Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4071
Title: ผลของการใช้โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิกของนักกีฬาฟุตบอลหญิง
EFFECTS OF PROGRAM INTERVAL TRAINING ON ANAEROBIC PERFORMANCE IN WOMEN FOOTBALL PLAYER
Authors: BUDDEE NIEMKAOPET
บุตรดี เนียมเกาะเพ็ชร
Kajornsak Roonprapunta
ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบา
สมรรถภาพแอนแอโรบิก
Interval training
Anaerobic performance
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study is a Quasi - Experimental research, (Pre test - Post test Control Group Design). It aims to compare the effects of using an Interval program on the anaerobic performance, pretest, posttest, and comparison of control group and a training group among women football player. The sample group in this experiment was 20 female soccer players studying at the National Sports University at Sukhothai Campus. There were a total of 10 training groups and 10 control groups. The entire female participants were determined the anaerobic capacity using maximum anaerobic capacity. using a Randomized Assignment group, which divided into a normal football training control group, a training group with an Interval program and regular football training program twice a week, for a total of 8 weeks. Anaerobic performance was designed to examine by running-based Anaerobic Sprint Test (RAST Test) before and after 8 weeks. The results were analyzed statistically in order to find the mean and standard deviation. The mean of the groups was compared to the t-Test independent as well as the mean before and after by the Paired-Sample t-Test that was statistically significant at the statistical significance level .05 The results of the research showed. 1.The comparison of the effects of using an Interval program group among women football player. The following results have been obtained posttest of training group as anaerobic power 424.00  watts, anaerobic capacity 347.50 watts and fatigue index 4.14 watts / sec. difference from pretest as anaerobic power 285.80 watts, anaerobic capacity 233.30 watts and fatigue index 2.65 watts / sec. as a result has statistical significance at .05 2.The comparison of the effects of using an Interval program group among women football player. The following results have been obtained posttest of training group as anaerobic power 424.00  watts, anaerobic capacity 347.50 watts and fatigue index 4.14 watts / sec. difference from control group as anaerobic power 340.60 watts, anaerobic capacity 273.50 watts and fatigue index 3.05 watts / sec. as a result has statistical significance at .05
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental research) แบบ (Pretest-Posttest Control Group Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิก ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของนักฟุตบอลหญิง กลุ่มประชากร คือ นักกีฬาฟุตบอลหญิง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย จำนวน 20 คน  นำประชากรนักกีฬาฟุตบอลหญิงทั้งหมดมาทดสอบการหาค่าความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก (Anaerobic Capacity) ใช้การแบ่งกลุ่มการสุ่มแบบกำหนดกลุ่ม (Randomized Assignment) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มควบคุม ฝึกฟุตบอลตามปกติ กลุ่มทดลอง ฝึกด้วยโปรแกรมแบบหนักสลับเบาและฝึกฟุตบอลตามปกติ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ทดสอบสมรรถภาพแอนแอโรบิก ด้วยวิธี Running-based Anaerobic Sprint Test (RAST Test) ก่อนการทดลอง และ หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าที แบบ (t – Test independent) และเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังโดยการทดสอบหาค่าทีแบบ (Paired – Sample t– Test) ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. เปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบาของนักกีฬาฟุตบอลหญิง พบว่าค่าเฉลี่ยหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ด้านพลังแบบแอนแอโรบิก เท่ากับ 424.00 วัตต์ ความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก เท่ากับ 347.50 วัตต์ และ ดัชนีความล้า เท่ากับ 4.14 วัตต์ / วินาที สูงกว่าก่อนการทดลอง ด้านพลังแบบแอนแอโรบิก เท่ากับ 285.80 วัตต์ ความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก เท่ากับ 233.30 วัตต์ และ ดัชนีความล้า เท่ากับ 2.65 วัตต์ / วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมฝึกแบบหนักสลับเบาของนักกีฬาฟุตบอลหญิง พบว่าค่าเฉลี่ย หลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ด้านพลังแบบแอนแอโรบิก เท่ากับ 424.00 วัตต์ ความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก เท่ากับ 347.50 วัตต์ และ ดัชนีความล้า เท่ากับ 4.14 วัตต์ / วินาที สูงกว่ากลุ่มควบคุม ด้านพลังแบบแอนแอโรบิก เท่ากับ 340.60 วัตต์ ความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิก เท่ากับ 273.50 วัตต์ และ ดัชนี  ความล้า เท่ากับ 3.05 วัตต์ / วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4071
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061320.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.