Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1556
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็ก
ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก Factors affecting the prevention behavior of Hand Foot Mouth disease among guardians in child development centers, Wangthong district, Phitsanulok province. |
Authors: | KANOKWAN NUANKERD กนกวรรณ นวนเกิด Sunsanee Mekrungruangwong ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์ Naresuan University. Faculty of Public Health |
Keywords: | โรคมือเท้าปาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พฤติกรรมการป้องกันโรค Hand foot and mouth disease child development center Prevention behavior |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this research were to find out behavior and factors affecting the prevention behavior of hand-foot-and-mouth disease among 352 guardians of the children in the child development centers in Wangthong district, Phitsanulok. The sample was selected through a multi-stage random sampling technique. Data were collected from March to April 2019 through questionnaires consisting of 5 parts which are 1) personal information 2) knowledge of hand-foot-and-mouth disease 3) awareness of hand-foot-and-mouth disease 4) receiving induction for hand-foot-and-mouth disease 5) prevention behavior of hand-foot-and-mouth disease. The content validity was evaluated by five field experts resulting in objective congruence (IOC) 0.6 - 1, and analysis of confidence (Coefficient Cronbach) of part 2 - 5 was between 0.700 - 0.825. The data were analyzed by descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis at the 0.05 level of significance. The study indicated that the sample group had a high level of preventive behavior for hand-foot-and-mouth disease (mean of 3.84, standard deviation equal to 0.60). It was found that factors affecting the prevention behavior of hand-foot-and-mouth disease were sex, education, parent-child relationship, experience in caring for children with hand-foot-and-mouth disease, perception of the severity of hand-foot-and-mouth disease, perception of the benefits of preventing hand-foot-and-mouth disease, perception of barriers against prevention of hand-foot-and-mouth disease, obtaining support from relevant persons, and awareness of child health status. These factors can be collectively used to predict behavioral prevention of hand-foot-and-mouth disease at 40.0%.
The result suggests that all relevant departments should continuously provide knowledge resources for disease prevention for guardians and organize activities for guardians to practice preventing hand-foot-and-mouth disease. Hosting empowerment activities to encourage parental potential will also help the guardians have a better awareness of hand-foot-and-mouth disease and children's good health, which guardians can practice behavior in preventing hand-foot-and-mouth disease efficiently. การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 352 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2562 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ประกอบด้วย 5 ตอน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก 4) การได้รับสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก 5) พฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.6 – 1 และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น (Coefficient Cronbach) ตอนที่ 2 – 5 อยู่ระหว่าง 0.700 – 0.825 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง (mean = 3.84, S.D. = 0.60) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก ได้แก่ เพศ การศึกษา ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับเด็กประสบการณ์การดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคมือเท้าปาก การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคมือเท้าปาก การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคมือเท้าปาก การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และการรับรู้ภาวะสุขภาพเด็ก ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากได้ร้อยละ 40 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนควรสนับสนุนทรัพยากรในการป้องกันโรคให้แก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง และจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองได้ฝึกปฏิบัติการป้องกันโรคมือเท้าปาก รวมถึงกิจกรรมสร้างเสริมพลังอำนาจเพื่อดึงศักยภาพของผู้ปกครอง จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้เกิดการรับรู้ที่ดีเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากและสุขภาพที่ดีของเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถปฏิบัติพฤติกรรมในการป้องกันโรคมือเท้าปากได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1556 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60060196.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.