Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4063
Title: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
The Development of learning achievement for students in mahachulalongkornrajavidyalaya University in the northern region on  Pali and Sanskrit loan words in Thai by computer-assisted instruction and Gagne's learning theory.
Authors: THITIMA JANTAKEEREE
ฐิติมา จันทะคีรี
Jutarat Ketpan
จุฑารัตน์ เกตุปาน
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
Pali and Sanskrit in Thai language Computer assisted instruction Gagne's Learning Theory
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop the teaching on Pali and Sanskrit loan words in Thai by computer-assisted Instruction and Gagne's learning theory. 2) to determine the efficiency of computer-assisted instruction by the  80/80 criterion 3) to compare the student’s achievement before and after the study and Gagne's learning theory. The samples of this study were 31 students from two Buddhist colleges-9 students were from Buddhachinaraj Buddhist College and the other 22 Nakorn Nan Buddhist College. The cluster random sampling was used. The instruments of the study were the learning plans, computer-assisted Instruction and the achievement test. The statistics for the data analyses were Means ( x̄ ), standard deviations (S.D.), the Index of Item–Objective Congruence (IOC), the difficulty, the discrimination, the reliability, the efficiency (E1/E2), the t-test dependent sample and the t-test one sample. The results of the research revealed that 1) The researcher developed a computer-assisted instruction on Pali and Sanskrit loan words in Thai. Five units of computer-assisted instruction were taught based on the Gagne's learning theory of 9 steps. The overall assessment  quality of learning management was found to be at the highest level of 4.78, reaching the consistency assessment between 30 learning achievement tests and the learning objectives, and reaching the 1000 words vocabulary assessment of Pali and Sanskrit used in teaching to cover all materials. 2) The efficiency of the computer-assisted instruction is 89.94 / 80.54, which is higher than the specified standard. 3) It was found that the students had a statistically higher post score at the .05 level of significance. Comparing between 80 percent set criterion and the post study score, when a computer-assisted instruction and Gagne's learning theory were executed, the post study score was found to be equal to the set criterion.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาการสอน เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ของ กาเย่ 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตจากวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จำนวน 9 รูป/คน และวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน จำนวน 22 รูป/คน รวมจำนวน 31 รูป/คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการสอน เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ในภาษาไทย โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ ผู้วิจัยได้พัฒนา การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย ประกอบด้วยบทเรียน จำนวน 5 บทเรียนและดำเนินการสอนตามรูปแบบทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ 9 ขั้น ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ และผ่านการประเมินคำศัพท์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 1,000 คำ เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเท่ากับ 89.94/80.54  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเทียบระหว่างเกณฑ์ร้อยละ 80 กับคะแนนทดสอบหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4063
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61063028.pdf10.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.