ทรัพยากร (β = 0.05, p < 0.001) การมีเปลือกหอยบริเวณบ้าน (β = 0.069, p < 0.001) ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง (β = 0.03, p< 0.001) โอ่งล้างเท้า (β =0.02, p = 0.001) ความพอเพียงของทรัพยากร (β = 0.01, p = 0.006) การรับรู้ความรุนแรง (β = 0.01, p = 0.002) การรับรู้โอกาสเสี่ยง (β = 0.01, p = 0.002) สภาพบ้าน (β = 0.01, p = 0.031) และความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคไขเลือดออก (β = 0.01, p = 0.041) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้ง ได้ร้อยละ 54.30 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรนำปัจจัยดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้มากขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1732
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61062076.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.