Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5011
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
THE DEVELOPMENT OF CLOUD BASED LEARNING MODEL BY USING COLLABORATIVE LEARNING AND CRITICAL THINKING TO ENHANCE DIGITAL MEDIA LITERACY FOR MATTAYOM SUKSA STUDENTS
Authors: THAWEESIN AMNUAIPHANWILAI
ทวีสิน อำนวยพันธ์วิไล
Pichayapha Yuangsoi
พิชญาภา ยวงสร้อย
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง
การคิดเชิงวิพากษ์
คลาวด์
การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
Collaborative Learning
Critical Thinking
Cloud
Digital Media Literacy
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aimed to 1) develop a cloud based learning by using collaborative learning and critical thinking to enhance digital media literacy for secondary school students and 2) to study the results of learning with cloud based learning by using collaborative learning and critical thinking to enhance digital media literacy for secondary school students. 3) to study the results of the certification of the learning management model by the experts. The researchers carried out using the research and development process with the resources, selected by purposive sampling, comprised 13 experts and 40 Grade 9 students in Naresuan university secondary demonstration school. The research design was applied using 1) the synthetic instructional model 2) the assessment for the suitability of teaching methods using a questionnaire, 3) digital media literacy assessment 4) learning achievement test 5) assessment form for certification of learning instructional model. The analysis of the data was based on mean and standard deviation. There were 4 steps of research methodology: Step 1: study the basic information for the development of a learning instructional model; step 2: develop a learning instructional model; step 3: study the results of the experimental instructional model. step 4: evaluate and certify the instructional model. The results were are follows: 1.) A model of cooperative learning with critical thinking on cloud computing to enhance digital media literacy among secondary school students, consisting of 5 aspects. Firstly, the inputs consisted of 1) principle of model, 2) objective, 3) learning process, 4) contents, 5) measurement and evaluation. Finally, the assessment results of the synthetic teaching methods were appropriate at the highest level (average = 4.50, and S.D. = 0.61). 2.) The results of the experimental cloud based learning by using collaborative learning and critical thinking to enhance digital media literacy for secondary school students found that. 2.1) the sample group of students has digital media literacy skills. They were at the highest level (average = 4.71, S.D. = 0.41) and had digital media literacy skills at the highest level of all skills. 2.2) the learning achievement of the sample after studying statistically significantly higher than before at the .05 level 3.) The results of the certification of the learning management model by the experts found that the experts considered and endorsed the model in the assessment to certify a cloud based learning by using collaborative learning and critical thinking to enhance digital media literacy for secondary school students. All 5 experts have certified the model of learning management.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) ประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยแหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สังเคราะห์ขึ้น 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในลักษณะของแบบสอบถาม 3) แบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1.) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์บนระบบคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) เนื้อหา 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สังเคราะห์ขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย  = 4.50    S.D. = 0.61) 2.) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์บนระบบคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาพบว่า 2.1) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีทักษะการรู้การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.71, S.D. = 0.41) และมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุดทุกทักษะ 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.) ผลการรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา และรับรองรูปแบบในแบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 คน ได้ให้การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5011
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59030602.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.