Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1236
Title: สภาวะช่องปาก และภาวะปากแห้งของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Oral Health Status and Oral dryness of Elderly Patients with Dementia in Sawanpracharak Hospital 
Authors: PATTARA SUKHUMANPHAIBUN
ภัทร สุขุมาลไพบูลย์
Supaporn Sangouam
สุภาพร แสงอ่วม
Naresuan University. Faculty of Dentistry
Keywords: ภาวะปากแห้ง
สภาวะช่องปาก
ผู้สูงอายุ
สมองเสื่อม
การประเมินลักษณะปากแห้งทางคลินิก
ความรู้สึกปากแห้งของผู้ป่วย
Oral health status
Oral dryness
Elderly
Dementia
The clinical oral dryness score
Xerostomia
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study is a cross-sectional study was to assess oral health status, oral dryness and the relationship between dementia and oral dryness among 52 elderly patients with dementia in Sawanpracharak hospital. Oral health status assessment, full mouth plaque record and the Clinical Oral Dryness Score assessment (CODS) were used to collect data. The data collected was analyzed using descriptive statistics, Chi-square test and Fisher's Exact test. This study found that the average age of the subjects was 72.3 years old. Majority of the subjects had the primary education level. Among 43 of the subjects who had permanent teeth, had the average number of teeth, average number of tooth decay, average number of tooth filling, average number of tooth extraction and average number of Decayed, Missing and Filled teeth index (DMFT) were 18.1, 6.0, 1.3, 13.4, and 20.5 teeth, respectively. All of the subjects had poor oral hygiene (86.9 percent of average full mouth plaque score) Most of the subjects had mild oral dryness (2.8 points per person) consistent with many studies. This study found statistically significant relationship between type of dementia and oral dryness. On the other hand, the presence of severity level of dementia and oral dryness, and medicine taking for dementia treatment with oral dryness were not found to be statistically significant relationship.
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาสภาวะช่องปากและภาวะปากแห้งของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวน 52 คน ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เก็บข้อมูลโดยการประเมินสภาวะช่องปาก, ประเมินอนามัยช่องปาก (full mouth plaque record) และประเมินคะแนนลักษณะปากแห้งทางคลินิก (the Clinical Oral Dryness Score assessment (CODS)) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, สถิติไค - สแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 72.3 ปี ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีฟันธรรมชาติอยู่ในช่องปากจำนวน 43 คน มีจำนวนฟันเฉลี่ย 18.1 ซี่ ฟันผุเฉลี่ย 6.0 ซี่ ฟันที่ได้รับการอุดเฉลี่ย 1.3 ซี่ ฟันที่ถูกถอนเฉลี่ย 13.4 ซี่ และค่าฟันผุถอนอุด (DMFT) เฉลี่ย 20.5 ซี่ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีอนามัยช่องปากอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี โดยพบคะแนนคราบจุลินทรีย์ (plaque score) ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเฉลี่ยร้อยละ 86.9 ต่อคน ภาวะปากแห้งของกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีภาวะปากแห้งซึ่งสอดคล้องกับในหลายการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีปากแห้งเล็กน้อย มีคะแนนลักษณะปากแห้งทางคลินิกเฉลี่ย 2.8 คะแนนต่อคน ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะของโรคสมองเสื่อมกับภาวะปากแห้งในการศึกษานี้พบว่า ชนิดภาวะสมองเสื่อมกับภาวะปากแห้งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมกับภาวะปากแห้งไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการรับประทานยาเพื่อรักษาภาวะสมองเสื่อมกับภาวะปากแห้งไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1236
Appears in Collections:คณะทันตแพทยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061789.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.