Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4118
Title: พฤติกรรม และส่วนประสมการตลาดในมุมมองลูกค้า (7Cs) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบของกลุ่มผู้บริโภคยุค Millennials ในจังหวัดพิษณุโลก
Behavior and Marketing Mix 7C’s Affecting Buying Decision Process of The Horizontal Real Estate of Millennials In Phitsanulok.
Authors: AUTAWE SANGWATTANANON
อัฐวีร์ แสงวัฒนานนท์
Pawinee Stargell
ภาวิณี สตาร์เจล
Naresuan University. Faculty of Business,Economics and Communications
Keywords: อสังหาริมทรัพย์, อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวดิ่งและแนวราบ, มิลเลนเนียล, ปัจจัยส่วนประสมการตลาด
Real Estate
Horizontal and Vertical Real Estate
Millennials
Marketing Mix 7C’s
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this study were 1) to study personal factors, behavioral purchase,  marketing mix factors (7C’s), and purchase decision for  horizontal residential real estate among millennials in Mueang District, Phitsanulok Province, 2) to compare personal factors and purchase decision, 3) compare behavioral purchase and purchase decision, and 4) to study marketing mix factors (7C’s) affecting purchase decision. The sample was 400 individuals. Online questionnaire was used as research instrument. Data were then analyzed using descriptive statistics to determine  frequency, mean, standard deviation and percentage as well as inferential statistics, including Independent Samples T test, One-way ANOVA and  linear regression equation through Multiple Regression Analysis. The results of this study indicated that 1) in terms of behavioral purchase decision for  horizontal residential real estate, most of the respondents had purchase intention for a single detached house project in the city area at the price range between 1.51 - 3 million baht with land size between 51 - 100 square wah; they chose two-storey house with 3 bedrooms, 3 bathrooms, with the Lean To Roof shaped cream colored house. They chose secure housing project with juristic person, pre-built house. They chose installment or bank loan as payment plan. They were exposed to news and information to support their decision-making via Search Engine. A main reason for purchase was physical evidence such as house beauty,  utilities near the workplace, promotion in installments for 1-2 years. Factors affecting the purchase decision included the size of the land, the number of storey, the number of bathrooms and the color of the residence. Factors that did not affect the purchase decision were project type, area location, price level, number of bedrooms, roof shape, security, construction, payment and information channels. 2) The results of analyzing marketing mix factors (7C’s) affecting purchase decision for  horizontal residential real estate among millennials in Mueang District, Phitsanulok Province revealed that overall opinion towards marketing mix factors (7C’s) affecting purchase decision for  horizontal residential real estate was at a high level. When individual aspects were considered, an aspect with the highest mean was comfort, followed by completion, and convenience.  
การศึกษาพฤติกรรม และส่วนประสมการตลาดในมุมมองลูกค้า (7Cs) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบของกลุ่มผู้บริโภคยุคมิลเลนเนียล (Millennials) ในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเลือกซื้อ ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค และการตัดสินใจเลือกซื้อ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล กับการตัดสินใจซื้อ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อ กับการตัดสินใจซื้อ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยนำข้อมูลมาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยจะนำเสนอในรูปแบบตารางแจกแจงค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ มีการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยสถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร เช่น Independent Samples T-test One-way ANOVA และใช้สมการถดถอยเชิงเส้นโดยการใช้ Multiple Regression Analysis           ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความตั้งใจจะซื้อโครงการประเภทบ้านเดี่ยว เขตพื้นที่ในเมือง ในระดับราคา 1.51–3 ล้านบาท ขนาดที่ดิน 51–100 ตารางวา บ้านสองชั้น 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ มีรูปทรงหลังทรงเพิงแหงน ตัวบ้านเป็นสีครีม ความปลอดภัยแบบมีนิติบุคคล การก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบพร้อมเข้าอยู่ (Pre-built) แผนการชำระเงินผ่อนหรือใช้สินเชื่อธนาคาร รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจผ่านช่องทางการค้นหาทาง Search Engine เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกซื้อเพราะลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสวยงามของตัวที่อยู่อาศัย มีแหล่งสาธารณูปโภคใกล้สถานที่ทำงาน และมีโปรโมชั่นผ่อนชำระงวดให้ 1–2 ปี พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อได้แก่ ขนาดที่ดิน จำนวนของชั้น จำนวนห้องน้ำ และสีของตัวบ้าน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลได้แก่ ประเภทโครงการ ทำเลพื้นที่ ระดับราคา จำนวนห้องนอน รูปทรงหลังคา ความปลอดภัย การก่อสร้าง การชำระเงิน และช่องทางรับข้อมูล           2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดในมุมมองลูกค้า 7Cs ที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยการตลาดในมุมมองลูกค้า 7Cs ที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความสบาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และต่ำที่สุด คือ ด้านความสะดวก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก   
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4118
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62071527.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.